พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา

โดย

 

1. กำหนดให้ภายใต้บังคับมาตรา 7 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการหรือที่ได้ยื่น
แบบแสดงรายการไว้แล้วแต่ไม่ถูกต้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ดำเนินการตามมาตรา 6 แล้วให้
ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรตามประเภทภาษีอากรและรอบระยะเวลาบัญชีหรือเดือนภาษี
หรือประเภทตราสารตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี โดยการยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
ดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินหรือหนังสือแจ้งให้เสียอากรและค่าเพิ่มอากรแล้ว
(ร่างมาตรา 4)

2. กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือ
เงินเพิ่มตามมาตรา 4 ดังต่อไปนี้
(1) มีรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีสุดท้ายซึ่งมีกำหนดครบ 12 เดือน
โดยวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2561 ไม่เกิน 500,000,000.00บาท
(ห้าร้อยล้านบาท) ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ได้มีการยื่นรายการภาษีเงินได้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีตาม (1) ไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(3) ไม่เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้ใช้ใบกำกับภาษีที่กรมสรรพากรได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าได้มี
การกระทำความผิดอาญาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีตามประมวลกฎหมายอาญาไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 5)

3. กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม
ตามมาตรา 4 ดังต่อไปนี้
(1) ลงทะเบียนต่อกรมสรรพากรภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่
อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอากรหรือยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงินพร้อมทั้งชำระภาษีอากรที่ยังไม่ได้ชำระหรือ
ยังชำระไม่ครบถ้วนทั้งจำนวน ภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562ดังต่อไปนี้
(ก) ภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีที่มีวันเริ่มต้นในหรือหลัง
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ 2559 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
(ข) ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับประจำเดือนภาษีตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงเดือน
ภาษีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(ค) อากรแสตมป์สำหรับตราสารที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์อากร
ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันก่อน
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(3) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอากรทุกประเภทตามประมวลรัษฎากรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีหน้าที่
หักหรือนำส่งสำหรับธุรกรรมที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้
บังคับพร้อมทั้งนำส่งภาษีอากรที่ยังไม่ได้นำส่งหรือยังนำส่งไม่ครบถ้วนทั้งจำนวนภายใน
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2562 (ร่างมาตรา 6)

4. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 ต้องยื่นแบบแสดง
รายการภาษี แบบนำส่งภาษีและแบบขอเสียอากรเป็นตัวเงินสำหรับภาษีอากรทุกประเภทตามหลักเกณฑ์ที่
บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตให้ครบถ้วน สำหรับการยื่นแบบตั้งแต่
วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เว้นแต่มีเหตุอันสมควรตามที่อธิบดีกรมสรรพากร
ประกาศกำหนด แต่กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้หมดสิทธิได้รับยกเว้น
เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 และให้กรมสรรพากรดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง
ต่อไป (ร่างมาตรา 7)

5. กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มตามมาตรา 4 เมื่อได้ดำเนินการ
ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แล้วให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้อง (ร่างมาตรา 8)

   
      บางส่วนจากบทความ “พระราชบัญญัติยกเว้นเบี้ยปรับ เงินเพิ่มภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา” 
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 451 เดือนเมษายน 2019




บทความพิเศษ : อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร เมษายน 2562



FaLang translation system by Faboba