เบี้ยประกันฯ กับ สิทธิประโยชน์ทาง “ภาษี”

โดย

 



การลงรายจ่ายของบริษัท และภาษีเงินได้ของพนักงาน "เมื่อบริษัทซื้อประกันฯ ให้พนักงาน"

ประเภทประกัน ส่วนของพนักงาน (PIT) ส่วนของบริษัท (CIT)
ถือเป็นรายได้หรือไม่ ลงรายจ่ายได้หรือไม่
ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ
ประกัน COVID-19

/
เป็นประโยชน์เพิ่ม

ถือเป็นรายได้พนักงาน
ตาม ม. 40(1)
ต้องนำไปรวมคำนวณ
เสียภาษีตาม ม.56

/
ลงรายจ่ายได้
ไม่ต้องห้ามตาม
ม. 65 ตรี(3) และ (13)

เงื่อนไข
- ต้องมีระเบียบสวัสดิการสวัสดิการ
- บังคับเป็นการทั่วไปไม่เลือกปฏิบัติ
ประกัน Keyman /
เป็นประโยชน์เพิ่ม
ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
ตาม ม. 40(1), (2)
ต้องนำไป รวมคำนวณเสียภาษี
ตาม ม.48(1) และ ม.56
/
ลงรายจ่ายได้
ไม่ต้องห้ามตาม
ม. 65 ตรี (3) และ (13)

เงื่อนไข
- ต้องจ่ายตามมติที่ประชุมเห็นชอบ
- ต้องจ่ายให้กับกรรมการทุกคนเป็น
การทั่วไปตามระเบียบของบริษัท
ไม่เลือกปฏิบัติ
- ต้องมีเบี้ยประกันที่เหมาะสม
และสมควร
ประกันภัยกลุ่ม X
ไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน
ได้รับยกเว้นตามข้อ 2(77)
แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126
(*** เฉพาะส่วนที่คุ้มครองค่า
รักษาพยาบาล)
/
ลงรายจ่ายได้
ไม่ต้องห้ามตามม. 65 ตรี (3)
และ (13)

เงื่อนไข
- ต้องมีระเบียบสวัสดิการ
- บังคับเป็นการทั่วไปเลือกปฏิบัติ
- จ่ายให้บริษัทประกันประกันชีวิต
หรือประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการ
ในไทย เบี้ยประกัน กรมธรรม์ไม่เกิน
1 ปี เฉพาะส่วนที่คุ้มครองค่ารักษา
พยาบาล (กฎกระทรวง 263)
ประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพบิดา
-มารดาคู่สมรส/ บุตรของพนักงาน
/
เป็นประโยชน์เพิ่ม ถือเป็นเงินได้พนักงาน ตามมาตรา 40(1)
ต้องนำไปรวมเสียภาษีตาม ม.56
/
ลงรายจ่ายได้
ไม่ต้องห้ามตาม
ม. 65 ตรี (3) และ (13)

เงื่อนไข
- ต้องมีระเบียบสวัสดิการสวัสดิการ
- บังคับเป็นการทั่วไปไม่เลือกปฏิบัติ 

*** พนักงานไม่สามารถนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากบริษัทจ่ายเงินให้

เบี้ยประกันฯ กับสิทธิลดหย่อนทางภาษี สำหรับบุคคลธรรมดา

ประเภประกัน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หมายเหตุ
ประกันชีวิต ลดหย่อนได้ตาม จำนวนที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
-
ประกันชีวิต
แบบบำนาญ
ลดหย่อนได้ 200,000 บาท
และไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่
ต้องเสียภาษี

*** ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
เมื่อนำไปรวมกับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญ
ข้าราชการ/ กองทุนสงเคราะห์ครู
โรงเรียนเอกชน และกองทุนรวม
เพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
*** กรณีไม่ได้ซื้อประกันชีวิตปกติ
สามารถนำเงินก้อนนี้ไปลดหย่อน
ในส่วนของสิทธิประกันชีวิต 100,000 บาทแรกก่อน
ทำให้ได้สิทธิลดหย่อนสูงสุด
300,000 บาท

