6 การทุจริตทางการเงินที่สำคัญ และการป้องกันการทุจริตที่ดีควรทำอย่างไร

โดย

 



ปัญหาที่เกิดขึ้น : รับเงินสดแต่ไม่นำฝากธนาคาร แต่กลับนำไปหมุนใช้ส่วนตัว
(รับจากลูกค้า / รับจาก
การเคลียร์เงินต่างๆ เป็นต้น)
แนวทางการจัดการ
• ทำทะเบียนคุมการรับเงินสด และการนำฝากธนาคาร
• วิเคราะห์บัญชีลูกหนี้
• กระทบยอดบัญชีแยกประเภทและบัญชีลูกหนี้รายตัว
• ตรวจสอบใบเสร็จรับเงิน
• ตรวจสอบเอกสารประกอบการรับเงิน

ปัญหาที่เกิดขึ้น : นำเงินสดย่อยไปใช้ส่วนตัว
แนวทางการจัดการ
• เก็บเงินเข้าตู้เซฟในห้องผู้บังคับบัญชาทุกสิ้นวัน
• ตรวจนับเงินสดย่อย (Surprise check) โดยผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเงินสดย่อยเป็นระยะๆ
• ปัญหาที่เกิดขึ้น : นำเอกสารมาจ่ายซ้ำ โดยแบ่งผลประโยชน์กับผู้รับเงิน

ปัญหาที่เกิดขึ้น : นำเอกสารมาจ่ายซ้ำ โดยแบ่งผลประโยชน์กับผู้รับเงิน
แนวทางการจัดการ
• เอกสารประกอบการจ่าย เมื่อจ่ายเงินแล้วให้ประทับ “จ่ายแล้ว” / “Paid”
• เอกสารประกอบการจ่ายต้องเป็นเอกสารต้นฉบับเท่านั้น

ปัญหาที่เกิดขึ้น : นำของโปรโมชั่นไปใช้ส่วนตัวไม่ถึงมือลูกค้า
แนวทางการจัดการ
• จัดทำแผนงานส่งเสริมการขายเป็นลายลักษณ์อักษร
• มีเอกสารผ่านการอนุมัติให้นำสินค้าตัวอย่างไปให้ลูกค้า พร้อมให้ลูกค้าลงนามรับของ

ปัญหาที่เกิดขึ้น : ยักยอกเงิน โดยนำส่งเงินไม่ครบถ้วน รายงานยอดขายต่ำกว่าความเป็นจริง
แนวทางการจัดการ
• กระทบยอดขายในระบบกับจำนวนเงินที่ได้รับ ทั้งที่เป็นเงินสด / บัตรเครดิต / เดบิต และลูกหนี้

ปัญหาที่เกิดขึ้น : ยักยอดเงินจากลูกค้า เช่น ได้รับแบงค์ 1,000 บอกว่าได้รับแบงค์ 500 เป็นต้น
แนวทางการจัดการ
• ตรวจสอบรายงาน ชนิด / จำนวนเงิน เข้าและออกในลิ้นชักประจำวัน /ติดกล้องวงจรปิด


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 6 การทุจริตทางการเงินที่สำคัญ และการป้องกันการทุจริตที่ดีควรทำอย่างไร

 


FaLang translation system by Faboba