กลยุทธ์การวางแผนภาษีสำหรับผู้บริหาร
โดย
|
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และสิ่งที่ควรถือเป็นเงินได้ของผู้บริหาร มีอะไรบ้าง?
สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นจะมีอยู่ 2 วิธี คือ วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมินและวิธีคำนวณภาษี จากเงินได้สุทธิ โดยจะเสียภาษีตามวิธีที่คำนวณได้มากกว่า ซึ่งแตกต่างกันดังนี้
• วิธีเงินได้พึงประเมิน จะคำนวณจาก เงินได้ x 0.5% โดยกำหนดให้คำนวณเฉพาะเงินได้ที่ไม่ใช่เงินได้ตามมาตรา 40 (1) ในกรณีที่ได้รับตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป (มาตรา 48 (2)) และหากคำนวณแล้วได้จำนวนภาษีไม่เกิน 5,000 บาทก็ไม่ต้องเสียภาษี ตามวิธีนี้ • วิธีเงินได้สุทธิ จะคำนวณจาก (เงินได้ – ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี โดยเริ่มจากนำ รายได้ (เงินได้) ที่เรา ได้รับตลอดทั้งปี มาหักออกด้วยค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด และหักลบสุดท้ายด้วยรายการค่าลดหย่อน ก่อนจะไปคูณ ด้วยอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ในกรณีของผู้บริหารนั้น หากเป็นผู้บริหารที่ไม่มีเงินได้ประเภทอื่นนอกจากเงินเดือน มักจะต้องคำนวณภาษีด้วยวิธีเงินได้สุทธิ วิธีเดียว (ไม่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีเงินได้พึงประเมิน) และในกรณีที่ผู้บริหารท่านนั้นได้เงินได้อื่นๆ เพิ่มเติมจากการทำงาน ก็มักจะถูกตีความรวมโดยให้ถือว่า เป็นประโยชน์ส่วนเพิ่มจากการทำงาน และถือเป็นเงินได้ประเภทเดียวกัน นั่นคือ เงินได้ประเภทที่ 1 นั่นเอง
ซึ่งปัญหาของการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้บริหารนั้นจะอยู่ที่การหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา เนื่องจาก เงินได้ประเภทที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรนั้น ถูกกำหนดให้หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุดเพียง 50% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ต้องพิจารณาต่อว่า หากกิจการจ่ายเงินได้ให้กับผู้บริหารเป็นจำนวนมาก ก็ย่อมจะทำให้ ฐานเงินได้สุทธิสูงขึ้น และหากผู้บริหารไม่มีการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดี ก็จะเสียภาษีมากขึ้นเป็นหลายเท่าตัว
ทีนี้ถ้าเราลองแยกความเป็นไปได้ของการได้รับเงินได้ของผู้บริหารจะพบว่า โอกาสในการรับเงินได้ประเภทอื่นๆ นอกเหนือ จากประเภทที่ 1 นั้นจะเป็นดังนี้
เงินได้ที่ได้รับ |
ประเภทของเงินได้ตามกฎหมาย |
การหักค่าใช้จ่าย |
เงินเดือนและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ |
เงินได้ตามมาตรา 40 (1) |
50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท |
เงินปันผล |
เงินได้ตามมาตรา 40 (4) |
หักไม่ได้แต่มีสิทธิใช้สิทธิเครดิต ภาษีเงินปันผล |
เงินได้จากทรัพย์สิน (ค่าเช่า) |
เงินได้ตามมาตรา 40 (5) |
10-30% ของเงินได้ (ขึ้นอยู่ กับประเภท) หรือหักค่าใช้จ่ายตามจริง |
ดังนั้นกลยุทธ์ในการจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้บริหารนั้น จะแยกออกเป็นแนวทาง 3 วิธีดังต่อไปนี้
1. เพิ่มจำนวนเงินในการหักลดหย่อนภาษีเพิ่มขึ้น (เพิ่มค่าลดหย่อน) หากเงินได้ส่วนใหญ่ที่ผู้บริหารได้รับคือเงินได้ประเภทที่ 1 แล้ว หนทางเดียวที่สามารถทำได้ง่ายและชัดเจนที่สุด คือ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ซึ่งอาจจะต้องมองหาในแง่ของฝั่งของประกันและการลงทุนต่างๆ เป็นทางเลือก เพื่อรักษาความมั่งคั่งให้กับผู้บริหารต่อไป และได้สิทธิลดหย่อนภาษีกลับมา ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันบำนาญ ไปจนถึงกองทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการออม ฯลฯ
2. กระจายรายได้หลากหลายทางเพื่อให้ได้รับสิทธิหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (เพิ่มช่องทางรายได้) อีกแนวทางหนึ่งที่มักจะเลือกใช้กัน นั่นคือ การแบ่งเงินได้เป็นหลายทาง เช่น ผู้บริหารอาจจะรับทั้งส่วนที่เป็นเงินเดือน และ ค่าเช่า (จากการให้เช่าสินทรัพย์เช่น อาคาร รถยนต์ ฯลฯ) โดยจะช่วยให้รายได้ถูกกระจายออกเป็นหลายก้อน และสามารถ เลือกหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น เช่น กรณีของเงินได้จากค่าเช่าสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา โดยที่ไม่มีเพดานกำหนด เหมือนกับเงินเดือน หรือยังสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายตามจริงได้ด้วย
3.ใช้สิทธิร่วมกับเครดิตภาษีเงินปันผล (เงินเดือนด้วย ปันผลด้วย) วิธีนี้มักเป็นที่นิยมในธุรกิจทุกขนาด เนื่องจากมองในแง่ของโครงสร้างองค์กรแล้ว เป็นการจูงใจให้ผู้บริหารรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกิจการ หรือแม้แต่กิจการขนาดเล็กเองก็สามารถใช้วิธีนี้ได้เพื่อควบคุมความเป็นเจ้าของเช่นกัน
บางส่วนจากบทความ “กลยุทธ์การวางแผนภาษีสำหรับผู้บริหาร” อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 470 เดือน พฤศจิกายน 2563
|
|
Cover Story : อ.ถนอม เกตุเอม วารสาร : เอกสารภาษีอากร พฤศจิกายน 2563 |
|
|