ความแตกต่างรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ภ.พ.30

โดย

 


เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล


เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล คือกำไรสุทธิซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ
ในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี และรอบระยะเวลาบัญชี
ดังกล่าวให้มีกำหนด 12 เดือน เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้จะน้อยกว่า 12 เดือนก็ได้ คือ


(ก) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะเวลาบัญชีแรกก็ได้
(ข) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องต่ออธิบดี ขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ในกรณีเช่นว่านี้ให้อธิบดีมีอำนาจสั่งอนุญาต หรือไม่อนุญาตสุดแต่จะเห็นสมควร คำสั่งเช่นว่านั้นต้องแจ้งให้บริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ยื่นคำร้องทราบภายในเวลาอันสมควร และในกรณีที่อธิบดีสั่งอนุญาต
ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนด


การคำนวณรายได้และรายจ่ายให้ใช้ “เกณฑ์สิทธิ” โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้
รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น มารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับ
รายได้นั้น แม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ดังนั้นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ว่าจะประกอบธุรกิจขายสินค้า หรือให้บริการก็ตาม การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อ
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ต้องใช้ “เกณฑ์สิทธิ” ในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งก็คือเมื่อมีรายได้เกิดขึ้น
จะต้องรับรู้รายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยรับเมื่อเกิด ไม่ว่าจะได้รับเงินหรือไม่ก็ตาม


บางส่วนจากบทความ : “ความแตกต่างรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ภ.พ.30”
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 212 เดือนสิงหาคม 2564

 



Tax Talk : Tax&Accounting : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร  
วารสาร : CPD&ACCOUNT สิงหาคม 2564


FaLang translation system by Faboba