พลิกโฉมงาน HR หลังโควิด-19

โดย

 

 

ทุกคนจะคุ้นเคยกับ HR ว่าเป็นงานที่ช่วยสร้างคุณค่าให้องค์กรผ่านการดูแลบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ งาน HR
จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดขององค์กร แต่มีภาระหน้าที่เหมือนกันในการสรรหา ฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
รวมทั้งกำหนดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลงานและความเหมาะสม รวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น งานกฏหมายแรงงาน
จัดกิจกรรมพนักงานเพื่อสร้างความผูกพัน เป็นต้น 

การบริหารงาน HR ดังกล่าวตีกรอบไว้เป็นเสมือนการทำงานในห้องเครื่องของเรือ ซึ่งเป็นงานสำคัญแต่ก็เป็นงานประจำที่
ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง ไม่ได้มีส่วนช่วยต้นหนกำหนดทิศทางการเดินทางของเรือ อย่างไรก็ตาม ภายหลังการระบาดของ
ไวรัสโควิด-19 และการมาถึงของสภาวะปกติวิถีใหม่ (New Normal) คงถึงเวลาแล้วที่ผู้รับผิดชอบงาน HR จำเป็นต้อง
ทบทวนทั้งโครงสร้าง หน้าที่และความรับผิดชอบในปัจจุบัน เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนโฉม HR ให้เท่าทัน สอดคล้องกับ
การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

ถ้าเข้าไปค้นหาคำว่า ‘Why we hate HR’ ใน Google จะพบการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนความไม่พึง
พอใจการทำงานของ HR ดังนั้นการปรับแค่ภาพลักษณ์ (Rebranding) คงไม่เพียงพอ จำเป็นต้องพลิกโฉมงาน
(Reinventing) และวางอนาคตของการบริหารงาน HR ให้เดินคู่ขนานกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในยุคปกติวิถีใหม่
หรือ Reinventing HR Post COVID-19 เช่น 
1. เปลี่ยนจากการเป็นหน่วยปฏิบัติงาน (Cost Center) ไปสู่การมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์สร้างการเติบโต
ให้องค์กร (Profit Center)
2. เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญเรื่องค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ไปสู่การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงาน
(Employee Experience)
3.เปลี่ยนแนวทางการทำงานจาก ‘One size fits all’ ไปเป็น ‘One size breaks all’
4. เปลี่ยนจากการทำงานแบบแยกส่วน (Silo) ไปสู่การทำงานแบบมีส่วนร่วม (Integration) อย่างใกล้ชิดกับฝ่ายต่างๆ
เพื่อสร้างความเข้าใจในความต้องการของธุรกิจ
5. ปรับลดภารกิจหลักคืองานจ้างงานและการเลิกจ้าง และให้เน้นภารกิจการมอบอำนาจ (Empower)
6. เปลี่ยนจากการกำกับ ควบคุมในบทบาทของ ‘ตํารวจ’ องค์กรไปเป็นผู้สอนงาน (Coach) พี่เลี้ยง (Mentor)
และผู้นำทางความคิด (Thought Leaders)
7. เปลี่ยนจากผู้ยึดมั่นรักษาสถานภาพเดิม เป็นผู้ผลักดันการเปลี่ยนแปลง
8. เปลี่ยนจากการทำงานเอกสารเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในงานสนันสนุน
9. เปลี่ยนจากหน้าที่หาคนมาทำงานในตำแหน่งต่างๆ เป็นการปลดล็อกศักยภาพของบุคลากร

ที่ผ่านมาพนักงานและผู้บริหารมอง HR ว่าไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่ให้ความสำคัญกับการกำกับและควบคุม
หลังโควิด-19 ภายใต้สภาวะปกติวิถีใหม่จะเป็นโอกาสดีที่ HR จะพลิกโฉมไปทำหน้าที่ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร
กับผู้บริหาร ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและพี่เลี้ยงพนักงาน สนับสนุนการดึงศักยภาพในตัวบุคลากรให้ออกมา
ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันและนำองค์กรเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ถูกต้อง พนักงานและ
ผู้บริหารจะได้เห็นถึงความจำเป็นที่ยังต้องมี HR อยู่ต่อไป ภายใต้ภาพลักษณ์และความรับผิดชอบที่ปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงใหม่ 
 

  บางส่วนจากบทความ  “พลิกโฉมงาน HR หลังโควิด-19 ”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 213 เดือนกันยายน 2563



HRM/HRD : HR TRENDS : ดร.ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ 
วารสาร : HR Society Magazine กันยายน 2563


FaLang translation system by Faboba