เงินค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน...เสียภาษีอย่างไร

โดย

 

 

ในช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับการเลิกจ้างพนักงานอยู่เป็นประจำ และสิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
คือ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน (เงินค่าชดเชย) และจะเห็นได้บ่อยครั้งว่าลูกจ้างจะเรียกร้องให้
นายจ้างจ่ายเงินชดเชย ซึ่งโดยกฎหมายแล้วนายจ้างจะต้องจ่ายให้ลูกจ้างตามกฎหมายไม่ต้องให้ลูกจ้างทวงถาม แต่เนื่อง
จากนายจ้างบางรายอาจขาดสภาพคล่องทางการเงิน 

จึงอาจจะมีปัญหาในขั้นตอนที่จะต้องจ่ายเงินชดเชย เมื่อนายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีแล้ว นายจ้างจะต้อง
ทำการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดความหมายของ “ค่าจ้าง” และ” เงินชดเชย” ไว้ว่า 
“ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้าง ตกลงกัน จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง สำหรับระยะ
เวลาการทำงานปกติ เป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่
ลูกจ้างทำได้ ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและ
วันลา ที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
“ค่าชดเชย” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจาก เงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลง
จ่ายให้แก่ลูกจ้าง

ตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2563 ได้กำหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่า
ค่าจ้างของการทํางาน 30 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(2) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 1 ปีแต่ไม่ครบ 3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้าง
ของการทํางาน 90 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(3) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 30 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่า
ค่าจ้างของการทํางาน 180 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(4) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 6 ปีแต่ไม่ครบ 10 ปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่า
ค่าจ้างของการทํางาน 300 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย
(5) ลูกจ้างซึ่งทํางานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้าง
ของการทํางาน 400 วันสุดท้ายสําหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคํานวณเป็นหน่วย

   
      บางส่วนจากบทความ “เงินค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน...เสียภาษีอย่างไร”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 471 เดือน ธันวาคม 2563 




Tax Talk : ภาษีสรรพากร : ชุมพร เสนไสย
วารสาร : เอกสารภาษีอากร ธันวาคม 2563



FaLang translation system by Faboba