ความสามารถด้านดิจิทัลเทคโนโลยีของนักบัญชี

โดย

 


4 ความสามารถด้านดิจิทัล ที่นักบัญชีต้องมี


นักวิชาชีพบัญชีนอกจากจะต้องมีความรู้ ความสามารถในสาขาวิชาชีพของตนเป็นอย่างดีแล้ว ยังคงต้องมีความสามารถ
ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีประกอบ ต้องรู้ว่าจะใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีอย่างไร ในการปฏิบัติงานทางด้านการบัญชี  อีกทั้ง
ยังต้องรู้ว่าจะDigital Transformation อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและองค์กร ดังนั้น ความสามารถด้าน
ดิจิทัลเทคโนโลยีของนักบัญชี 4 ประการ ที่จำเป็นต้องมี ได้แก่

1) ให้ความสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี (Professional Digital Literacy
Concentration)
หมายถึง ความสนใจในการพัฒนาแนวคิดและนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนางานของ
ตนเพื่อเพิ่มศักยภาพความรู้ ทักษะ ความสามารถอย่างต่อเนื่อง การใส่ใจ และการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
มาใช้ในการพัฒนางานของตนอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของตนอยู่เสมอ
ดังนั้น นักวิชาชีพบัญชีต้องเพิ่มความรู้ ความสามารถ ฝึกทักษะด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการทำงานในวิชาชีพ
ตนเพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง

2) ตระหนักถึงความสำคัญของการทำธุรกรรมออนไลน์ในงานบัญชี (Accounting Online Transactional
Awareness)
หมายถึง ความสามารถของนักวิชาชีพบัญชีในการทำธุรกรรมทางด้านการบัญชีผ่านระบบเครือข่าย
อินเตอร์เน็ต ซึ่งการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้มีผู้ใช้งานกันอย่างกว้างขวาง เช่น การรับส่งข้อมูลทำการแลก
เปลี่ยน โอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การโต้ตอบสื่อสารแบบส่งข้อความและการประยุกต์
ในเรื่องธุรกิจอีก มากมาย การยื่นภาษีทางอินเตอร์เน็ต (e-Revenue) การยื่นงบการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
(DBD e-Filing) การจ่ายชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) 

3) การบูรณาการความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Adequate IT-Knowledge Integration)  หมายถึง
การบูรณาการความรู้ทางด้านการบัญชีและความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยในการจัดทำบัญชี การตรวจสอบ
บัญชี ระบบสารสนเทศที่ดีจะให้ข้อมูลที่มีคุณภาพ (Information Quality) จะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะคุณภาพ
ความเชื่อถือได้ (Reliability) ทันเวลา (Timeliness) สามารถนำไปใช้ได้ (Useableness) เข้าใจได้ง่าย
(Understandability) และเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ (Relevance) และการบูรณาการข้อมูลด้านหลักการบัญชีและ
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพของข้อมูลทางการบัญชี องค์กรใดก็ตามที่มีขีดความสามารถ
ทางด้านเทคโนโลยีที่สูงกว่า มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมหรือความแตกต่างเพื่อตอบสนอง
ตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปได้มากขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่าระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยี จะมีผลต่อศักยภาพของ
องค์กรในด้านต่างๆ 

4) ทัศนคติด้านจริยธรรมวิชาชีพ (Ethical and Professional Value Mindset) สำหรับนักวิชาชีพบัญชี
ซึ่งเป็นวิชาชีพอิสระ นอกจากจะใช้ความรู้ความสามารถที่มีลักษณะพิเศษเหมือนกันกับนักวิชาชีพอื่นแล้ว ยังต้องมี
คุณธรรม จริยธรรม มีเหตุผลเชิงจริยธรรมในการที่จะคิดและจะทำในทางที่ถูกที่ควร  ต้องมีความรับผิดชอบต่อกิจการที่
ตนเองอำนวยการทำบัญชี หรือทำการสอบบัญชี กระทำผิดต่อสิ่งที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี หากนักวิชาชีพบัญชีมีระดับของการใช้เหตุผลเชิง
จริยธรรมเพิ่มขึ้น จะทำให้คุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มของนักวิชาชีพบัญชีสูงขึ้นตามไปด้วย 


   
      บางส่วนจากบทความ “หลักเกณฑ์ในการพิจารณาจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และหลักการภาษีสรรพสามิตที่ดี”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 454  เดือนกรกฎาคม  2562




Smart Accounting : Smart Accounting : ผศ. ดร.อุเทน เลานำทา
วารสาร : เอกสารภาษีอากร กรกฎาคม 2562



FaLang translation system by Faboba