วิธีสร้างเงินล้านในแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน

โดย

 

 


1. ออมเงินให้เก่ง แต่ลดรายจ่ายให้เก่งกว่า
ถ้าให้แยกประเด็นเพื่อเห็นภาพชัดๆ คือ มนุษย์ทุกคนต้อง ออมเงินให้เก่ง (รวมถึงลงทุนด้วย) นั่นคือ การตั้งใจเก็บเงิน
สะสมให้มากเข้าไว้ เพื่อทำให้เราถึงเป้าหมายในอนาคตข้างหน้าของเราได้ง่ายขึ้น

โดยช่องทางการออมเงินหรือลงทุนในช่วงนี้ อาจจะมีทั้งเก็บเงินสำรองไว้ก่อนสักก้อนหนึ่ง หรือใช้ช่องทางต่างๆ ที่ช่วยอย่าง
อัตโนมัติ เช่น การตัดเงินในแต่ละเดือนไปฝากประจำ ไปจนการลงทุนอย่างการซื้อกองทุนรวม
หรือแม้แต่การใช้ตัวช่วยอย่าง PVD (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ซึ่งจะได้รับเงินสมทบจากทางบริษัทเพิ่มเติมด้วย ซึ่งถ้า
หากที่ไหนมีสวัสดิการดี หรือมีแผนการลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้หลากหลาย ก็จะทำให้เราสามารถมีโอกาสสะสมเงินเพิ่ม
ได้ง่ายขึ้นครับ
นอกจากนั้นอาจจะมองเรื่องของสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมจากทางเลือกที่มีในตอนนี้ เช่น กองทุนรวมเพื่อการออม
(SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) รวมถึงประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือประกันชีวิตแบบบำนาญอีกทางหนึ่ง
ประกอบกันครับ
มาถึงตรงนี้ ถ้าหากใครมองแล้วยังออมไม่ไหว ลงทุนไม่ได้ หรือเงินออมต่อเดือนมันน้อยไป เราต้องใช้วิธีลดรายจ่ายช่วยอีก
ทางหนึ่งครับ เพื่อทำให้เรามีเงินเหลือมากขึ้นนั่นเอง อย่างไรก็ดี ถ้าพูดแบบนี้หลายคนอาจจะมองว่า มันก็ไม่ได้ง่าย ไม่รู้ว่า
จะลดยังไง ผมแนะนำว่าให้เริ่มต้นสำรวจจากตัวเองก่อน โดยวิธีการเบื้องต้นแบบนี้ครับ
• ชะลอการซื้อของก้อนใหญ่ รอให้มีเงินก้อนค่อยซื้อ วิธีนี้จะเป็นแนวคิดตรงข้ามกับการจ่ายแบบผ่อน 0% ต่อเดือนแบบหน้า
มือกับหลังมือเลยครับ ไม่ว่าจะทยอยเก็บเป็นเงินก้อนไว้แล้วค่อยซื้อ หรือรอปลายปีมีโบนัสเข้ามาค่อยตัดสินใจก็ดี ซึ่งจะช่วย
ให้เราไม่ใช้จ่ายกับสิ่งที่เราคิดว่าไม่จำเป็นจริงๆ และบางทีการเก็บเงินก้อนถึงจุดหนึ่ง อาจจะทำให้เราได้คำตอบว่า สิ่งที่เรา
ต้องการนั้นมันจำเป็นจริง ๆ หรือไม่
• หาวิธีซื้อของที่เราอยากได้โดยมีส่วนลด แต่ถ้าของชิ้นนั้นเป็นของที่จำเป็นจริงๆ กับเรา เราควรจะหาวิธีจ่ายเงินออกให้น้อย
ที่สุดครับ นั่นคือ การหาส่วนลดที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรอเวลาลด (ผ่านการซื้อออนไลน์ในช่วงเทศกาล) แต้มบัตรเครดิต
โปรโมชั่น หรือแม้แต่รอให้มันตกรุ่นสักหน่อย แบบนี้่ก็ช่วยได้เหมือนกันครับ
ขอบอกไว้ก่อนนะครับว่า วิธีนี้ไม่ใช่บอกว่าให้ประหยัดแบบไม่ต้องใช้จ่ายเลย แต่มันเป็นการเริ่มต้นจากการหัดใช้เงินช้าลง
เพื่อให้เราเห็นความจำเป็นของการใช้เงินของเรามากกว่ารับ เพราะหลักการสำคัญของการจ่ายของเราก็คือ “จ่ายเงินให้ช้า
แต่ถ้าต้องจ่ายต้องคุ้มค่า” และถ้าเราใช้จ่ายน้อยลงแล้ว เราเองก็จะมีเงินออมเพิ่มขึ้นแน่นอนครับ

