การทำงานที่บ้าน (Work From Home) กับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับใหม่ : (ไม่) จำเป็นต้องแก้?

โดย

 


 
การทำงานที่บ้าน (Work From Home)
กับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับใหม่
: (ไม่) จำเป็นต้องแก้?


การทำงานที่บ้านจะนับเป็นชั่วโมงทำงานปกติของลูกจ้างหรือไม่ เมื่อเร็วๆ นี้สภาผู้แทนราษฎร ได้ประชุมและมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มีการบัญญัติเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานที่บ้าน หรือที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง โดยบัญญัติเพิ่มเติมมาตรา 23/1 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มีข้อความว่า "ให้นายจ้างและลูกจ้างสามารถตกลงในสัญญาจ้าง ให้ลูกจ้างสามารถทำงานในทางการที่จ้างหรือที่ได้ตกลงไว้กับนายจ้างไปทำที่บ้าน หรือ ณ ที่อยู่อาศัยของลูกจ้าง ได้ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละแปดชั่วโมง โดยให้นับเวลาดังกล่าวรวมเป็นเวลาทำงานในวันทำงานปกติของลูกจ้าง"

บทความฉบับนี้จะได้อธิบายถึงชั่วโมงทำงานกับการทำงานที่บ้าน ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงานปัจจุบัน และที่เสนอแก้ไขปรับปรุงในอนาคตว่ามีความจำเป็นต้องแก้ไขจริงหรือไม่ โดยมีเนื้อหาดังนี้

1. แนวความคิดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน

2. การกำหนดชั่วโมงทำงานปกติของไทย

- งานอุตสาหกรรม ไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง
- งานขนส่ง ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
- งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง ไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง
- งานพาณิชยกรรมและงานอื่นๆ ไม่เกินสัปดาห์ละ 42 ชั่วโมง

สำหรับงานอื่นบางงานนอกจากนี้ มีข้อยกเว้นไว้เป็นการเฉพาะ ได้แก่

งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีเวลาทำงานปกติ วันละไม่เกิน 7 ชั่วโมง และสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 42 ชั่วโมง

งานขนส่งทางบก กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 กำหนดให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้น และเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้าง ในงานขนส่งทางบก วันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง และห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะ เริ่มต้นทำงานในวันทำงานถัดไปก่อนครบระยะเวลา 10 ชั่วโมง หลังจากสิ้นสุดการทำงานในวันทำงานที่ล่วงมาแล้ว

งานปิโตรเคมี ตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม รวมทั้งงานซ่อมบำรุงและงานให้บริการเกี่ยวเนื่องกับงานดังกล่าว เฉพาะที่ทำในแปลงสำรวจและพื้นที่ผลิต กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 ข้อ 1 (1) ซึ่งแก้ไขโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 ข้อ 1 กำหนดว่า นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกำหนดเวลาทำงานปกติเกินกว่าวันละ 12 ชั่วโมงได้ แต่สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

งานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 22 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 ข้อ 2 กำหนดให้งานที่ใช้วิชาชีพ วิชาการ งานด้านบริหารและงานจัดการ งานเสมียนพนักงาน งานอาชีพเกี่ยวกับการค้า งานอาชีพด้านบริการ งานที่เกี่ยวกับการผลิตหรืองานที่เกี่ยวข้องกับงานดังกล่าว นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกำหนดเวลาทำงานปกติในวันหนึ่งๆ เกินกว่า 8 ชั่วโมงได้ แต่เมื่อรวมเวลาทำงานปกติต่อสัปดาห์แล้ว ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง

3. การกำหนดสถานที่ทำงานของลูกจ้าง เป็นต้น

โชคดีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 23/1 เป็นเพียงร่างพระราชบัญญัติ ยังไม่ได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและบังคับใช้เป็นกฎหมาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามรอดูกันต่อไป

บางส่วนจากบทความ : “การทำงานที่บ้าน (Work From Home) กับร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ฉบับใหม่ : (ไม่) จำเป็นต้องแก้?"
โดย : พงษ์รัตน์ เครือกลิ่น / Section : กฎหมายแรงงาน / Column : กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 232 เดือนเมษายน 2565

 

FaLang translation system by Faboba