ลูกจ้างทำงาน 10 วันมีผลอย่างไร? กับสิทธิในกองทุนประกันสังคม

โดย

 

 

นาย ก. เป็นลูกจ้างของสถานประกอบการ นายจ้างได้ขึ้นทะเบียนให้นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และนายจ้าง
หักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน ต่อมาในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงาน
ได้ 10 วัน ลาออกจากงาน แล้วนาย ก. มีสิทธิที่จะขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่? 

จากคำถามตัวอย่างข้างต้นนั้น กฎหมายประกันสังคมกำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้ 

หน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของผู้ประกันตน 

นายจ้างมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนนายจ้างให้ลูกจ้างที่มีอายุตั้งแต่ 15  ปีบริบูรณ์ ถึง 60  ปีบริบูรณ์ เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา
33 และทุกครั้งที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่หักเงินค่าจ้างของลูกจ้างตามจำนวนที่ต้องจ่ายเป็นเงิน
สมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และนายจ้างมีหน้าที่นำเงินที่หักจากค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวและเงินสมทบในส่วนของ
นายจ้างนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นประจำทุกเดือน 

กรณีที่นายจ้างยังไม่ได้นำส่งเงินสมทบหรือไม่หักเงินค่าจ้างหรือค้างจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม กฎหมายประกัน
สังคมถือว่า ผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบแล้วตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง และถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างหรือจ่ายไม่ตรง
ตามกำหนดเวลา นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบและถือเสมือนว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างแล้ว

ดังนั้น กรณีที่นาย ก. เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้กับนาย ก. ตลอดระยะเวลา
ที่ทำงานให้กับนายจ้าง ถึงแม้ว่าจะทำงานกี่วันก็ตาม 

กรณีลูกจ้างทำงาน 10 วัน จะมีผลต่อการเกิดสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองในกองทุนประกันสังคมหรือไม่?

ตามตัวอย่าง นาย ก. เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33  และนายจ้างหักเงินค่าจ้างของนาย ก. นำส่งเป็นเงินสมทบเข้ากองทุน
ประกันสังคมมาแล้ว 5 เดือน แต่ในเดือนที่ 6 นาย ก. ทำงานเพียง 10 วัน ลาออกจากงาน นาย ก. จะมีสิทธิที่จะขอรับ
ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานหรือไม่?

กฎหมายประกันสังคมกำหนดเงื่อนเวลาการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานว่า ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้า
กองทุนประกันสังคมมาแล้ว 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการเกิดสิทธิ (ก่อนการว่างงาน) กรณีนี้มีตัวอย่างจากคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 1518/2557 วินิจฉัยไว้ ดังนี้

คดีนี้นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างไม่เป็นไปตามรอบเดือนปกติ คือ จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ทุกวันที่ 20 ของเดือน
โดยผู้ประกันตนเริ่มทำงานเป็นลูกจ้างของบริษัทเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายจ้างหักเงินค่าจ้างส่งเข้ากองทุนประกันสังคม
ตลอด แต่ลูกจ้างลาออกจากงานวันที่ 30 มิถุนายน โดยระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน จำนวน 10 วัน ได้ทำงานให้กับ
นายจ้างและนายจ้างได้จ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง (10 วัน) และหักเงินค่าจ้างตามจำนวนที่จะต้องส่งเป็นเงินสมทบไว้
จำนวน 417 บาท (ค่าจ้าง 10 วัน) และได้นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม

ต่อมา ผู้ประกันตนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน แต่สำนักงานประกันสังคมปฏิเสธเนื่องจากเห็นว่าผู้ประกันตน
จ่ายเงินสมทบเพียง 5 เดือน ยังไม่ครบเงื่อนไขการเกิดสิทธิรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ปัญหา คือ ผู้ประกันตนได้มี
การจ่ายเงินสมทบงวดที่ 6 แล้วหรือไม่ 

ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีนี้ว่า กรณีนี้ถือว่านายจ้างหักเงินค่าจ้างของลูกจ้างเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนรวม 6 โดยให้เหตุผลว่า
(1) การที่นายจ้างจ่ายค่าจ้างทุกวันที่ 20 ของเดือน ต้องถือเอารอบค่าจ้างที่จ่ายในวันที่ 20 ของเดือนใดเป็นฐานใน
การคำนวณเงินสมทบในเดือนนั้น เมื่องวดที่ 5 นายจ้างได้หักเงินสมทบจากเงินค่าจ้างวันที่ 21 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน
ส่งเข้ากองทุนประกันสังคม จึงถือว่ากองทุนประกันสังคมได้รับเงินสมทบรายเดือนของเดือนมิถุนายนแล้ว
(2) เงินสมทบที่คำนวณจากค่าจ้างระหว่างวันที่ 21 - 30 มิถุนายน ถือเป็นเงินสมทบสำหรับค่าจ้างเดือนกรกฎาคม ไม่ใช่
เดือนไม่ใช่เดือนมิถุนายน



  บางส่วนจากบทความ  “ลูกจ้างทำงาน 10 วันมีผลอย่างไร? กับสิทธิในกองทุนประกันสังคม”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 216 เดือนธันวาคม 2563



กฎหมายแรงงาน : ประกันสังคม : ปรานี สุขศรี
วารสาร : HR Society Magazine ธันวาคม 2563


FaLang translation system by Faboba