8+9 ข้อความที่ต้องมีบนใบกำกับภาษี ภาษีซื้อจึงจะมีสิทธิขอคืน

โดย

 

 
  ข้อความที่ต้องมีบนใบกำกับภาษี จึงมีสิทธิขอคืนภาษีซื้อ


ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีและส่งมอบให้กับลูกค้าทุกครั้งที่จุดความรับผิด
ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ซึ่งใบกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 จะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้

(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด

(2) ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี และในกรณีที่ตัวแทน
เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามมาตรา 86 วรรคสี่ หรือมาตรา 86/2 หรือผู้ทอดตลาด
เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีในนามของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/3 ให้ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสีย
ภาษีอากรของตัวแทนนั้นด้วย
“ชื่อ” หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของ
สถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
“ที่อยู่” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว

(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
“ชื่อ” หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของ
สถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบุคคลธรรมดาหมายความรวมถึงนามสกุลด้วย
กรณีระบุชื่อของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการไม่ครบถ้วนโดยมีเครื่องหมายไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็น
ที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น
กรณีระบุชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจน
โดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบการรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
“ที่อยู่” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว

(4) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่ม ถ้ามี

(5) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
“ชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการ” ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการที่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือของบริการที่ไม่ต้อง
เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีด้วย ให้กระทำได้โดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจน
ว่าเป็นสินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

(6) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าและหรือ
ของบริการให้ชัดแจ้ง

(7) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
“วันเดือนปี” ให้ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้ และใช้พุทธศักราชหรือคริสต์ศักราชก็ได้

(8) ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
รายการในใบกำกับภาษีให้ทำเป็นภาษาไทย เป็นหน่วยเงินตราไทย และใช้ตัวเลขไทยหรืออารบิก เว้นแต่ในกิจการ
บางประเภทที่มีความจำเป็นต้องทำเป็นภาษาต่างประเทศ หรือเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ให้กระทำได้เมื่อได้รับอนุมัติ
จากอธิบดี

ใบกำกับภาษีอาจออกรวมกันสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการหลายอย่างก็ได้ เว้นแต่อธิบดีจะได้กำหนดให้การออก
ใบกำกับภาษีสำหรับสินค้าหรือบริการบางอย่างหรือหลายอย่างต้องกระทำแยกต่างหาก โดยมิให้รวมไว้ในใบกำกับภาษี
เดียวกันกับรายการอื่น



   
      บางส่วนจากบทความ “8+9 ข้อความที่ต้องมีบนใบกำกับภาษี ภาษีซื้อจึงจะมีสิทธิขอคืน”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 474 เดือน มีนาคม 2564 




Smart Accounting : Accounting Practice : อ.สมเดช โรจน์คุรีเสถียร 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มีนาคม 2564



FaLang translation system by Faboba