ทิศทางของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์...บทสรุปและสิ่งที่นักบัญชีต้องรู้

โดย

 


ข้อควรรู้เกี่ยวกับ e-TAX invoice และ e-Receipt


ถ้าให้นิยามตามข้อกฎหมายแบบชัด ๆ มันก็คือ ใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร รวมถึงใบเพิ่มหนี้
ตามมาตรา 86/9 และใบลดหนี้ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp)
ด้วยระบบ e-Tax Invoice by Email และ ใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้มีการจัดทำข้อความ
ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัลด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

แต่ถ้าให้พูดง่าย ๆ สั้น ๆ e-TAX invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินประเภทหนึ่ง
ที่ผู้ประกอบการสามารถออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องใช้กระดาษอีกต่อไป
เพียงแต่การออกและจัดทำเอกสารเหล่านี้ต้องเป็นไปตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดไว้นั่นเองครับ

การลงทะเบียน หรือเริ่มใช้งาน โดยจะมีเนื้อหาเรื่องการยื่นคำขอจัดทำรายชื่อของผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ
ระบบใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึงโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน
การนำส่งข้อมูลต่างๆ เนื่องจากระบบทั้งหมดนั้นต้องมีการเชื่อมโยงหรือนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันมีทาง
เลือกในการนำส่งข้อมูลอยู่ 3 ทางได้แก่ Upload XML, Service Provider และ Host to Host (ซึ่งรายละเอียดในเรื่อง
การนำส่งต่าง ๆ เหล่านี้ ผมกำลังเขียนบทความเพิ่มเติมเพื่ออธิบายอยู่ครับ หากเสร็จแล้วคงได้อ่านเพิ่มเติมกัน)
ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ข้อกฎหมาย แหล่งความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ

ดังนั้นหากใครสนใจเริ่มใช้งานระบบนี้ ก็ลองดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ข้างต้น หรือติดต่อสอบถาม Service
Provider ที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรได้เหมือนกันครับ

 


  บางส่วนจากบทความ “ทิศทางของระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์...บทสรุปและสิ่งที่นักบัญชีต้องรู้”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 203  เดือนธันวาคม 2563



Tax Talk : Tax Knowledge : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT ธันวาคม 2563


FaLang translation system by Faboba