เหตุที่ใช้ลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้าง ถ้าใช้คำว่า “ทุจริต” กับ “ไม่สุจริต” มันแตกต่างกัน?

โดย

 


คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1965/2560 ท่านได้วางหลัก “ทุจริต” กับ “ไม่สุจริต” ไว้ดังนี้ครับ

การทุจริต มีความหมายตามพจนานุกรมว่าความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง  ส่วนไม่สุจริต หมายถึงความประพฤติ
ไม่ชอบ ซึ่งความหนักเบาแห่งพฤติกรรมไม่เท่ากัน

กรณีตัวอย่าง ลูกจ้างกรอกเอกสารเป็นเท็จไม่ตรงกับเงื่อนไขที่นายจ้างกำหนดเพื่อขอรับทุนการศึกษา พอกรอกเท็จ
ก็เลยทำให้นายจ้างหลงเชื่อไปจึงอนุมัติปล่อยให้รับทุนการศึกษา ซึ่งทำให้คนอื่นเสียโอกาส การกระทำเช่นนี้เป็น
“การกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต”  นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่
ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ต้องไปจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจึงมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอ
ที่จะไม่จ้างต่อ  ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 

แต่กรณีนี้ไม่ได้วินิจฉัยเรื่อง “ค่าชดเชย” ว่าต้องจ่ายหรือไม่ แต่ให้สังเกตดูว่า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. 2541 มาตรา 119  ซึ่งบัญญัติไว้ว่า (วรรค 1) "นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างใน
กรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้าง
ได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จําเป็นต้องตักเตือน
เป็นหนังสือเตือน ให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก"

(วรรค 2) "ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้
นายจ้างได้รับความเสียหาย"

(วรรค 3) "การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ใน
หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างใน
ภายหลังไม่ได้"

  บางส่วนจากบทความ  “เหตุที่ใช้ลงโทษทางวินัยหรือเลิกจ้าง ถ้าใช้คำว่า “ทุจริต” กับ “ไม่สุจริต”
  มันแตกต่างกัน?” 

  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 199 เดือนกรกฎาคม 2562

กฎหมายแรงงาน : คลายปมปัญหาแรงงาน : กฤษฎ์ อุทัยรัตน์ 
วารสาร : HR Society Magazine กรกฎาคม 2562


FaLang translation system by Faboba