เสาหลัก 4 ประการ ในการออกแบบและวางระบบบริหารค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และแข่งขันได้

โดย

 

 
เสาหลัก 4 ประการ ในการออกแบบและวางระบบบริหารค่าตอบแทน


เงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับพนักงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน เพราะนี่คือปัจจัยที่องค์กรมอบให้เพื่อ
ตอบแทนการทำงานของพนักงาน และในมุมขององค์กรเอง ผู้บริหารบางส่วนมองว่า เงินเดือนและค่าตอบแทนนั้นเป็นต้นทุ
นที่สำคัญของการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งต้องบริหารจัดการให้ดีเพื่อไม่ให้สูงจนเกินไป แต่ก็มีผู้บริหารบางส่วนที่มองว่า
เงินเดือนและค่าตอบแทนเป็นเหมือนเงินที่องค์กรลงทุนเพื่อหาพนักงานมือดีๆ เข้ามาทำงานให้ เพื่อให้เขาสร้างผลงานที่ดี
ให้กับองค์กร ดังนั้น ผู้บริหารกลุ่มนี้ก็จะยินดีจ่ายในอัตราที่สูงเพื่อให้ได้คนที่เก่งๆ เข้ามาทำงานและสร้างผลตอบแทนใน
การลงทุนสำหรับเงินก้อนนี้ได้อย่างคุ้มค่า

แต่ไม่ว่าจะมีมุมมองแบบใดก็ตาม เราต้องมีการออกแบบระบบบริหารจัดการค่าจ้างเงินเดือนและค่าตอบแทนพนักงานให้เกิด
ความเป็นธรรมให้มากที่สุด เนื่องจากถ้าพนักงานรู้สึกว่า องค์กรบริหารค่าจ้างเงินเดือนไม่เป็นธรรมแล้ว เขาจะรู้สึกว่า
แค่เรื่องเงินเดือนค่าจ้าง องค์กรยังบริหารจัดการอะไรไม่ได้เลย ดังนั้น พนักงานเองก็จะทำงานแบบขอไปที เอาแค่ที่ตนเอง
คิดว่าคุ้มกับเงินที่ได้ก็พอ ไม่ทุ่มเทให้งาน และไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน 

ในการออกแบบและวางระบบบริหารค่าจ้างเงินเดือน ค่าตอบแทนต่างๆ ขององค์กรจะต้องคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้เพื่อให้
เกิดความเป็นธรรมในทุกๆ ด้าน ทั้งต่อพนักงาน ต่อองค์กร และต่อผลงานของพนักงาน อีกทั้งยังเพื่อตอบวัตถุประสงค์
หลักของการบริหารค่าตอบแทนก็คือ เป็นระบบที่สามารถดึงดูด เก็บรักษา และสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับคนเก่งๆ
ในองค์กรได้อย่างดี

โดยแนวทางและหลักปฏิบัติในการออกแบบและวางระบบบริหารค่าตอบแทนที่ดีจะต้องประกอบไปด้วย 4 เสาหลักต่อไปนี้

1. Internal Consistency พนักงานในองค์กรจะต้องรู้สึกว่าค่าตอบแทนที่ได้นั้นมีความเป็นธรรมเมื่อเทียบกับคนอื่นๆ
ที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกันหรือต่างตำแหน่ง โดยมีคำอธิบายและหลักการในการแบ่งและจัดลำดับความยากง่ายของ
ตำแหน่งงานต่างๆ ในองค์กรเพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดอัตราค่าตอบแทนที่จ่ายในองค์กร ตำแหน่งไหนที่งานมีความยาก
มีความรับผิดชอบสูง และมีผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรมาก ก็จะได้รับค่าตอบแทนที่สูงกว่า ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ
ในการออกแบบโครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนอื่นๆ ในองค์กรให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด

2. External Competitiveness ค่าตอบแทนสามารถแข่งขันกับตลาดหรือคู่แข่งของเราได้ โดยองค์กรจำเป็นอย่างยิ่ง
ในการหาข้อมูลการจ่ายค่าจ้างในตลาด และวิเคราะห์การจ่ายค่าจ้างของตลาดเทียบกับขององค์กรว่าอยู่ในระดับใด แข่งได้
หรือไม่ และต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในการว่าจ้างพนักงานฝีมือดีเข้ามาทำงาน ซึ่งเครื่องมือสำคัญก็
คือ การสำรวจค่าจ้างเงินเดือนและสวัสดิการ

3. Employee Contribution ระบบค่าตอบแทนขององค์กรจะต้องตอบแทนความทุ่มเทของพนักงานโดยสอดคล้องกับ
ผลงานที่ทำได้ ใครที่สร้างผลงานที่ดีกว่าก็ต้องได้รับรางวัลตอบแทนที่มากกว่าคนที่ทำผลงานได้น้อยกว่า องค์กรจะต้องมี
การออกแบบรางวัลผลงานให้กับพนักงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือนตามผลงาน โบนัสตามผลงาน หรือ
ค่าตอบแทนจูงใจต่างๆ (Incentive)

4. Administration เมื่อทุกปัจจัยข้างต้นถูกออกแบบมาอย่างดีแล้ว สิ่งสำคัญที่จะต้องทำต่อไปก็คือ การบริหารระบบ
เหล่านี้ให้ทันสมัยและแข่งขันได้ตลอดเวลา โดยโครงสร้างค่าจ้าง โครงสร้างเงินเดือน ระบบการให้รางวัลผลงาน ฯลฯ
จะต้องได้รับการตรวจสอบอยู่เสมอว่ายังแข่งขันได้ และยังคงสามารถทำให้พนักงานในองค์กรของเรารู้สึกถึงความเป็นธรรม
และมีแรงจูงใจในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง


  บางส่วนจากบทความ  “เสาหลัก 4 ประการ ในการออกแบบและวางระบบบริหารค่าตอบแทนที่เป็นธรรม และแข่งขันได้”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 221 เดือนกรกฎาคม 2564

HRM/HRD : ครบเครื่องเรื่องค่าตอบแทน : ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
วารสาร : HR Society Magazine กรกฎาคม 2564



FaLang translation system by Faboba