มนุษย์เงินเดือน+ขายของออนไลน์ เสียภาษีอย่างไร?

โดย

 



ทำไมต้องเสียภาษี?
หลักการที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด คือ มีรายได้ = ต้องยื่นภาษี
ขายของออนไลน์ = มีรายได้ = ต้องยื่นภาษี

มีงานประจำทำและขายของออนไลน์ไปด้วยต้องเสียภาษีอย่างไร?
เช่น นาย A เป็นมนุษย์เงินเดือนมีอาชีพเสริมขายของออนไลน์ จะแยกประเภทเงินได้เป็น
- เงินเดือนของนาย A เข้าเงินได้พึงประเมินประเภท 40 (1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
- รายได้ที่ได้จากการขายของออนไลน์ เข้าเงินได้พึงประเมินประเภท 40(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์
จากตัวอย่างข้างต้นนาย A มีรายได้ทั้งเงินเดือนและการขายของออนไลน์นาย A ต้องเอารายได้ทั้งสองประเภท
รวมกันแล้วยื่นภาษีในชื่อของนาย A โดยยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 90

การคำนวณภาษีแต่ละประเภท
ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 40(8) กฎหมายกำหนดเพิ่มเติมไว้ ว่ารายได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งรายได้
จาการขายของออนไลน์เข้าตามประเภทนี้ จะต้องเสียภาษีปีละสองครั้งแบ่งเป็น
- ภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด94)
- ภาษีทั้งปี (ภ.ง.ด.90)

สูตรการคำนวณภาษีด้วยตัวเอง
วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปกติจะมีวิธีคิดอยู่ 2 วิธี แต่จะยกมาแค่วิธีเดียวที่สามารถคำนวณได้ง่ายๆ
คือ (เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี
เมื่อเราได้สูตรการคำนวณภาษีมาแล้วก็ลองแทนตัวเลขลงไปได้เลย ซึ่งเงินเดือนสามารถหักได้ 50% ของรายได้
แต่ได้ไม่เกิน 100,000 บาท (ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 42ทวิ) ส่วนการขายของออนไลน์สามารถหัก
ค่าใช้จ่ายได้สองแบบ คือแบบเหมาจ่าย 60% (เหมาะสำหรับกิจการแบบซื้อมาขายไป) และ แบบหักค่าใช้จ่าย
ที่เกิดขึ้นจริง (เหมาะสำหรับกิจการที่ผลิตเองขายเอง)

เราไม่ลืมเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มกันใช่มั้ย?
การขายสินค้ากับเรื่องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนี่เป็นของคู่กันจริงๆนะคะ หลายคนอาจสงสัยว่าหากมีรายได้เข้ามาเยอะ
เกิน 1,800,000 บาทต่อปีต้องจด VAT หรือไม่
หลักการง่ายๆจำได้ขึ้นใจ หากมีรายได้เข้ามาเกินล้านแปดเมื่อไหร่ต้องจด VAT อย่างแน่นอนค่ะ หากถามหา
เหตุผลว่าทำไมต้องจดตอบได้อย่างเดียวเลยคือ “กฎหมายกำหนดไว้ให้จด” เพราะถ้าเป็นการขายสินค้าหรือ
การให้บริการที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเกิน 1.8 ล้านบาทต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกรณีค่ะ



เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : มนุษย์เงินเดือน+ขายของออนไลน์ เสียภาษีอย่างไร? 

 

FaLang translation system by Faboba