e-Withholding TAX ทางเลือกในการเสียภาษี เพื่อช่วยเหลือคนที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย

โดย

 


การทำงานของระบบ e-Withholding Tax


ระบบ e-Withholding Tax คือ ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่าย แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่กรมสรรพากร พัฒนาขึ้นเพื่อลดขั้นตอนให้แก่
ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ในการทำหน้าที่หักและนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยกำหนดให้ธนาคารทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร  โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

ขั้นตอนแรก
ผู้จ่ายเงินจะจ่ายเงินพร้อมแจ้งข้อมูลผ่านผู้ให้บริการ (ธนาคาร) ซึ่งได้แก่ เลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงิน ชื่อ
หรือเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้รับเงิน พร้อมทั้งระบุประเภทของเงินได้ พึงประเมิน และจำนวนเงินได้ที่ผู้จ่ายเงิน
ได้นำส่ง รวมถึงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) พร้อมกับจำนวนภาษีที่ต้องการหักหรือนำส่ง

ขั้นตอนที่สอง
เมื่อธนาคารได้รับเงินแล้ว จะออกหลักฐานเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้จ่ายเงินและผู้รับเงิน (ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย)
โดยจ่ายเงินยอดหลังหักภาษีให้กับผู้รับเงิน และนำส่งข้อมูลและภาษีที่หักไว้ต่อกรมสรรพากร

ขั้นตอนที่สาม
กรมสรรพากรจะออกใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้จ่ายเงินเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสามารถตรวจสอบ ข้อมูลผ่าน
ระบบอินเทอร์เน็ตที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้อีกด้วย (รวมถึงธนาคารบางธนาคาร อาจจะมีระบบการตรวจสอบ ให้กับ
ผู้จ่ายเงินอีกทางหนึ่ง)

ส่วนทางผู้รับเงินที่ถูกหักภาษีไว้ จะไม่ต้องเก็บรักษาหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ต้องยื่นหนังสือ รับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกต่อไป


  บางส่วนจากบทความ “e-Withholding TAX ทางเลือกในการเสียภาษี เพื่อช่วยเหลือคนที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 17 ฉบับที่ 203  เดือนพฤศจิกายน 2563



Tax Knowledge : Tax Talk : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤศจิกายน 2563


FaLang translation system by Faboba