เมื่อมาตรฐาน NPAEs จะเปลี่ยนแปลง มีอะไรที่กระทบบ้าง (ตอนที่ 1) : การวัดมูลค่าของสินทรัพย์

โดย

 


เนื่องจากในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการทบทวนเพื่อการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการบัญชีสำหรับ
มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ หรือเรารู้จักในนาม NPAE ซึ่งได้ใช้
มานานหลายปีแล้ว  ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่มีขึ้น (เมื่อประกาศใช้จนครบถ้วน) มีประเด็นที่สำคัญพื้นฐาน
เบื้องต้นที่อาจจะนำมาพิจารณาเพื่อเตรียมการ ได้แก่
1. การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ราคาทุน  VS มูลค่ายุติธรรม
2. การพิจารณาผลตอบแทนการลงทุน
3. การคิดลดกระแสเงินสด
4. การพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

การวัดมูลค่าของสินทรัพย์ราคาทุน VS มูลค่ายุติธรรม
ในการจัดทำและนำเสนองบการเงิน มีข้อพิจารณาสำหรับผู้ทำบัญชีที่สำคัญ คือ ตามแนวคิดในการวัดมูลค่าที่แสดง
ในงบการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน (หรือชื่อเดิมเรียกว่า “งบดุล”)  รายการ
ที่ได้รับรู้นั้นแสดงในมูลค่าตามแนวทางที่สำคัญใน 2 ลักษณะ คือ 

1. การวัดมูลค่าเมื่อเริ่มรับรู้รายการ เป็นการกำหนดราคามูลค่าเมื่อจะบันทึกบัญชีว่าจะบันทึกบัญชีด้วยจำนวน
เงินเท่ากับเท่าไร ซึ่งตามปกติมักเป็นไปตามเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี  

2. การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ รวมถึงการวัดมูลค่าภายหลังการได้มา หมายถึง กรณีการพิจารณา
แสดงมูลค่าในกรณี ณ วันสิ้นสุดรอบระยะเวลารายงาน ซึ่งตามปกติจะปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสินทรัพย์
ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ จะเป็นกรณีที่สินทรัพย์นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของราคามูลค่าระหว่างวันที่รับรู้รายการเริ่มแรก
กับวันที่ ณ วันสิ้นงวด ซึ่งสิ่งที่ผลักดันขึ้นอยู่กับลักษณะและความจำเป็นที่ต้องแสดงรายการในรายงานทาง
การเงินนั่นเอง  

อย่างไรก็ตาม สำหรับการเตรียมความพร้อมในอนาคต ในการแสดงมูลค่า ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานอาจต้อง
พิจารณาการแสดงมูลค่ายุติธรรมในสินทรัพย์มากชนิดขึ้น โดยราคามูลค่ายุติธรรมตามความหมายของ
มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะในปัจจุบัน กำหนดไว้ดังนี้

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์หรือจ่ายชำระหนี้กันในขณะที่ทั้ง
สองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของ
ผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น ราคาตลาดซื้อขายคล่อง หรือมูลค่าปัจจุบันของราคาที่จะต้องชำระ เพื่อโอนหนี้สิน
ให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นต้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ อาจทำให้การวัด
มูลค่าโดยใช้มูลค่ายุติธรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดมูลค่า ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
โดยอาจเน้นหนักในเรื่องการวัดมูลค่าในแนวคิดเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์  ซึ่งในหลักการดังกล่าวสามารถนำไป
ประยุกต์ใช้กับสินทรัพย์ได้หลายประเภท เช่น สินค้าคงเหลือและเงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ตามที่ได้
กล่าวมาแล้วข้างต้น   


  บางส่วนจากบทความ "เมื่อมาตรฐาน NPAEs จะเปลี่ยนแปลง มีอะไรที่กระทบบ้าง (ตอนที่ 1) : การวัด
  มูลค่าของสินทรัพย์"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 191 เดือนพฤศจิกายน 2562



Accounting Style : CPD Talk : สุรพล ถวัลยวิชชจิต
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤศจิกายน 2562


FaLang translation system by Faboba