กำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี (ตอนที่ 5) รายจ่ายต้องห้ามเกี่ยวกับเงินกองทุน

โดย

 

รู้หรือไม่ ”กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” คือ รายจ่ายต้องห้าม เกี่ยวกับ เงินกองทุน

รายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (2) เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใดๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่ เงินที่บริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินสมทบเข้า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม)
เงินที่จ่ายเข้ากองทุนใดๆ เป็นรายจ่ายต้องห้าม เว้นแต่เงินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน
สำรองเลี้ยงชีพตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้ถือเป็นรายจ่ายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายเท่ากับ
จำนวนเงินที่บริษัทได้จ่ายสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดย
กฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533)
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายถึง กองทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. 2530 โดยมีลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้น และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อเป็นหลักประกันแก่
ลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงาน หรือลาออกจากกองทุน โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสม และนายจ้างจ่ายเงินสมทบ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น

รายละเอียดของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง มีสถานะเป็นนิติบุคคล โดยจดทะเบียน
กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อ “เพิ่มเงินออม” โดยเงินกองทุนจะมาจาก
เงินสะสมของลูกจ้าง และเงินสมทบจากนายจ้าง
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่ลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงาน
เกษียณอายุ หรือเสียชีวิต ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร เงินสมทบจากนายจ้างเหมือนเป็นสวัสดิการที่นายจ้าง
มีให้กับลูกจ้าง

นายจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสมทบ”
จ่ายเข้ากองทุนประจำทุกเดือนใน อัตรา 2-15%*


ลูกจ้างจ่ายเงินเข้ากองทุน เรียกว่า “เงินสะสม”
หักจากเงินเดือนทุกเดือนใน อัตรา 2-15%*

 

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 เงินเข้า
 • เงินสะสมของลูกจ้าง
 • เงินสมทบของนายจ้าง

 เงินออก
 • ลูกจ้างเสียชีวิต
 • ลูกจ้างลาออกจากงาน
 • ลูกจ้างลาออกจากกองทุน


กองทุนลักษณะไหนถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
เงินกองทุนจะเป็นการกันเงินสดจำนวนหนึ่งออกจากกิจการเพื่อเอามาจัดสรรไว้ใช้เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ถึงแม้ว่า
จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนแล้ว แต่เงินจำนวนที่กันออกมาไว้ยังไม่ได้มีการจ่ายจริง ดังนั้นเงินกองทุน
ลักษณะนี้หลักภาษีจึงไม่ยอมรับให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตัวอย่างเช่น กองทุนสวัสดิการพนักงาน
กองทุนเงินให้กู้ยืมแก่พนักงาน เป็นต้น


   
      บางส่วนจากบทความ “กำไรทางบัญชีกับกำไรทางภาษี ตอนที่ 5 รายจ่ายต้องห้ามเกี่ยวกับเงินกองทุน”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 460 เดือน มกราคม 2563




Smart Accounting  : IT for Accountant : รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มกราคม 2563



FaLang translation system by Faboba