2. สร้างรายได้เพิ่ม
มนุษย์เงินเดือนอย่างเรา มีวิธีการสร้างรายได้เพิ่มอยู่ 2 ทาง นอกเหนือจากการทำงานประจำซึ่งเป็นหน้าที่หลักของเรา นั่นคือ
สร้างรายได้จากการทำงานเพิ่ม หรือ สร้างรายได้จากการลงทุนเพิ่ม
คำแนะนำอันดับแรก คือ เราควรเริ่มต้นจากสร้างรายได้เพิ่มจากการทำงานเสริม โดยมีหลักคิดง่าย ๆ คือ งานเสริมต้องใช้เวลา
น้อยกว่างานประจำ และที่สำคัญคือ ไม่ต้องมีต้นทุนจมกับสินค้าหรือสิ่งที่ทำ รวมถึงผลตอบแทนที่ได้จากงานนั้นควรสูง
หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะแล้วมันจะมีเหรอ งานที่ใช้เวลาน้อย ไม่ต้องมีต้นทุนจม แถมยังได้เงินเยอะด้วย ผมแนะนำให้ลอง
มองจากงานลักษณะเหล่านี้ครับ ขายของเพิ่ม (แบบที่ไม่ต้องแบกต้นทุนเยอะ หรือ พรีออเดอร์) นายหน้า รับจ้าง ที่ปรึกษา
ฯลฯ และไม่แน่ว่าอาชีพเหล่านี้อาจจะเป็นอาชีพหลักได้ในอนาคตด้วย หรือถ้าไม่รู้จะทำอะไรก็ให้ลองลงมือทำก่อน จากทักษะ
ความถนัด และสิ่งที่เรามี ค่อยๆ มองหาวิธีและจัดการมันไปเรื่อยๆ รวมถึงสร้างเสริมทักษะเหล่านี้ไปพร้อมๆ กัน เพื่อสร้าง
ความชำนาญ เมื่อเรามีความชำนาญมากขึ้น ผลตอบแทนที่ได้รับก็จะมากขึ้น หรือไม่เราก็จะใช้เวลาน้อยลงในการทำงาน
นั้นๆ ครับ
หลังจากนั้นแล้ว ถ้าพอมีเงินเหลือ ต้องเอามาลงทุน หรือบริหารจัดการการลงทุนให้ดี เข้าสู่การหารายได้เพิ่มจากการลงทุน
เพิ่ม โดยสิ่งสำคัญคือ มีความรู้ในสิ่งที่เราลงทุน เข้าใจ ศึกษา และรู้ว่าจัดการความเสี่ยงอย่างไรกับชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนประเภทไหน หุ้น กองทุน คริปโต อสังหาต่างๆ หรือจะช่องทางอื่นก็ได้เหมือนกัน เอาที่เราเข้าใจ และ
มีเวลาศึกษามัน และที่สำคัญคือต้องเข้าใจความเสี่ยงและผลตอบแทนที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม
หากสามารถทำทั้งสองทางนี้ไปด้วยกัน จะช่วยสร้างรายได้เพิ่ม และทำให้เรามีทรัพย์สินเพิ่มจากการลงทุนไปด้วยนั่นเองครับ

3. สิ่งที่ต้องทำเป็นพื้นฐานคือ การทำบัญชีรับจ่ายและบัญชีทรัพย์สิน
บัญชีรายรับรายจ่าย เราสามารถจะเริ่มจดง่ายๆ ก็ได้ เพื่อให้เรารู้ความสัมพันธ์ระหว่าง รายได้ รายจ่าย เงินออมแต่ละช่วง
เวลามีเพิ่มขึ้นลดลงอย่างไร แล้วจะทำให้มันดีขึ้นอย่างไรได้บ้าง แต่ถ้าสามารถทำได้ละเอียดก็ยิ่งดี เพราะมันจะทำให้เรา
มีข้อมูลที่ละเอียดในการตัดสินใจมากขึ้น
บัญชีทรัพย์สิน เราควรรู้ว่าเราลงทุนอะไร ฝากเงินที่ไหน เก็บเงินยังไง ผลตอบแทนได้เท่าไร กำไร ขาดทุน เท่าไร เพื่อให้
เรารู้ว่ามีทรัพย์สินแบบไหนบ้าง แน่นอนว่าเริ่มต้นอาจจะไม่มาก แต่ถ้าหากทำไปเรื่อยๆ มันจะละเอียดและชัดเจนมากขึ้น
ทำให้เราเห็นภาพของเป้าหมายที่มาถึงครับ ยิ่งถ้าเราสามารถ กำหนดงบประมาณ ตั้งเป้าหมาย หรือหาทางสร้างในแต่ละ
ส่วนให้เพิ่มขึ้นโดยกำหนดเป็นแผนการได้จะยิ่งดี และควรค่อย ๆ ปรับกันไปในแต่ละปี แต่ละช่วงเวลา เพื่อให้เราไปสู่
เป้าหมายได้ดีที่สุดครับ



  บางส่วนจากบทความ  “วิธีสร้างเงินล้านในแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 221 เดือนกรกฎาคม 2564

Lifestyle : Smart Money For Salaryman : Taxbugnoms
วารสาร : HR Society Magazine กรกฎาคม 2564



FaLang translation system by Faboba