รู้กฎหมาย รู้สิทธิ” ไร้ปัญหารับผลประโยชน์ครบ

โดย

 

 

 6 ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกันตน “ต้องรู้”

ประเด็นสำคัญที่ผู้ประกันตน “ต้องรู้” ตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความพร้อมในการรับประโยชน์
ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม ประกอบด้วย 

ประการที่ 1
ผู้ประกันตนต้องมีทายาทหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามที่กฎหมายประกันสังคมกำหนดไว้
หากผู้ประกันตนถึงแก่
ความตาย (บุคคลอื่น..ไม่มีสิทธิ)
ดังนั้นในขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ และรู้ว่าไม่มีบุตร บิดา มารดา สามีหรือภรรยา พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือ
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา ปู่ย่า ตายาย ลุงป้าน้าอา หรือมีแต่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ประกันตนต้องแสดงเจตนาเป็น
หนังสือระบุผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนประกันสังคม ถ้าไม่มีบุคคลต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ กองทุนประกันสังคมจะไม่จ่ายเงิน
จากกองทุนประกันสังคมให้บุคคลอื่น

ประการที่ 2
เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบเงื่อนไข เกิดสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพต้องรับเงินบำนาญชราภาพ จะขอรับ
เงินบำเหน็จ
ชราภาพแทนไม่ได้ (กฎหมายไม่ให้อำนาจ ... อำนาจย่อมไม่มี)
การรับเงินบำนาญชราภาพและเงินบำเหน็จชราภาพ กฎหมายกำหนดเงื่อนไขไว้ 3 ประการ
(1) เกณฑ์เรื่องระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
(2) เกณฑ์เรื่องอายุ ผู้ประกันตนต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์
(3) เกณฑ์การสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน คือ นิติสัมพันธ์ตามสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เช่น ลาออก เลิกจ้าง หรือ
สัญญาจ้างสิ้นสุด หรือการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนโดยผลของกฎหมาย (มาตรา 39)

ประการที่ 3
ผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ (จำนวนมาก)
ต้องขอรับเงิน
บำนาญชราภาพก่อนสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เพื่อให้ได้รับเงินบำนาญชราภาพมากขึ้น

ประการที่ 4
ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ต้องไม่ลืมนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม
การที่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ขาดส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม จะเกิดผล 3 ประการ
(1) ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตร 39 สิ้นสุดลง
(2) ต้องรับผิดในการจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ค้างชำระ
(3) ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม หากไม่ได้กลับเป็นลูกจ้างหรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33
(ซึ่งการเป็นผู้ประกันตนตามาตรา 33 เกิดขึ้นได้เฉพาะผู้ที่มีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์เท่านั้น) หรือไม่มีกฎหมายเยียวยาให้
กลับเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้

ประการที่ 5
ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ “ว่างงาน” ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงาน ต้องรายงานตัวทุกเดือน และต้องไม่ปฏิเสธ
การทำงานหรือปฏิเสธการฝึกงาน


ประการที่ 6
หากไม่พอใจคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่ หากประสงค์จะโต้แย้ง ต้องดำเนินการตามขั้นตอนและเวลาที่
กฎหมายกำหนด

ประเด็นที่ผู้ประกันตนจำเป็นต้องรู้ทั้ง 6 ประการข้างต้น เป็นหลักการสำคัญที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเป็นข้อผูกพันที่จ้าหน้าที่
ต้องวินิจฉัยสั่งการตามที่กฎหมายกำหนด และผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตนจะต้องระมัดระวังที่จะปกป้องและรักษา
สิทธิของตนให้ได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในฐานะที่เป็น “ผู้ทรงสิทธิที่กฎหมายมุ่งหมายจะคุ้มครอง”
เช่นกัน


  บางส่วนจากบทความ  “รู้กฎหมาย รู้สิทธิ ไร้ปัญหารับผลประโยชน์ครบ”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 213 เดือนกันยายน 2563



Lifestyle : Health : ปรานี สุขศรี 
วารสาร : HR Society Magazine กันยายน 2563


FaLang translation system by Faboba