9 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี

โดย

 

ความเข้าใจในประมวลรัษฎากรนำไปสู่การวางแผนภาษีที่เหมาะสม


ผู้วางแผนภาษีจะไม่สามารถวางแผนภาษีได้เลยหากไม่มีความเข้าใจในตัวประมวลรัษฎากรและกฎหมายลำดับรอง
ที่เกี่ยวข้อง ในการนี้ ท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่านบทความต่างๆ จากวารสารภาษีและเข้าฟังสัมมนาภาษี
อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจในประมวลรัษฎากรและกฎหมายลำดับรองให้มากขึ้น ทั้งนี้ตัวอย่างที่
ผู้เขียนชอบยกขึ้นมาเพื่ออธิบายและชี้ให้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการเข้าฟังสัมมนาภาษีอย่างต่อเนื่องก็คือ

เรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่ายในกรณีซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 
ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีซื้อเครื่องจักร อุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ติดมากับเครื่องจักรดังกล่าวเป็น
โปรแกรมพื้นฐานอันจำเป็นที่ต้องใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ถ้ามีการตกลงเรียกเก็บเงินที่รวมค่าเครื่องจักร
อุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาเป็นราคาเดียว ถือเป็นการซื้อขายสินค้า ผู้จ่ายเงินไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
แต่ถ้าแยกราคา จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย (ในอัตราร้อยละ 3) สำหรับการจ่ายค่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากว่า
เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายค่าเครื่องจักรและ
อุปกรณ์เนื่องจากว่าเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร (กค 0706/1347 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2547)

เรื่องการหักค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีการทำประกันชีวิต
มีหลักเกณฑ์ว่า ถ้าหากเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ท่านสามารถนำเบี้ยประกันที่ท่านจ่ายให้แก่
บริษัทประกันชีวิตมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของท่านได้ในจำนวนเท่ากับ
ที่ท่านได้จ่ายไปจริงในปีภาษีนั้น แต่ต้องไม่เกิน 1 แสนบาท

ปัญหาก็คือ ถ้าหากมีนายหน้ามาเสนอขายประกันชีวิตแก่ลูกค้าโดยมีเงื่อนไขว่าลูกค้าต้องจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันเป็น
เงิน 1 แสนบาทแก่บริษัทประกันชีวิตทุกปีเพื่อได้รับสิทธิหักค่าลดหย่อนได้เต็มจำนวนที่เท่ากับ 1 แสนบาท แต่ภายในปี
เดียวกันของทุกปี บริษัทประกันชีวิตจะคืนเงินสด 8 หมื่นบาทให้แก่ลูกค้าซึ่งกรณีดังกล่าวหมายความว่า ลูกค้าได้
จ่ายเงินค่าเบี้ยประกันจริงๆ เป็นเงินสดที่ 2 หมื่นบาท ซึ่งมีปัญหาภาษีว่าลูกค้าผู้นั้นมีสิทธิขอหักค่าลดหย่อนได้ใน
จำนวนที่ 1 แสนบาทหรือที่ 2 หมื่นบาท 

สำหรับปัญหาภาษีข้างต้น สรรพากรได้วินิจฉัยว่าเป็นกรณีที่ผู้รับประกันชีวิตได้ให้ส่วนลดแก่ลูกค้าในขณะที่ลูกค้าเข้า
ทำสัญญาประกันชีวิต ดังนั้น จำนวนเบี้ยประกันจริงๆ ที่ลูกค้าได้จ่ายให้แก่ผู้รับประกันชีวิตจึงเหลืออยู่ที่ 2 หมื่นบาท
ลูกค้าจึงมีสิทธิขอหักค่าเบี้ยประกันเป็นค่าลดหย่อนที่ใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของตนได้ในวงเงิน
ที่สองหมื่นบาทเท่านั้น

   
      บางส่วนจากบทความ “9 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี” 
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 452 เดือนพฤษภาคม 2562




การวางแผนภาษี : ฤกษ์ฤทธิ์ เพชรวรกุล
วารสาร : เอกสารภาษีอากร พฤษภาคม 2562



FaLang translation system by Faboba