“ค่าขนส่ง” กับ “ค่าเช่ารถ”

โดย

 


การประกอบธุรกิจจะมีสองประเภทด้วยกัน คือ “กิจการขายสินค้า” กับ “กิจการให้บริการ” ซึ่งประมวลรัษฎากร
ได้ให้ความหมายของกิจการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) ไว้ดังนี้ “บริการ” หมายถึง การกระทำใดๆ อันอาจ
หาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า 

ธุรกิจให้บริการ “ขนส่ง”
การประกอบธุรกิจขนส่งถือเป็นกิจการให้บริการประเภทหนึ่ง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช์มาตรา 608
ให้ความหมายของคำว่า “ขนส่ง” หมายถึง “อันว่าผู้ขนส่งภายในความหมายแห่งกฎหมายลักษณะนี้ คือ บุคคล
ผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของตน”
จากความหมายของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 608  จึงสรุปได้ คือ ขนส่ง หมายถึง ขนคน หรือ ขนของ
ส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งการประกอบธุรกิจขนส่งแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
(1) ขนส่งทางบก (2) ขนส่งทางเรือ (3) ขนส่งทางอากาศยาน

ค่าขนส่ง
การให้บริการขนส่งสินค้าทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งนี้ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากรที่ได้
กำหนดไว้ ดังนี้ “มาตรา 81 (1)(ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร” และ “มาตรา 81(1)(ด) การให้บริการ
ขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยาน หรือเรือเดินทะเล”
ดังนั้น กิจการ “ขนส่งทางบก” ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ อันเนื่อง
จากกฎหมายยกเว้นไว้ ไม่ได้ให้สิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากผู้ว่าจ้างเป็นบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่าย
ค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น 
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคม
หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
คำว่า “การขนส่งสาธารณะ ” หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ดังนั้น เมื่อ
ผู้ประกอบกิจการให้บริการ “ขนส่ง” จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และจะถูกผู้จ่ายเงินเป็นนิติบุคคลหัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ไม่ว่าผู้ประกอบการให้บริการ “ขนส่ง” จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ
นิติบุคคลก็ตาม

ค่าเช่ารถ
การนำทรัพย์สินออกให้เช่าถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) แห่งประมวลรัษฎากร การนำรถยนต์ออกให้เช่า
จึงเป็นกิจการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ หากกิจการมีรายได้ต่อปี 1,800,000 บาทขึ้นไป ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 537 ได้ให้ความหมาย “การเช่าทรัพย์สิน”  ไว้ ดังนี้
“การเช่าทรัพย์สิน หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้เช่า
ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่า
เพื่อการนั้น” 
ดังนั้น การให้เช่าทรัพย์สินจะต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้
(1) ผู้เช่าจ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งการได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่า
(2) มีกำหนดระยะเวลา
เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าเช่าหรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้เนื่องจาก
การให้เช่าทรัพย์สิน ตามมาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่รวมถึงค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับ
กรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย นอกจากที่ระบุใน (3) หักภาษี ณ ที่จ่ายโดย
คำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 5.0
(3) มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตาม
มาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 10.0
(4) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
นอกจากที่ระบุใน (3) เฉพาะที่เป็นค่าเช่าเรือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์นาวีที่ใช้ในการขนส่งระหว่าง
ประเทศ หักภาษี ณ ที่จ่ายโดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0


  บางส่วนจากบทความ "ค่าขนส่ง” กับ “ค่าเช่ารถ"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 191 เดือนพฤศจิกายน 2562



Tax Talk : Tax & Accounting : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร 
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤศจิกายน 2562


FaLang translation system by Faboba