การสอบทานการเปิดเผยข้อมูล

โดย

 


หลักการเปิดเผยข้อมูลในรายงานการเงิน

ลักษณะและจำนวนของข้อมูลที่กิจการควรเปิดเผยไว้ในรายงานการเงินนั้นมาจากการตัดสินใจของผู้บริหารของ
กิจการโดยพิจารณาจาก 2 เรื่อง คือ

1. รายละเอียดที่เพียงพอ ข้อมูลนั้นควรมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างการเปิดเผย
ข้อมูลกับการไม่เปิดเผยข้อมูลต่อผู้ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ข้อมูล

2. สาระสำคัญ ข้อมูลควรมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะทำให้ผู้ใช้ข้อมูลเข้าใจในข้อมูลนั้นได้ โดยคำนึงถึงต้นทุนใน
การจัดทำข้อมูลและผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลนั้น

ผู้รับผิดชอบของกิจการควรระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลที่มีรายละเอียดมากเกินไป ที่อาจทำให้ผู้ใช้ข้อมูลต้อง
ใช้เวลามากในการทำความเข้าใจกับข้อมูลที่ได้รับ หรืออาจทำให้ผู้ใช้ข้อมูลยากจะเข้าใจในข้อมูลนั้น เนื่องจาก
ข้อมูลรายละเอียดที่มากไปนั้นลดความสำคัญของข้อมูลที่น่าสนใจลงไป

การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลไว้ในงบการเงินควรเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
โดยแสดงตัวเลขในงบการเงิน มีข้อมูลเพิ่มเติมข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับรายงานการเงิน และข้อมูลอื่นที่อยู่นอกรายงาน
ทางการเงิน ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2561) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดว่างบ
การเงินที่สมบูรณ์ประกอบด้วย
- งบแสดงฐานะการเงิน (Statement of Financial Position)
- งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (Statement of Comprehensive Income)
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ (Statement of Changes in Equity)
- งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow)
- หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Notes to Financial Statements)

การสอบทานการเปิดเผยข้อมูลของกิจการจึงต้องพิจารณาว่าข้อมูล และรายการที่กิจการจัดทำได้นำเสนอไว้ใน
รายงานการเงิน ได้ยึดวิธีปฏิบัติทั่วไปของการให้ข้อมูลที่ว่าข้อมูลใดถ้าละเลยหรือไม่เปิดเผยแล้ว จะทำให้ผู้ใช้
ข้อมูลหลงผิดหรือเข้าใจผิด แสดงว่าข้อมูลนั้นมีความสำคัญ  ข้อมูลที่สำคัญและเพียงพอจะมีอิทธิพลต่อดุลย
พินิจและการตัดสินใจของผู้ใช้ ข้อมูลนั้นควรเปิดเผยให้ผู้ใช้ข้อมูลทราบ เรียกว่า หลักการเปิดเผยข้อมูลอย่าง
เพียงพอ

หลักการเปิดเผยข้อมูลตามที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถตีความหมายของข้อมูลนั้นได้โดยปกติ
โดยพิจารณาจากการ  4 เรื่องดังต่อไปนี้
1) ความเพียงพอ การเปิดเผยข้อมูลของกิจการต้องเพียงพอเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด หรือทำให้เข้าใจผิด
2) ความถูกต้อง ข้อมูลที่ทำการเปิดเผยจะต้องมีความถูกต้องเป็นจริงจึงจะทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงรายการ
และเหตุการณ์ทางบัญชีที่กิจการนำเสนอ
3) ความครบถ้วน การเปิดเผยข้อมูลทุกรายการที่เกี่ยวข้องต้องครบถ้วน ข้อมูลที่เปิดเผยนั้นไม่ควรมากเกินไป
ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจากทำให้ข้อมูลหมดความสำคัญ และทำให้เกิดความยากลำบากใน
การตีความ
4) ความมีสาระสำคัญ กิจการควรเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระสำคัญการแสดงรายการที่มีสาระสำคัญจะเป็นประโยชน์
ในการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงิน

การเปิดเผยข้อมูลในรายการการเงินเป็นความรับผิดชอบของกิจการที่นักบัญชีผู้รับผิดชอบควรคำนึงถึงเนื้อหาของ
ข้อมูลที่ต้องเปิดเผย ส่วนรูปแบบและวิธีการของการเปิดเผยข้อมูลนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนตายตัว การเปิดเผย
ข้อมูลที่นิยมทั่วไปมีดังนี้
1. การเสนอรายละเอียดประกอบและอธิบายคำศัพท์เฉพาะที่ต้องการสื่อให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจ
2. การแสดงข้อมูลในวงเล็บเป็นการอธิบายเพิ่มเติมให้เกิดความชัดเจน
3. หมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของงบการเงิน จะเปิดเผยทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลขการเงินและ
ไม่เป็นตัวเลข
4. การแสดงรายการโดยไม่ออกยอดจำนวนเงิน
5. งบประกอบและงบย่อย

ในการสอบทานการเปิดเผยข้อมูลของผู้สอบบัญชีจะสอบทานการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นตัวเลขของงบการเงินซึ่งจะ
เรียกว่าการแสดงรายการ และการเปิดเผยข้อมูลที่อยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน  โดยผู้สอบบัญชีจะกำหนด
วิธีการตรวจสอบโดยการสอบทานการแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลของแต่ละบัญชีไว้ในแนวการสอบบัญชี
ในแต่ละเรื่อง

   
      บางส่วนจากบทความ “การสอบทานการเปิดเผยข้อมูล” 
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 451 เดือนเมษายน 2019




บัญชี : ตรวจสอบบัญชี : ดร. สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์
วารสาร : เอกสารภาษีอากร เมษายน 2562



FaLang translation system by Faboba