บันทึกเสียงสนทนาจาก Clubhouse ผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?

โดย

 


 
บันทึกเสียงสนทนาจาก Clubhouse
ผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?


“การบันทึกส่วนใดส่วนหนึ่งของเสียงสนทนา โดยไม่ได้รับความยินยอม ผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่?” เงื่อนไขการใช้บริการของ Clubhouse ในข้อที่ 2 ระบุว่า ห้ามบันทึกส่วนใดส่วนหนึ่งของการสนทนา โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้พูดทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง โดยทางแพลตฟอร์มจะสามารถบันทึกเสียงสนทนาได้ หากมีรายงานการละเมิดกฎความปลอดภัยเข้ามาเท่านั้น

กรณีสังคมออนไลน์ ที่เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กลุ่มบุคคลที่สร้างห้องสนทนาใน Clubhouse เพื่อต่อว่าและดูหมิ่นเหยียดหยามฅนอีสาน มีการกล่าวหาบุคคลมีชื่อเสียงจนทำให้เกิดความเสียหาย นำไปสู่การตอบโต้ในสังคมออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เช่น การระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying) อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง และเสี่ยงที่จะเกิดความผิดในข้อหาอื่นๆ ตามมา กรณีใส่ความผู้อื่น ทำให้ชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง อาจเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากประชาชนทั่วไปสามารถเห็น หรือเข้าถึงข้อความดังกล่าวได้ อาจจะเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

กลับมาพิจารณาเรื่อง ‘เสียง’ ว่า เป็นข้อมูลส่วนบุคคลมั้ย ก่อนอื่นต้องไปดู PDPATHAI [พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562] มาตรา 6 ก่อน กฎหมายเขาว่าไว้เช่นนี้

“ข้อมูลส่วนบุคคล” (Personal Data : PD) หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

ดังนั้น ‘เสียง’ ที่พูดๆ กันใน Clubhouse เป็นของใคร ถ้ารู้ ก็สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เสียงจึงเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” (Personal Data : PD) ประเภท GPD General Personal Data ยิ่งผู้พูดที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ ก็ยิ่งชัดเจน ถ้าเอาเสียงไปเผยแพร่ เข้าข่ายประมวลผลโดยไม่ขอความยินยอม หรืออ้าง ฐ [(Lawful Basis)] อื่นไม่ได้ ถือว่ามีความผิด ผู้เอาไปใช้นอกแอปพลิเคชัน นอกจากเป็นการละเมิดข้อตกลงกับ Clubhouse แล้ว ยังเป็นความผิดตาม PDPATHAI อีกด้วย

ผู้ที่นำไปเผยแพร่ถือเป็น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” (Data Controller) ย่อมมีความผิดทางแพ่ง ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของเสียง (Data Subject) (มาตรา 77) และศาลมีอำนาจสั่งให้จ่ายเพิ่มอีก x2 (มาตรา 78) ยังต้องรับโทษทางอาญา ถ้าทำให้เสียหาย จำคุก 6 เดือน ปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถ้าเอาไปหาประโยชน์ คุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท ไม่เกินนี้ หรือจำคุก + ปรับด้วยก็ได้ (มาตรา 79) แถมโทษทางปกครอง ไม่เกิน 3,000,000 บาท (มาตรา 83)

บางส่วนจากบทความ : “บันทึกเสียงสนทนาจาก Clubhouse ผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่? "
โดย : อ.สุจิพงศ์ จันทร์ธร / Section : HRM/HRD / Column : สนทนาประสา HR (เจาะลึก PDPA)
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร HR Society Magazine ปีที่ 20 ฉบับที่ 232 เดือนเมษายน 2565

 

FaLang translation system by Faboba