*** คู่สมรส ถ้าสามี/ ภรรยา
เป็นผู้จ่ายเบี้ยเอง แยกยื่นเฉพาะ
ประกันใส่วนนี้เพื่อใช้สิทธิ
ลดหย่อน 200,000 ได้
ประกันสุขภาพ/
ประกัน COVID-19
ลดหย่อนได้ตามจำนวนที่
จ่ายจริง 
แต่ ไม่เกิน
25,000 บาท 
(เดิมลดหย่อน
ได้ 15,000 เพิ่มเป็น 25,000
เริ่มใช้ปีภาษี 2563 ตามมาตร
การเพิ่มวงเงินหักลดหย่อน
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ)

*** ประกัน COVID-19 อยู่ในหมวดประกันสุขภาพ ***
 *** รวมกับการหักลดหย่อน
ค่าเบี้ยประกันชีวิต ต้องไม่เกิน
100,000 บาท
ประกันชีวิต
คู่สมรส
ลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ ไม่เกิน 15,000 บาท  
*** จดทะเบียนสมรสถูกต้อง
ตามกฎหมาย
*** คู่สมรสต้องไม่มีรายได้
เบี้ยประกันสุขภาพ
บิดา-มารดา
ลดหย่อนได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ ไม่เกิน 15,000 บาท  
*** เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
*** บิดา-มารดามีรายได้คนละ
ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
อาศัยอยู่ในประเทศไทย 


