เคล็ดลับค้นหา Passion และก้าวข้ามวิกฤต แบบฉบับ ProPlugin

โดย

 

 
เคล็ดลับค้นหา Passion และก้าวข้ามวิกฤต แบบฉบับ ProPlugin


HR Society Magazine ได้รับเกียรติจากผู้บริหารหนุ่มยอดนักสู้ที่เริ่มสร้างธุรกิจของตนเอง โดยมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า
ว่าจะต้องล้างหนี้กว่า 10 ล้านบาทให้ครอบครัว และนำพาธุรกิจของตนเองเติบโตจนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ให้ได้

จากเด็กหนุ่มเกเรที่เรียนสายบริหารธุรกิจ สู่ผู้บริหารธุรกิจสายดนตรี คุณโจ - ไตรเทพ ศรีกาลรา CEO & Founder
of ProPlugin and Pro HiFi
ล้มลุกคลุกคลาน ปลุกปั้นธุรกิจโดยเริ่มต้นจากศูนย์ ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลากหลายอุปสรรคเป็นเวลากว่า 10 ปี จวบจนปัจจุบันธุรกิจเติบโตประสบความสำเร็จ และสามารถก่อร้างสร้างฝันที่การนำพาธุรกิจ
เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน 

โดยเผยถึง เคล็ดลับในการค้นหา Passion ว่า...
“การจะค้นหาสิ่งที่เราชอบ ผมว่ามี 2 อย่างคือ ลงมือทำให้มากและต้องเข้าใจตัวเอง ต้องสังเกตตัวเองว่าสิ่งไหนที่ทำให้
เรามีความสุข สิ่งไหนที่ทำให้เราอยากรู้ บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร แต่ผมว่าเราอาจจะต้องเรียนรู้ที่จะชอบ
ในสิ่งที่เราทำด้วย เพราะในการทำงานจริงๆ นั้นมีปัญหามีอุปสรรคเต็มไปหมด เวลาทำงานเหนื่อยและไม่สนุกเลย แต่ผมว่า
ไม่มีงานไหนบนโลกนี้ไร้ปัญหา ถ้าเราเข้าใจโลกแห่งความเป็นจริงว่าทุกอย่างล้วนมีปัญหา เราแค่เลือกว่าสิ่งไหนที่มีปัญหา
แล้วเราสนุกกับการแก้ปัญหา ต้องเข้าใจความเป็นจริงด้วยว่าไม่มีอะไรบนโลกนี้ที่ Perfect ทำเสร็จแล้วจะมีแต่ความสุข
100%  สำหรับชีวิตคนราก็เหมือนกัน ในแต่ละวันที่เราใช้ชีวิต...บางวันเราอาจจะมีความสุขมากก็ต้องมีวันที่เราทุกข์มาก
ด้วยเช่นกัน สุขและทุกข์ ทุกข์และสุข ...วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ”

