บัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำตามกฎหมายภาษีอากร

โดย

 


 
บัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำตามกฎหมายภาษีอากร


บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร นอกจากจะต้องจัดทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 แล้ว ยังจะต้องจัดทำบัญชีพิเศษตามกฎหมายภาษีอากรอีกด้วย ซึ่งเป็นบัญชีที่กฎหมายบัญชีไม่ได้สั่งให้จัดทำแต่ประมวลรัษฎากรสั่งให้จัดทำบัญชีพิเศษตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

การจัดทำบัญชีพิเศษตามประมวลรัษฎากร มีดังต่อไปนี้

• บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี
• บัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรำ
• บัญชีพิเศษสถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
• บัญชีพิเศษการค้าของเก่าประเภทรถยนต์
• บัญชีพิเศษภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. บัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้และภาษีการค้า (ฉบับที่ 4) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย มีบัญชีพิเศษ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2531 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มีบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษี และให้กรอกข้อความในบัญชีดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1.1 ให้ผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้หรือภาษีการค้า ณ ที่จ่าย ตามประมวลรัษฎากร มีบัญชีพิเศษแสดงการหักภาษี ณ ที่จ่าย และการนำส่งภาษีและบัญชีพิเศษดังกล่าว อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบแนบท้ายนี้

1.2 การกรอกข้อความในบัญชีพิเศษดังกล่าวสำหรับรายการการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้แยกเป็น 2 กรณี คือ
• กรณีตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรแห่งหนึ่ง
• กรณีอื่น ๆ อีกกรณีหนึ่ง ส่วนรายการการนำส่งภาษีให้แยกตามใบเสร็จรับชำระภาษีอากรของกรมสรรพากรเป็นรายฉบับ

2. บัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรำ
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 1) เรื่อง กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าวมีบัญชีพิเศษแสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรำ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2517 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดให้ผู้มีเงินได้จากการทำกิจการโรงสีข้าวมีบัญชีพิเศษตามแบบท้ายนี้ แสดงรายการและปริมาณข้าวเปลือก ต้นข้าว ปลายข้าว และรำ ซึ่งมีอยู่ ได้มา และจำหน่ายไปเป็นรายวัน และให้กรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษนั้น ดังต่อไปนี้

2.1 รายการในบัญชีพิเศษต้องลงให้เสร็จภายใน 3 วัน นับแต่วันที่มีอยู่ ได้มา หรือจำหน่ายไปแต่ละครั้ง

2.2 การกรอกข้อความลงในบัญชีพิเศษให้ใช้ภาษาไทย ถ้าใช้ภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ

บางส่วนจากบทความ : “บัญชีพิเศษที่ต้องจัดทำตามกฎหมายภาษีอากร"
โดย : อ.สมเดช โรจน์คุรีเสถียร Tax Talk / Column : Tax & Accounting
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 220 เดือนเมษายน 2565

 

FaLang translation system by Faboba