5 ข้อควรระวัง ในการยื่นประมาณการ ภ.ง.ค. 51

โดย

 


เรื่องใกล้ตัวและใกล้ระยะเวลาที่นักบัญชีต้องเตรียมตัว คือ การเตรียมยื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะบัญชี
(ภ.ง.ด.51) นั่นเอง ซึ่งการนำยื่นเพื่อเสียภาษีที่เรามักเรียกติดปากว่า “ภาษีครึ่งปี” ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดอยู่ 2 ประเภท
คือ เสียจากกำไรสุทธิในรอบ 6 เดือน ตามจริง (บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หลักทรัพย์
เครดิตฟองซิเอร์ หรือผู้ได้รับอนุมัติให้มีผู้สอบทานงบการเงิน) และ เสียจากกึ่งหนึ่งจากประมาณการกำไรสุทธิ (บริษัท
หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอื่น)

ข้อแนะนำที่นักบัญชีพึงต้องระมัดระวังในการยื่นประมาณการ โดยเสียจากกึ่งหนึ่งจากประมาณการกำไรสุทธิ มีดังนี้
1. ควรตรวจสอบการนำยื่นการเสียภาษีย้อนหลัง อย่างน้อย 3 ปี เพื่อดูว่าที่ผ่านมาการเสียภาษีประจำปี และการประมาณ
การการเสียภาษีครึ่งปีที่ผ่านมา เป็นอย่างไรบ้าง
2. เร่งการปิดบัญชีประจำปี อย่างน้อยควรต้องรู้ข้อมูลจริง 6 เดือน
3. ประมาณผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในช่วง 6 เดือนหลังนั้น ควรมีการเตรียมข้อมูล เช่น เปรียบเทียบกับปี
ก่อน และ/หรือ ปรึกษากับผู้บริหาร ทิศทางการเติบโตของรายได้ 6 เดือนเป็นอย่างไรบ้าง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลสนับสนุน
4. ประเด็นสำคัญ คำว่า กำไรสุทธิ คือ กำไรสุทธิทางภาษี ดังนั้น ต้องเปรียบเสมือนการคำนวณภาษีประจำปี คือ
ระมัดระวังในเรื่องค่าใช้จ่ายต้องห้าม ดังนั้น ควรจัดตารางประมาณการกำไรขึ้นมา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการยื่นเสียภาษี
ครึ่งปี
5. เมื่อจัดทำข้อมูลประมาณการเสียภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเรียบร้อยแล้ว ควรนำไปอธิบายให้ผู้บริหารได้รับทราบ
เพราะหากข้อมูลไม่ถูกต้อง หรือ อาจจะมีกิจกรรมที่มีรายได้เกิดขึ้นภายหลัง จะได้ลดปัญหาประมาณการที่ไม่ถูกต้อง

  บางส่วนจากบทความ "5 ข้อควรระวัง ในการยื่นประมาณการ ภ.ง.ค. 51"
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account 16 ฉบับที่ 187 เดือนกรกฎาคม 2562


Accounting Style : CPD Coach : Mr. Knowing 
วารสาร : CPD&ACCOUNT กรกฎาคม 2562


FaLang translation system by Faboba