TFRS 15 กระทบทุกกิจการ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า

โดย

 


รับมือมาตรฐานการรายงานทางการเงิน TFRS15 ด้วยขั้นตอน Five-Steps Model


ว่าด้วยเรื่องของรายได้ตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่นักบัญชีทราบกันดีอยู่แล้วว่า มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15
เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้าถูกบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป เหตุผลสำคัญของการนำ
มาตรฐานฉบับนี้มาใช้ในประเทศไทย เนื่องจากรายได้ที่เป็นตัวเลขที่สำคัญในงบการเงิน ข้อกำหนดของการรับรู้
รายได้ในมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS) แตกต่างจากข้อกำหนดตามหลักการบัญชีที่รับรอง
ทั่วไป (GAAP) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้ง IFRS หรือ GAAP ประเทศไทยก็นำมาใช้อ้างอิงในการปฏิบัติทาง
การบัญชี ดังนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในหลักการสำหรับการรับรู้รายได้ หลักสำคัญของ TFRS15 จึงต้องการให้
กิจการรับรู้รายได้เพื่อสะท้อนการส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้าในจำนวนที่สะท้อนถึงสิ่งตอบแทนที่กิจการ
คาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการแลกเปลี่ยน 

สัญญาที่ทำกับลูกค้าตาม TFRS15 หมายถึง สัญญาที่ทำกับลูกค้าในทุกประเภทธุรกิจ ยกเว้น สัญญาบางประเภทที่
มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นกำหนดการรับรู้รายการไว้อยู่แล้ว เช่น สัญญาเช่า ที่อยู่ในขอบเขตของ
TAS17 หรือสัญญาประกันภัย ที่อยู่ในขอบเขตของ TFRS4   ขั้นตอนการรับรู้รายได้ตาม TFRS15 มี 5 ขั้นตอนหรือ
เรียกว่า Five-Steps Model ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

Step 1 การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า สัญญาอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ แต่ยึดถือปฏิบัติตามประเพณี
ทางการค้าทั่วไป เช่น การสั่งซื้อสินค้า

Step 2 การระบุภาระที่กิจการต้องปฏิบัติตามสัญญา จะเป็นองค์ประกอบหลักในการรับรู้รายได้ ดังนั้นในสัญญา
อาจจะมีภาระที่ต้องปฏิบัติมากกว่า 1 เรื่อง เช่น การส่งมอบสินค้าหรือการบริการ เป็นต้น ซึ่งไม่สามารถแยกภาระ
ดังกล่าวออกจากกันได้

Step 3 การกำหนดราคาของรายการ ราคาของรายการ คือ จำนวนเงินของสิ่งตอบแทนในสัญญาที่กิจการคาดว่าจะ
มีสิทธิได้รับเป็นการแลกเปลี่ยนกับการส่งมอบสินค้าหรือการบริการ (หรือตอบแทนตามภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา
ในขั้นตอนที่ 2) โดยราคาของรายการต้องไม่รวมองค์ประกอบการจัดหาเงิน (ดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระ) แต่รวม
สิ่งตอบแทนที่อาจไม่ได้อยู่ในรูปตัวเงิน


Step 4 การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่
ละภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา โดยใช้เกณฑ์ของราคาขายแบบเอกเทศของสินค้าหรือบริการ หากไม่สามารถแยกได้
กิจการต้องประมาณการราคานั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ

Step 5 การรับรู้รายได้เมื่อกิจการให้ปฏิบัติตามภาระแล้วเสร็จ กิจการรับรู้รายได้เมื่อกิจการได้ปฏิบัติตามภาระที่ต้องป
ฏิบัติตามสัญญาแล้วได้ส่งมอบสินค้าหรือบริการที่สัญญาให้ลูกค้า โดยจำนวนเงินการรับรู้รายได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. รับรู้รายได้ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (point in time) สำหรับการส่งมอบสินค้าทั่วๆ ไป เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น
ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
2. รับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (over time) สำหรับการส่งมอบบริการทั่วๆ ไป เมื่อภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น
ตลอดช่วงเวลาหนึ่ง กิจการรับรู้รายได้ตลอดช่วงเวลาดังกล่าว โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับการวัดความก้าวหน้าของ
ภาระที่ต้องปฏิบัติให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์

   
      บางส่วนจากบทความ “TFRS15 กระทบทุกกิจการ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 15 รายได้จาก
      สัญญาที่ทำกับลูกค้า” 

      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 450 เดือนมีนาคม 2019




บทความพิเศษ : อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มีนาคม 2562



FaLang translation system by Faboba