บริษัทที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายกำหนดราคาโอน Transfer Pricing

โดย

 

 


1. ถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของหุ้นทั้งหมด

2. ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นในบริษัทหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมดถือหุ้นในอีกบริษัทหนึ่งไม่ว่า
โดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่า 50% ของทุนทั้งหมด

3. มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุม ในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระ
จากอีกนิติบุคคลหนึ่งได้

4. มีข้อกำหนดด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกันแตกต่างไปจากที่ควรจะเป็น (เป็นอิสระ)

5. จำนวนรายได้ระหว่างกันไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท

Transfer Pricing ในมุมมองของสรรพากรคือ การที่คู่สัญญาทำธุรกรรมระหว่างกัน โดยอาจมีการกำหนดราคาซื้อ-ขายสินค้า
หรือให้บริการที่แตกต่างไปจากราคาตลาด ราคาซื้อขายระหว่างกิจการที่มีความสัมพันธ์กันเมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขาย
ระหว่างกิจการที่ไม่มีความสัมพันธ์กันแล้วแตกต่างกัน ถือว่ามีการกำหนดราคาโอนเกิดขึ้นแล้ว โดยถือราคาของกิจการที่ไม่มี
ความสัมพันธ์กันเป็นราคาตลาด

บริษัทที่มีความสัมพันธ์กันและมีรายได้รวมไม่น้อยกว่า200 ล้านบาท มีภาระต้องจัดทำรายงานยื่นต่อกรมสรรพากรภายใน
150 วันนับแต่วันที่ปิดรอบบัญชี นั่นก็คือแบบรายงานประจำปี Disclosure Form : 
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dgpareport1.pdf

พร้อมคำอธิบายการยื่นแบบ 
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/explan_m71.pdf


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : บริษัทที่อยู่ในบังคับตามกฎหมายกำหนดราคาโอน Transfer Pricing

 

 




FaLang translation system by Faboba