สาระสำคัญ (บทลงโทษ) - พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543

โดย

 


พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องงานด้านบัญชี ที่นักบัญชีและผู้บริหารของบริษัท
ควรให้ความสนใจ ถ้านิติบุคคล (ภายใต้บทบาทหน้าที่ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้ทำบัญชี ) หากปฏิบัติ
ไม่ถูกต้องจะมีบทลงโทษอย่างไร

1. ไม่ปฏิบัติ ไม่จัดทำ ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาในการลงบัญชี
เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี และนักบัญชีในฐานะผู้ทำบัญชี ไม่มีคุณสมบัติ และเงื่อนไขที่กำหนด
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 500 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

2. ไม่จัดให้มีการจัดทำบัญชี สำหรับการประกอบธุรกิจของตน ตามกำหนดเวลา
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 30,000 บาท และปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละ 1,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

3. ไม่ปิดบัญชีครั้งแรกภายใน 12 เดือน, ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชี อย่าง
ครบถ้วน, ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด (กรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ถ้ามีคุณสมบัติครบ
จะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้)
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

4. ไม่จัดงบการเงินและยื่นงบการเงิน ภายในระยะเวลาที่กำหนด
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

5. ไม่จัดทำงบการเงินตามรูปแบบรายการอย่างย่อ, ไม่จัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
ไว้ ณ สถานประกอบการ, ไม่จัดเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ตามระยะเวลาที่กำหนด
(ต้องจัดเก็บไม่น้อยกว่า 5 ปี), บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายและเสียหาย ไม่แจ้งต่อ
สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี, รวมถึงเมื่อเลิกประกอบธุรกิจ มิใช่การชำระบัญชี ไม่ส่งมอบบัญชีหรือเอกสาร
ที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ให้แก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ตามเวลาที่กำหนด (ภายใน 90 วัน นับแต่
วันเลิกประกอบธุรกิจ)
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

6. งบการเงินไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบและแสดงความเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (เว้นแต่กรณี
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท จะถูก
ตรวจสอบโดย ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี – Tax Auditor)
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 20,000 บาท

7. หากมีการแจ้งข้อมูล บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายและเสียหาย เป็นเท็จต่อสารวัตรใหญ่
บัญชีหรือสารวัตรบัญชี
บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

8. ผู้ทำบัญชี (นักบัญชี) ไม่จัดทำบัญชีให้ถูกต้อง ครบถ้วนตามความเป็นจริง
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 10,000 บาท

9. ผู้ทำบัญชี (นักบัญชี) ไม่ลงรายการบัญชี เป็นภาษาไทย หรือหากลงเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีภาษาไทยกำกับ
บทลงโทษ : ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

10. หากขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบบัญชี
และเอกสารประกอบการลงบัญชี ณ สถานประกอบการ
บทลงโทษ : จำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

11. ไม่อำนวยความสะดวกแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี ซึ่งเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบบัญชีและเอกสาร
ประกอบการลงบัญชี ณ สถานประกอบการ หรือฝ่าฝืนคำสั่งตามหนังสือที่ทางสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารบัญชี
ส่งหนังสือแจ้ง ซึ่งไม่มาให้ถ้อยคำ เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีหรือการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี
รวมถึงการส่งมอบเอกสาร หรือไม่จัดส่งบัญชี เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี หรือรหัสบัญชี มาเพื่อตรวจสอบ
บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

12. หากไปเปิดเผยข้อมูล ข้อความใดๆ ที่ทราบหรือได้มาจากการปฏิบัติงานของสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี
บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ (กรณีดังกล่าว หาก
สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี เจ้าพนักงาน เป็นคนไปเปิดเผยข้อมูล ก็จะมีบทลงโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ
ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)

13. หากทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหาย หรือทำให้ซึ่งไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ หากผู้กระทำความผิด เป็นผู้มี
หน้าที่จัดทำบัญชี จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

14. หากลงรายการเป็นเท็จ แก้ไข ละเว้นการลงรายการในบัญชีหรืองบการเงิน แก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ
ลงบัญชีเพื่อให้ผิดต่อความเป็นจริง
บทลงโทษ : จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ หากผู้กระทำความผิด เป็นผู้มี
หน้าที่จัดทำบัญชี จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

สำหรับความผิดต่างๆ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี – กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้แทนนิติบุคคลหรือบุคคลใดที่
รับผิดชอบในการดำเนินการของนิติบุคคล หากพิสูจน์ได้ว่า ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำความผิด
ก็จะได้รับการยกเว้นบทลงโทษ (หมายเหตุ : อำนาจในการพิจารณา ให้ไปดูคำสั่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ที่ 70/2552 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการมีอำนาจเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ.2543)


CPD Coach : Mr. Knowing 
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤษภาคม 2562


FaLang translation system by Faboba