ภาษีกองทุนตราสารหนี้ ไม่ใช่แค่ภาษีแต่คือการเปลี่ยนประเภทเงินได้

โดย

 


หลายคนคงได้ยินข่าวการเก็บภาษีกองทุนตราสารหนี้มาสักพักแล้วใช่ไหมครับ ล่าสุดกฎหมายได้บังคับใช้ไปแล้ว
และจะมีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป คำถามต่อมา คือ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี มันเกี่ยวข้อง
อะไรกับชีวิตเราไหม? และเราควรจะเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง? ลองมาดูกันครับผม

ประเด็นสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ กฎหมายนี้ไม่ได้เก็บเฉพาะตราสารหนี้ หากใครได้อ่าน พระราชบัญญัติ
แก้ไขประมวลรัษฎากรฉบับที่ 52
แบบเต็มๆ จะเห็นว่ากฎหมายได้มีการยกเว้นและคิดวิธีการจัดเก็บภาษีแบบใหม่
ขึ้นมาสำหรับกองทุนรวมโดยเฉพาะในส่วนนี้ โดยกำหนดนิยามของกองทุนรวมให้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และให้
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมไม่ต้องนำรายได้ที่ไม่ใช่ 40(4)(ก) มาคำนวณเป็นรายได้ (มาตรา 65
ทวิ (15)) และให้เสียภาษีเฉพาะรายได้ 40(4)(ก) ในอัตรา 15% ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายเพียงอย่างเดียว
(มาตรา 67(3)) 

นั่นคือต่อไปนี้ถ้าหากกองทุนรวมมีรายได้ตามมาตรา 40(4)(ก) หรือดอกเบี้ยทั้งหลายที่กำหนดไว้ในกฎหมาย จะต้อง
เสียภาษีจากรายได้ในส่วนนี้ 15% ครับ ซึ่งจะเห็นว่าผลกระทบไม่ใช่แค่ตราสารหนี้ แต่เป็นกองทุนทุกกองทุนที่มี
การลงทุน 

อันนี้คือฟากของผลกระทบต่อกองทุนรวมที่เห็นได้ชัด แต่ทางฝั่งของผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมก็จะได้รับผลกระทบเช่น
เดียวกันครับ นั่นคือ กฎหมายได้แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของผลตอบแทนที่ได้จากการขายเงินลงทุน และประเภทของ
รายได้ในกรณีที่กองทุนรวมมีการจ่ายเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร

โดยในส่วนของการขายเงินลงทุนในกองทุนรวม กฎหมายได้กำหนดให้เงินได้จากการขายคืนหน่วยลงทุนให้แก่บริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นกองทุนรวมเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา
40(4)(ช) อีกด้วย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้เงินได้จากการขายกองทุนรวมเดิมที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8)
กลายเป็นเงินได้ประเภท 40(4)(ข) แทน 
และในส่วนของเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมในกรณีที่เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) เดิมก็จะถูกเปลี่ยนเป็นเงินได้
ตามมาตรา 40(4)(ข) แทน เนื่องจากเมื่อกฎหมายได้กำหนดให้กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว นิยามของ
การจ่ายเงินปันผลจะไปสอดคล้องกับเงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) เช่นเดียวกัน

ถ้าคุณเป็นบุคคลธรรมดา สิ่งที่เข้าใจง่ายที่สุด คือผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณจะลดลง
ถ้าคุณเป็นนิติบุคคล สิ่งที่คุณควรทำความเข้าใจ คือ นิติบุคคลต่างประเทศจะได้รับผลกระทบที่มากกว่า
นี่เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเบื้องต้น เราต้องติดตามกฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องอีกทีหนึ่ง ทั้งหมดที่เล่ามาคือ การตีความของ
ผู้เขียนตาม พระราชบัญญัติแก้ไขประมวลรัษฎากรฉบับที่ 52 ที่ออกมาครับ ซึ่ง ณ วันที่เขียนต้นฉบับนี้อยู่ยังไม่มี
กฎหมายลูกที่เกี่ยวข้องออกมาแต่อย่างใด


  บางส่วนจากบทความ "ภาษีกองทุนตราสารหนี้ ไม่ใช่แค่ภาษีแต่คือการเปลี่ยนประเภทเงินได้"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 187 เดือนกรกฎาคม 2562


Tax Talk : Tax Knowledge : TAX Bugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT กรกฎาคม 2562


FaLang translation system by Faboba