แนวคิดงานบัญชี การจัดการสินค้าคงเหลือ (ภาคที่ 2)

โดย

 


องค์ประกอบสำคัญของสินค้าคงเหลือประกอบด้วย Quantity  กับ Price  ดังนั้น นักบัญชีพึงต้องเข้าใจ
ในรายละเอียด ดังนี้

การบันทึกรายการบัญชีสินค้าคงเหลือ มีอยู่ 2 วิธี ได้แก่
1. Periodic Inventory Method (วิธีสินค้าวันสิ้นงวด)
2. Perpetual Inventory Method (วิธีสินค้าแบบต่อเนื่อง)

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ ครับ ทั้ง 2 วิธีแตกต่างกันอย่างไร

การบันทึกบัญชีสินค้า ทั้ง  2 วิธีนั้น เชื่อว่าเพื่อนนักบัญชีคงจะมีเข้าใจได้ดีอยู่แล้ว  ประเด็นจึงต้องพิจารณาต่อว่า
ในการบันทึกบัญชีสินค้า ทั้ง 2 วิธีนั้น ควรบันทึกบัญชีวันไหน (When) คำตอบคือ “วิธีการบันทึกบัญชีสินค้า
ทั้ง 2 วิธี ต้องบันทึกบัญชีวันที่เดียวกับวันที่รับสินค้าเข้าคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการซื้อในประเทศ หรือ
การซื้อต่างประเทศ”
และเรื่องนี้ถือเป็นหลักการพื้นฐานของ การควบคุมภายใน ด้วยครับ

ประเด็นต่อมา ที่ต้องนำมาทบทวนความเข้าใจ คือ ราคาของสินค้า (ต้นทุนของสินค้า – จำนวนเงิน บันทึกบัญชี)
บทสรุป ต้นทุนของสินค้า (ราคาทุน) ประกอบด้วย 
1. 
ต้นทุนในการซื้อ (ราคาซื้อ + อากรขาเข้า + ค่าขนส่ง + ค่าขนถ่าย และต้นทุนอื่นซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง)
2. ต้นทุนแปลงสภาพ (ค่าแรงงานทางตรง + ค่าใช้จ่ายการผลิต (โสหุ้ยการผลิต) )

ประเด็นที่อยากให้นักบัญชีพึงระวังมากขึ้น คือ ต้นทุนบางรายการที่มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 ได้ให้ตัวอย่าง
ไม่อนุญาตให้นำมารวมเป็นต้นทุนของสินค้า และให้รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้น เช่น
1. วัตถุดิบ ค่าแรงงานหรือค่าใช้จ่ายการผลิตอื่น ที่สูญเสียเกินปกติ  
2. ต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้า เว้นแต่เป็นต้นทุนที่จำเป็นในกระบวนการผลิตก่อนจะถึงขั้นตอนการผลิตถัดไป
3. ค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ไม่เกี่ยวกับการทำให้สินค้าอยู่ในสถานที่และอยู่ในสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
4. ต้นทุนขาย

ประเด็นต่อมา ที่เราต้องมาทบทวนแนวคิดงานบัญชี การจัดการสินค้าคงเหลือกันต่อ คือ การคำนวณต้นทุนสินค้า
คงเหลือ ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 3 วิธี ได้แก่
1. วิธีราคาเจาะจง (Specific identification)
2. วิธีเข้าก่อน – ออกก่อน ( FIFO – The first in – first out)
3. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (The weighted average cost)

หลักการ : ควรพิจารณาจากลักษณะของสินค้า – สินค้าที่มีลักษณะการใช้คล้ายคลึงกัน ควรใช้วิธีเดียวกัน  ดังนั้น
นักบัญชีต้องเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม – ตรงนี้ถือเป็นการกำหนดนโยบายการบัญชี ตัวอย่างเช่น สินค้า
มีลักษณะเป็น ยา อาหารกระป๋อง หรือสินค้าที่มีอายุ ความล้าสมัย เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ควรเลือกใช้วิธี
เข้าก่อน – ออกก่อน ( FIFO – The first in – first out) นั้นเอง 

  บางส่วนจากบทความ "แนวคิดงานบัญชี การจัดการสินค้าคงเหลือ – (ภาคที่ 2)"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 189 เดือนกันยายน 2562



Accounting Style : CPD Coach : Mr.Knowing
วารสาร : CPD&ACCOUNT กันยายน 2562


FaLang translation system by Faboba