เลขที่หนังสือ  : กค 0706/397
วันที่ : 17 มกราคม 2549
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีนายจ้างจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้พนักงาน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(1) และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ :
บริษัท ศ. ประกอบกิจการให้คำปรึกษาทางการเงินแก่บริษัทอื่นๆ บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการประกันชีวิต
พนักงานเสนอให้แก่บริษัทลูกค้า โดยโครงการประกันชีวิตพนักงานดังกล่าว นายจ้างจะต้องเป็นผู้จ่าย
เบี้ยประกันชีวิตให้พนักงานจนครบกำหนดอายุกรมธรรม์ และถือเป็นสวัสดิการของพนักงาน กรมธรรม์
ประกันชีวิตดังกล่าว เป็นแบบชนิดสะสมทรัพย์ซึ่งนายจ้างจะเป็นผู้ถือกรมธรรม์ จ่ายเบี้ยประกัน และ
เป็นผู้รับประโยชน์ทุกอย่างตามกรมธรรม์ มีระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันและระยะเวลาการให้
ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 10 ปี  ครบกำหนดอายุกรมธรรม์เมื่อผู้เอาประกันมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หรือ
เมื่อผู้เอาประกันมีอายุครบเกษียณตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ในระเบียบพนักงาน เมื่อนายจ้างรับประโยชน์
ตามกรมธรรม์แล้ว ก็จะยกผลประโยชน์ให้แก่พนักงานในกรณีที่พนักงานเกษียณอายุ หรือมอบให้แก่
ทายาทของพนักงานในกรณีที่พนักงานเสียชีวิต ซึ่งเป็นไปตามที่ระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน
แต่ถ้าหากพนักงานลาออกก่อนกำหนดหรือก่อนครบกำหนดเกษียณอายุ นายจ้างสามารถยกเลิก
กรมธรรม์ และจะได้รับเงินจากมูลค่าการคืนกรมธรรม์ พร้อมเงินปันผลหรือดอกเบี้ย โดยไม่จำต้องยก
ประโยชน์ดังกล่าวให้แก่พนักงานแต่อย่างใด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. ค่าเบี้ยประกันชีวิตของพนักงานที่นายจ้างจ่ายแทนดังกล่าวนั้น นายจ้างมีสิทธินำไปเป็นรายจ่าย
ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้หรือไม่ และพนักงานต้องนำค่าเบี้ยประกันที่
นายจ้างออกให้มารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
2. ผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับตามกรมธรรม์และได้ส่งมอบให้แก่พนักงานหรือทายาทแล้วแต่กรณี
จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ และพนักงานที่ได้รับผลประโยชน์
ดังกล่าวจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่
แนววินิจฉัย   :
1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนพนักงานทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบสวัสดิการพนักงาน
ของบริษัท สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี(3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร และผลประโยชน์ที่นายจ้างได้รับ
ตามกรมธรรม์ นายจ้างจะต้องบันทึกบัญชีเป็นรายได้ และเมื่อนายจ้างได้ส่งมอบผลประโยชน์ให้พนักงาน
ตามระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัท อันถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างแล้ว นายจ้างมีสิทธินำ
ผลประโยชน์ที่ส่งมอบให้พนักงานมาถือเป็นรายจ่ายได้
2. เบี้ยประกันชีวิตที่นายจ้างจ่ายแทนพนักงาน และผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากนายจ้าง
เข้าลักษณะเป็นประโยชน์ใด ๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตาม
มาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ  : กค 0702/6251
วันที่ : 6 สิงหาคม 2552
เรื่อง : ภาษีเงินได้ กรณีการจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ
ข้อกฎหมาย  : มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) และมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ  :
บริษัทฯ มีความประสงค์จะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและผู้รับประโยชน์จากการประกันชีวิตให้กับกรรมการ
ของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. บริษัทฯ สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตให้กับกรรมการของบริษัทฯ ได้หรือไม่
2. ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ ถือเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่
3. ค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการ ถือเป็นเงินได้ของกรรมการหรือไม่
แนววินิจฉัย   :
1. กรณีตาม 1. และ 2. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ ได้จ่ายแทนกรรมการของบริษัทฯ หากเป็น
กรณีที่บริษัทฯ ต้องจ่าย ให้กรรมการของบริษัทฯ ทุกคนเป็นการทั่วไป ตามระเบียบสวัสดิการของบริษัทฯ
แล้ว บริษัทฯ มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายนั้น มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
เงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวล รัษฎากร
2. กรณีตาม 3. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทฯ จ่ายแทนกรรมการของบริษัทฯ เข้าลักษณะเป็น
ประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้ เนื่องจากการจ้างแรงงาน ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่ง
ประมวลรัษฎากร กรรมการต้องนำเงินได้พึงประเมิน ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคล
ธรรมดา ตามมาตรา 48(1) และมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ  : กค 0702/10867
วันที่ : 2 ธันวาคม 2558
เรื่อง : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
ข้อกฎหมาย  : มาตรา ๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ  :
บริษัท A แจ้งว่า บริษัท A ได้เสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต ให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นบริษัท โดยเป็นการประกัน
บุคคลสำคัญที่เป็นผู้บริหารระดับสูง เจ้าของกิจการ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือพนักงานที่มีหน้าที่
หลักในบริษัทดังกล่าว โดยบริษัทลูกค้าจะกำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่เลือกทำเฉพาะ
บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีกำหนดระยะเวลาชำระเบี้ยประกัน ๖ ปี ในความคุ้มครอง ๑๐ ปี บริษัท A จึงขอ
ทราบว่า กรณีที่ลูกค้าของบริษัท A ซื้อประกันชีวิตฉบับใหม่เพิ่มเติมให้แก่กรรมการหรือบุคคลสำคัญ
ของกิจการ ลูกค้าของบริษัท A จะนำค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายของกิจการเพื่อคำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย   :
กรมสรรพากร ขอเรียนว่า กรณีลูกค้าของบริษัท A ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการของตน
หากเป็นกรณีที่ลูกค้าของบริษัท A ต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไป ตามนโยบายที่เป็นไปตาม
ระเบียบสวัสดิการของลูกค้าของบริษัท A แล้ว ลูกค้าของบริษัท A มีสิทธินำเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายนั้น
มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา
๖๕ ตรี (๓) และ (๑๓) แห่งประมวลรัษฎากร

เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : เบี้ยประกันฯ กับ สิทธิประโยชน์ทาง “ภาษี”

 

 




FaLang translation system by Faboba