การโอนย้ายเปลี่ยนนายจ้าง มาตรา 13 (แก้ไขใหม่) สื่ออะไร?

โดย

 



7 เรื่องควรรู้ การโอนย้ายเปลี่ยนนายจ้างมาตรา 13 (แก้ไขใหม่)


ในเรื่องของการโอนย้าย ตามมาตรา 13 นี้ มีข้อสังเกตที่สำคัญ คือ ต้องเป็นการกระทำต่างนิติบุคคลกันระหว่างผู้โอนกับผู้รับ
โอนเท่านั้น การกระทำภายในนิติบุคคลเดียวกัน เช่น โอนไปมาระหว่างบริษัทในเครือ ในกลุ่ม หรือที่มีโรงงาน สาขา
สำนักงาน (สถานประกอบการ) กระจัดกระจาย แต่ยังจดในชื่อนิติบุคคลเดียวกันอยู่ในราชอาณาจักรไทย จะไม่ใช่กรณีนี้
อย่างเด็ดขาด ขอให้จำหลักนี้ไว้เป็นเบื้องต้นเสียก่อน โดยผู้เขียนวิเคราะห์ให้ดู เป็นข้อๆ ดังนี้

1. กิจการของนายจ้างผู้โอนหรือนายจ้างซึ่งเป็นผู้รับโอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น จึงจะเข้ามาตรา 13 นี้

2. ต้องเป็นเหตุให้ลูกจ้างโอนไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่แต่จะไม่เป็นไปโดยอัตโนมัติ เพราะกฎหมายใหม่เขียนว่า
“...การไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ดังกล่าว ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างคนนั้นด้วย...”

3. นายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ อันเกี่ยวกับลูกจ้างที่ตัวเองยอมรับโอนมานั้นทุกประการด้วย

4. มาตรา 13 ใหม่นี้ มีการแก้ไขเฉพาะการเปลี่ยนตัวนายจ้างกรณีที่กิจการนายจ้างมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องได้รับความ
ยินยอมจากลูกจ้างเสียก่อน

5. มาตรา 13 เดิมนั้น ถือว่าลูกจ้างเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่อัตโนมัติ ตัวนายจ้างใหม่ต้องรับไปทั้งสิทธิหน้าที่
อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการด้วย ทำให้ลูกจ้างยังคงมีงานให้ทำ อายุงานก็นับต่อเนื่อง

6. กรณีโอนย้ายจะต้องมีการควบรวมกิจการกันนั้น มาตรา 13 ใหม่ ไม่ได้กำหนดว่าให้นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้
ลูกจ้างรับรู้เมื่อไหร่ อย่างไร ปัญหาที่ตามมา คือ อาจทำให้ลูกจ้างไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ลืมให้ความยินยอมหรือให้ความยินยอมล่าช้า
ไป กลายเป็นลูกจ้างยินยอมโดยปริยาย แต่พอไม่ยอมไปทำงานหลังการควบรวม นายจ้างอาศัยมาตรา 119 เลิกจ้างไม่จ่าย
ค่าชดเชยในฐานความผิดละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันได้

7. ความยินยอมของลูกจ้างมาตรา 13 ใหม่ไม่ได้ระบุว่าต้องทำอย่างไร จึงต้องแปลความว่าให้ความยินยอมเป็นหนังสือหรือ
วาจาก็ได้ ส่วนระยะเวลาไม่ได้ระบุเอาไว้ก็ต้องตีความว่าต้องแสดงความยินยอมก่อนถึงกำหนดควบรวม ซึ่งอาจทำให้ความ
ยินยอมผิดพลาดหรือเกินกำหนดได้


  บางส่วนจากบทความ  “การโอนย้ายเปลี่ยนนายจ้าง มาตรา 13 (แก้ไขใหม่) สื่ออะไร?”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 207 เดือนมีนาคม 2563



กฎหมายแรงงาน  : คลายปมปัญหาแรงงาน : กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 
วารสาร : HR Society Magazine มีนาคม 2563


FaLang translation system by Faboba