ประเด็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีลูกค้าสั่งทำสินค้าตามรูปแบบ
โดย
14 January 2019 10:19 am
การผลิตสินค้าขาย
การรับจ้างผลิตสินค้า
1. ผู้ขายผลิตสินค้าขายอยู่แล้วเป็นปกติ ธุระ
1. ไม่ใช่ผู้ผลิตที่ขายเป็นปกติแต่รับจ้าง ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าเท่านั้น
2. แม้จะมีผู้ว่าจ้างได้ว่าจ้างให้ผู้ขายผลิต สินค้าที่มีรูปแบบ ขนาด แตกต่างจากที่ ผู้ขายผลิตขายอยู่แล้วเป็นปกติ
2. ถ้าไม่มีคำสั่งจ้างก็ไม่ได้ผลิตขาย
กรณีก็ยังคงถือว่าเป็นการผลิตสินค้าขาย ไม่อยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528ฯ
การรับจ้างผลิตสินค้าดังกล่าวถือเป็น การรับจ้างทำของอยู่ในบังคับต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากร ท.ป.4/2528ฯ
ผู้ประกอบการขายสินค้าเป็นปกติธุระ ต่อมาลูกค้าสั่งทำตามรูปแบบจุดสังเกตดูที่ "วัตถุดิบ" • วัตถุดิบเป็นของผู้ขาย ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย • วัตถุดิบเป็นของลูกค้า หัก ณ ที่จ่าย 3 % แม้ลูกค้าสั่งให้ทำแบบพิเศษในตัวสินค้า เช่น ใส่ชื่อ โลโก้ บริษัท ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย เพราะจุดมุ่งหมายคือ “สินค้า” ตัวอย่าง 1 บริษัท A เป็นผู้ประกอบการผลิตและส่งออกของเล่นพลาสติกเป็นปกติธุระ ได้รับการว่าจ้างจากลูกค้าให้ผลิต ของเล่นพลาสติกตามรูปแบบ โดยใช้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและลูกค้าได้จัดหาวัตถุดิบให้เพียงบางส่วน แต่ กระบวนการผลิตทั้งหมดยังเป็นเช่นเดียวกับการผลิตของเล่นพลาสติกที่บริษัทได้ผลิตจำหน่ายเป็นปกติธุระอยู่แล้ว ถือว่า บริษัทฯ กับลูกค้า มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้า มิใช่มุ่งในผลสำเร็จของงาน บริษัทจึงเป็นผู้ผลิตสินค้ามิใช่ผู้รับ จ้าง กรณีดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงิน ได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528ตัวอย่าง 2 บริษัท A เป็นผู้จำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยบริษัทฯไม่มีโรงงานในการผลิต จึงได้ว่าจ้างบริษัท B ซึ่งเป็น ผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายเป็นปกติธุระและบริษัท C ผู้รับจ้างทั่วไปซึ่งไม่ได้เป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปขายเป็น ปกติธุระให้ทำการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยผู้รับจ้างเป็นผู้จัดเตรียมผ้าที่ใช้ในการผลิตเองซึ่งเป็นผ้าที่ขายตามท้อง ตลาดทั่วไปแต่บริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผ้า และจัดส่งป้ายตรายี่ห้อและกระดุมอันเป็นเครื่องหมายทาง การค้าซึ่งไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไปเพื่อให้ผู้รับจ้างใช้ประกอบในการผลิต โดยบริษัท A จะเป็นผู้กำหนดรูปแบบ เสื้อผ้า ซึ่งผู้รับจ้างไม่มีสิทธินำรูปแบบของบริษัทฯไปใช้ในการผลิตขายเป็นการทั่วไป • กรณีบริษัท B ผู้รับจ้างผลิตสินค้าขายเป็นปกติธุระ ต่อมาได้รับจ้างผลิตสินค้าตามที่บริษัทฯกำหนด โดยใช้ วัตถุดิบของบริษัทผู้รับจ้าง มีเพียงป้าย ตรายี่ห้อและกระดุมที่บริษัท A ผู้ว่าจ้างส่งไปใช้ประกอบการผลิตเท่านั้น กรณี ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการขายสินค้า ไม่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพกรที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา40แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 • กรณีบริษัท C ผู้รับจ้างมิได้ผลิตสินค้าขายเป็นปกติธุระแต่รับจ้างผลิตสินค้าตามที่บริษัทฯกำหนด กรณี ดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ ตามมาตรา 587 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เมื่อบริษัทฯ จ่าย ค่าจ้างให้แก่ บริษัทผู้รับจ้างบริษัทฯ มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8(2) ของ คำสั่งกรมสรรพากรตัวอย่าง 3 บริษัท A ประกอบกิจการผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนพลาสติกเป็นปกติธุระ ได้รับคำสั่งซื้อแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูป จากบริษัท B ซึ่งบริษัท B จะกำหนดรูปแบบแม่พิมพ์ เพื่อใช้ในการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกตามแบบที่กำหนด แต่เนื่อง จากบริษัท A มิได้เป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์ จึงไปให้ บริษัท C ซึ่งเป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์ ผลิตแม่พิมพ์อีกทอดหนึ่ง การที่บริษัท B จ้างบริษัท A ให้ผลิตแม่พิมพ์สำหรับขึ้นรูปพลาสติกตามรูปแบบที่กำหนดดังกล่าวเป็นการมุ่งหวังผล สำเร็จของงานเป็นสำคัญเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของเมื่อบริษัท B จ่ายค่าจ้างทำของให้บริษัท A จึงมีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ตามข้อ 8 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528ฯ
เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ประเด็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีลูกค้าสั่งทำสินค้าตามรูปแบบ