HRD New Normal : รูปแบบใหม่ในงานการพัฒนาบุคลากร

โดย

 

 

New Normal หรือการเกิดชุดพฤติกรรมใหม่ เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและพูดกันมากในช่วง COVID-19 เช่นเดียวกัน
ฟังก์ชันงาน HR ย่อมต้องมีการปรับตัวสร้างชุดพฤติกรรมใหม่ในช่วงที่มีสถานการณ์ดังกล่าว และพฤติกรรมนี้จะส่งผลต่อ
การปรับตัวและถูกนำมาใช้ต่อเนื่องจนเกิดเป็นการทำงานในรูปแบบใหม่

New Normal จึงเกิดได้ทั้งงาน HRM และงาน HRD ผู้เขียนขอเจาะลึกไปที่งาน HRD กันนะคะ โดยเน้นไปที่สถานการณ์
เมื่อเสร็จสิ้นช่วง COVID-19 นี้แล้ว งาน HRD จะต้องปรับตัวอย่างไร และมีชุดพฤติกรรมใหม่อย่างไร เพื่อให้นัก HRD
เตรียมความพร้อมและวางแผนการเกิด New Normal ของพนักงานในองค์การต่องานพัฒนาบุคลากรกันนะคะ

ผู้เขียนขอนำเสนอมุมมอง 4 เรื่องที่จะฝากนัก HRD ไว้ในการเตรียมความพร้อมและสร้างชุดพฤติกรรมใหม่นี้ให้เกิดขึ้น ดังนี้

HRD New Normal 1 - Flipped Classroom
การอบรมแบบ New Normal คือการอบรมที่นำแนวคิดของ Flipped Classroom หรือห้องเรียนกลับด้านมาใช้ ซึ่งเชื่อว่า
หลังจากสถานการณ์ COVID-19 จบลงแล้ว รูปแบบการทำงานสำหรับนักฝึกอบรมแบบใหม่ก็คือ การฝึกอบรมต้องเน้น
"เกาให้ถูกที่คัน" กันจริงๆ ไม่ใช่การอบรมแบบอยากส่งคนเข้าเรียนก็ส่ง การวิเคราะห์ความจำเป็นในการอบรมและการส่ง
พนักงานเข้ารับการฝึกอบรมตามความจำเป็นจึงเกิดขึ้นอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแค่พูดหรือมีนโยบายออกมาเท่านั้น

HRD New Normal 2 - KM Platform 
KM หรือ Knowledge Management เป็นรูปแบบการจัดการองค์ความรู้ด้วยการถ่ายโอนความรู้จากคนหนึ่งไปยังอีกคน
หนึ่งที่เรียกว่า Tacit Knowledge ไปสู่ Tacit Knowledge หรือการถ่ายโอนความรู้จากตัวบุคคลไปยังรูปแบบของ
เอกสารหรือสื่อที่จับต้องได้ที่เรียกว่า Tacit Knowledge ไปสู่ Explicit Knowledge การทำ KM สมัยใหม่และถือว่าเป็น
อีกหนึ่ง New Normal ในงาน HRD ที่นักพัฒนาบุคลากรจะต้องตระหนักและนำไปปฏิบัติคือ การเก็บองค์ความรู้ของคนมา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านสื่อ Digital ต่างๆ เช่น การสกัดความรู้ของบุคคลมาเป็น รูปแบบของคลิปการเรียนรู้ หรือทำ
Whiteboard Animation 

HRD New Normal 3 - Digital Competency 
Digital Competency เป็นหนึ่งในความสามารถที่สำคัญและตอบโจทย์สถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้น จึงทำให้
บุคลากรในองค์การเริ่มใส่ใจและตระหนักถึงการนำ Digital เข้ามาใช้ในการทำงาน ถือว่าเป็น New Normal
หรือพฤติกรรมใหม่ในวิถีชีวิตการทำงานปกติของพนักงาน

HRD New Normal 4 - Remote Communication 
จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ต้องอยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ จึงทำให้รูปแบบการทำงานต้อง "ห่างกันสักพัก"
และจากการทำงานในช่วงนี้จึงต้องมีการสื่อสารประสานงานกันตามแนวทางแบบ Remote Communication ซึ่งช่วย
ทำให้นัก HRD เข้าถึงพนักงานได้อย่างรวดเร็ว โดยผ่านการใช้ Digital เข้ามาช่วย ซึ่งถือว่าเป็น New Normal อีกแบบ
หนึ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากสถานการณ์ COVID-19 สิ้นสุดลงแล้ว นัก HRD จึงไม่จำเป็นจะต้องเข้าถึงพนักงานแบบ
ตัวต่อตัวอีกต่อไป การนำ Digital Tools เข้ามาช่วยจะทำให้การสื่อสารนโยบาย โครงการงาน HRD ต่างๆ
กับพนักงานทุกคนทุกระดับได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น


  บางส่วนจากบทความ  “HRD New Normal : รูปแบบใหม่ในงานการพัฒนาบุคลากร”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 18 ฉบับที่ ฉบับที่ 211 เดือนกรกฎาคม 2563



HRM/HRD : Performance Management : ดร. อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์  
วารสาร : HR Society Magazine กรกฎาคม 2563


FaLang translation system by Faboba