"ลด" อย่างไรปลอดภาษี

โดย

 


ภาษีในการลดราคาสินค้า


การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นการนำเครื่องมือหรือวิธีการมาใช้ในการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อให้กิจการ
มียอดขายสินค้าหรือบริการตามเป้าหมายหรือมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งมักจะใช้กับสินค้าหลายกรณีด้วยกัน เช่น สินค้าที่ผลิตออกมา
ใหม่เพิ่งจำหน่ายเป็นครั้งแรก (New Product)  หรือสินค้าที่ออกมาเพื่อสกัดคู่แข่งขัน หรือเพื่อการสร้างความภักดีในตัวสินค้า
กับลูกค้าที่ใช้สินค้าของกิจการเป็นประจำอยู่แล้ว เป็นต้น การส่งเสริมการขายจึงสามารถที่จะสนับสนุนการโฆษณาสินค้าของ
กิจการให้เป็นไปตามนโยบายของฝ่ายการตลาด

การส่งเสริมการขายมีหลายวิธีด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมใช้และได้ผลมากที่สุดก็คือ “การให้ส่วนลด”  ซึ่งผู้ประกอบการจะต้อง
ระมัดระวังผลกระทบทางภาษีอากรที่มีประเด็นสำคัญดังนี้

การให้ส่วนลด (Discount)
วิธีการส่งเสริมการขายที่นำมาใช้แล้วได้ผลมากที่สุดวิธีหนึ่งก็คือการให้ส่วนลดแก่ลูกค้า จะเป็นวิธีการที่จะกระตุ้นให้ลูกค้า
ตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น และมีต้นทุนในการดำเนินงานไม่มากนักไม่เหมือนกับวิธีอื่น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ส่วนลด
เป็นอัตราร้อยละ เป็นตัวเงิน เป็นคูปองส่วนลด เป็นแสตมป์ส่วนลด มักจะมีผลทำให้ยอดขายของกิจการเพิ่มขึ้นเสมอ  ส่วนวิธี
การให้ส่วนลดในแต่ละวิธีที่เหมาะสมกับกิจการขึ้นอยู่กับนโยบายในการบริหารงาน แผนการตลาด และการเลือกวิธีการส่งเสริม
การขายที่เหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์
ส่วนลด (Discount) หมายถึง เงินส่วนที่ลดลงมาจากราคาสินค้าหรือค่าบริการ ในส่วนที่กิจการได้ตั้งหรือกำหนดไว้ใน
ใบราคา (Price List) หรือส่วนลดที่ลดให้แก่ลูกค้าเมื่อมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการ  ในการให้ส่วนลดของกิจการจะมีหลาย
ประเภทด้วยกัน
1)  ส่วนลดการค้า (Trade Discount)
ในการส่งเสริมการขาย วิธีที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการให้ส่วนลดแก่ลูกค้า เพราะเป็นวิธีที่สามารถตัดสินใจ
ดำเนินการได้ค่อนข้างรวดเร็วกว่าวิธีอื่น  เมื่อกิจการได้ตัดสินใจให้ส่วนลดแก่ลูกค้า ประเด็นที่สำคัญก็คือมูลค่าของฐานภาษีที่
จะนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นจะคิดจากจำนวนเงินยอดใด  
2) ส่วนลดเงินสด (Cash Discount)
หากส่วนลดดังกล่าวข้างต้นเป็นส่วนลดเงินสด (Cash Discount) ซึ่งเป็นส่วนลดที่ลดให้กับลูกค้าเมื่อมีการชำระเงินหรือ
ชำระหนี้ที่ค้างชำระ เป็นส่วนลดที่ลดให้ลูกค้าภายหลังที่ได้ออกไปกำกับภาษีไปแล้ว ซึ่งส่วนลดเงินสดจะเกิดขึ้นต้องเกิดจาก
การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อหรือให้บริการเป็นเงินเชื่อ เมื่อถึงกำหนดการชำระเงินผู้ซื้อนำเงินมาชำระให้กับผู้ขาย ซึ่งผู้ขายได้ให้
ส่วนลดเงินสดแก่ลูกค้าเมื่อมีการชำระหนี้ตามกำหนด

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายกับส่วนลด
ปัญหาอย่างหนึ่งในการให้ส่วนลด (Discount) แก่ลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ จะต้องระมัดระวังในการหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย เนื่องจากตามประมวลรัษฎากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ โดยกำหนดให้บริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายรางวัล ส่วนลดหรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายให้แก่ผู้รับ
ซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม หักภาษี ณ ที่จ่าย
โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 3.0 


  บางส่วนจากบทความ “ ‘ลด’ อย่างไรปลอดภาษี ”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 195 เดือนมีนาคม  2563


Tax Talk : Tax&Accounting : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร   
วารสาร : CPD&ACCOUNT มีนาคม 2563


FaLang translation system by Faboba