ก้าวข้ามวิกฤต...ด้วย “ความมุ่งมั่นและไม่ยอมแพ้”
ตลอด 10 กว่าปีที่ทำธุรกิจมา คุณโจต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมือง 
ภัยธรรมชาติ โรคระบาด (โควิด – 19) แต่คุณโจมองว่าเป็นธรรมดาของการใช้ชีวิตที่ต้องเจออุปสรรคซึ่งทำให้เข้มแข็ง
และเติบโตขึ้น
“วิกฤตหนักๆ ที่ผมเจอมามีหลายรอบ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับการเมืองและภัยธรรมชาติทั้งนั้นเลย วิกฤตแรกสุดเป็นวิกฤต
ทางการเมืองในยุคเสื้อเหลืองซึ่งก็อาจจะกระทบกับการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้าบ้าง ตอนนั้นผมต้องเอาบัตรเครดิตที่มีมารูด
ที่ร้านตัวเองเพื่อหมุนเงิน ตอนนั้นผมมี 10 กว่าใบ ใบหนึ่งวงเงิน 4-5  หมื่นบาท ก็เอามารูดทุกช่วงสิ้นเดือนเพราะต้องเอา
เงินมาจ่ายเงินเดือนทีมงานและจ่ายเช็คให้กับ Supplier 
ต่อมาก็คือยุคเสื้อแดง ตอนนั้นผมขยายสาขาที่ 2 ไปที่เซ็นทรัลเวิลด์ (สาขาแรกอยู่ที่ลาดพร้าว) ตอนนั้นที่เซ็นทรัลเวิลด์ซึ่ง
เป็นศูนย์รวมต้องปิดและไม่ใช่แค่ปิดอย่างเดียวมีการเผา ซึ่งร้านในเซ็นทรัลเวิลด์เป็นแหล่งรายได้สำคัญอันดับที่ 2 ของเรา
ทำให้กระทบกับกระแสเงินสดของเรา ตอนนั้นร้านที่เซ็นทรัลเวิลด์เสียหาย 100% ก็ต้องกลับมาสู้กันใหม่ 
จากวิกฤตสองครัวแรกทำให้คิดว่า การมีร้าน 2 สาขามีความเสี่ยงก็เลยตัดสินใจขยายสาขาเพิ่มรวมเป็น 6 สาขา แต่ก็กลับ
มาเจอวิกฤตน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพตอนปี 2555 เข้าไปอีก 5 สาขาที่มีต้องปิดตัวลง เหลือเปิดได้ที่เดียวคือสาขาที่เซ็นทรัล
เวิลด์ ตอนนั้นก็หนักมาก แต่สุดท้ายแก้ปัญหาด้วยการเช่ารถกระบะมารับสินค้าไปเติมที่เซ็นทรัลเวิลด์ได้ แล้วสื่อสารทาง
ออนไลน์ให้ลูกค้าทุกสาขามาเจอกันที่เซ็นทรัลเวิลด์ ถึงแม้จะครอบคลุมไม่ได้หมดแต่อย่างน้อยมันก็ช่วยได้บ้าง
สำหรับวิกฤตช่วงโควิด-19  ผมขอใช้คำว่าตายแล้วเกิดใหม่เลย ช่วงล็อกดาวน์หน้าร้าน 2 สาขาผมก็ต้องปิดตัวลงแน่ๆ
สถานบันเทิงก็ต้องปิด Event ก็จะจัดไม่ได้ คือมันก็จะกระทบกับทุกอย่างที่ผมทำ เพราะผมอยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีและ
บันเทิง เราติดตามข่าวและเริ่มวางแผนล่วงหน้า ซ้อม Work from Home เริ่มวางแผนว่า ถ้าปิดเมืองแล้วบริษัทและ
ทีมงานของเราจะทำอย่างไรกันต่อบ้าง  
แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์จริงๆ เราไม่ได้อยู่ในโหมดช็อก เพราะเตรียมตัวมาแล้วประมาณหนึ่ง ก็ Action ตามแผนได้ทันที
ตอนนั้นมองแล้วว่าเรื่องของดนตรีคงหยุดหมดแน่ๆ แต่คนจะต้องการ Live Streaming เราก็เตรียม Live Streaming 
มานำเสนอให้กับลูกค้าเลย ซึ่งคงต้องบอกว่าที่เรารอดมาได้เพราะการทำการตลาดในกลุ่ม Live Streaming นี่เลย
ก่อนหน้านี้เราอาจจะมีอุปกรณ์ทางด้านภาพบ้างบางส่วนแต่พอเรารู้ว่าทุกแบรนด์จะต้องการทำ Live Streaming เราก็เลย
เตรียม Solution ด้านนี้ให้ครบวงจร แล้วเราก็เริ่มให้ความรู้ว่าถ้าเกิดต้องการทำ Live Streaming  จะต้องมีอุปกรณ์
อะไรบ้าง จะต้องมีความรู้อะไรบ้าง 
ตอนนั้นผมก็ตระเวนให้ความรู้โดยไม่ได้หวังเรื่องยอดขาย แต่เราก็ได้ยอดขายตามมาด้วย ผมว่าในยุคปัจจุบันการลงมือ
ทำมันไม่ใช่การที่เราคิดว่าจะได้ แต่เป็นการที่เราสามารถให้อะไรกับคนอื่นได้มากกว่า คือเราต้องให้ก่อน แล้วอย่างอื่น
จะตามมาเอง”


  บางส่วนจากบทความ  “Success Story of SUCCESSMORE”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 215 เดือนพฤศจิกายน 2563



Cover Story : กองบรรณาธิการ
วารสาร : HR Society Magazine พฤศจิกายน 2563


FaLang translation system by Faboba