การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพิชิตเป็นนักบัญชีมืออาชีพ ตอนที่ 29 การหักภาษี ณ ที่จ่าย – รู้จริง - เข้าใจหลักการ

โดย

 



วิธีการหักภาษีในการจ่ายกรณีต่างๆ เมื่อมีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน


1. การจ่ายเป็นตัวเงินสด

การหักภาษี ณ ที่จ่ายถือเกณฑ์เงินสด กล่าวคือเมื่อมีการจ่ายจึงจะมีการหักภาษีในวันที่จ่าย
ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่การเงินของ บริษัท ดี จำกัด ขออนุมัติเบิกเงินมาเพื่อจ่ายค่าทนายความแก่นายเด่น
ในวันที่ 25 มิถุนายน 2534 นายเด่นได้มารับเงินไปในวันที่ 2 กรกฎาคม 2534 ดังนี้จะถือว่าจ่ายใน
วันที่ 2 กรกฎาคม 2534 ต้องหักภาษีและออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2534 และ
ต้องนำส่งโดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ภายในวันที่ 7 สิงหาคม 2534 แต่ถ้าถือว่าจ่ายตั้งแต่ 25 มิถุนายน 2534 ก็ต้อง
หักภาษีและออกหนังสือรับรองหักภาษีในวันที่ 25 มิถุนายน 2534 และต้องนำส่งภาษีที่หัก ณ ที่จ่ายภายใน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2534 ผลการนำส่งภาษีจึงต่างกัน

2. การจ่ายเป็นทรัพย์สิน
การจ่ายด้วยทรัพย์สินก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายโดยผู้จ่ายต้องตีราคาทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นเป็นเงินแล้วหัก
ภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งต่อไป

3. การจ่ายด้วยเช็ค
ถ้าเป็นเช็คลงวันที่ปัจจุบันถือว่าเป็นการจ่าย ณ วันนั้น เมื่อมีผู้มารับเช็คไปแล้ว ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ถ้าเป็นเช็ค
ลงวันที่ล่วงหน้า ถือวันที่ลงในเช็คเป็นวันจ่ายเงินและเป็นวันที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งในทางปฏิบัติทั่วไป
เมื่อออกเช็คผู้จ่ายเช็คจะออกด้วยจำนวนเงินที่หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว เมื่อมีการส่งมอบเช็คผู้จ่ายก็ต้องส่งมอบ
หนังสือรับรองการหักภาษีให้แก่ผู้รับด้วยและในหนังสือรับรองก็ควรลงวันที่วันเดียวกับที่ลงในเช็คด้วย
ปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อฝ่ายการเงินทำการออกเช็คหรือเตรียมเงินไว้จ่ายให้แล้ว แต่ผู้รับยังไม่มา
รับเงินค้างไว้นานจะทำอย่างไร กรณีนี้ควรตีความว่า จ่ายแล้วและลงวันที่จ่ายจริงในใบรับเงินด้วยและใบรับรอง
การหักภาษี ณ ที่จ่ายก็ควรลงวันที่จ่ายจริงด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการนำส่งภาษีให้ตรงตามเวลาที่รับจ่ายจริง

4. กรณีแลกของกับการโฆษณา
บางกรณีในวงการโฆษณามักจะมีการเปลี่ยนสินค้ากับการโฆษณา เช่น บริษัท ฟ. จำกัด ทำกิจการขายเครื่องเรือน
ตกลงโฆษณาในวารสารดอกเบี้ย เสียค่าโฆษณาเป็นเงิน 100,000 บาท แต่แทนที่จะจ่ายเงินค่าโฆษณาได้
จ่ายเป็นสินค้าเฟอร์นิเจอร์ มีตู้ใส่เอกสาร โต๊ะ เก้าอี้พนักงาน โต๊ะรับแขกรวมราคา 100,000 บาท เช่นกัน กรณีนี้
ด้านบริษัท ฟ. จำกัด ต้องถือว่าเป็นการขายเฟอร์นิเจอร์ราคา 100,000.- บาท บริษัท ดอกเบี้ยก็ถือว่าได้รับ
ค่าโฆษณา 100,000 บาท เมื่อ บริษัท ฟ. จำกัด ส่งสินค้าและครบกำหนดชำระเงินก็ถือว่าได้จ่ายค่าโฆษณาแล้ว
เป็นสินค้าและขณะเดียวกันก็ถือว่าได้รับชำระค่าสินค้าแล้วเช่นกัน บริษัท ฟ. จำกัด ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำ
ส่งอัตรา 2% เท่ากับ 2,000 บาท


   
      บางส่วนจากบทความ “การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อพิชิตเป็นนักบัญชีมืออาชีพ ตอนที่ 29 การหัก
      ภาษี ณ ที่จ่าย – รู้จริง - เข้าใจหลักการ”

      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 457  เดือนตุลาคม 2562





Smart Accounting : Accounting How To : สุพัฒน์ อุปนิกขิต
วารสาร : เอกสารภาษีอากร ตุลาคม 2562



FaLang translation system by Faboba