เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

โดย

 


เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ใช้เป็นกฎหมายต่อไปโดย มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
วันที่ 1 มกราคม ปี 2563
เนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. มีสาระสำคัญเพื่อปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและ
ที่ดินและกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ จำนวน 12 ฉบับ ให้รวมเป็นฉบับเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ปัจจุบัน

ร่างกฎหมาย กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่สำคัญ คือ ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประกอบด้วย
1. ด้านเกษตรกรรม เก็บภาษีไม่เกิน 0.15 เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษีที่คำนวณได้จากราคาประเมิน
2. ที่อยู่อาศัย เก็บภาษีไม่เกิน 0.3 เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษี ทั้งนี้ร่างกฎหมายกำหนดบทยกเว้นมูลค่าฐานภาษีที่ 50
ล้านบาท โดยไม่ให้นำมาคำนวณการเก็บภาษี กรณีที่เป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และยกเว้น
มูลค่า ฐานภาษีที่ 10 ล้านบาท กรณีเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน
3. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น นอกจากทำเกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย ให้เก็บภาษี ไม่เกิน 1.2
เปอร์เซ็นต์ 
4. ที่ดินว่างเปล่า เก็บไม่เกิน 1.2เปอร์เซ็นต์ของฐานภาษี ทั้งนี้หากมีที่ดินว่างเปล่าไม่ใช้ประโยชน์ ติดต่อกัน 3 ปี
ให้เก็บภาษีในอัตรา 0.3เปอร์เซ็นต์ ในปีที่สี่และหากพบว่าไม่มีการใช้ประโยชน์ติดต่กันให้เพิ่มอัตราเก็บภาษี 0.3
เปอร์เซ็นต์ทุกๆ 3 ปี แต่รวมอัตราเก็บไม่เกิน 3 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ร่างกฎหมายยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินเพื่อเกษตร
กรรมหากมีมูลค่าของฐานภาษีรวมกันไม่เกิน 50 ล้านบาท

สำหรับการชำระภาษี 
กำหนดให้บุคคลชำระภาษีภายในเดือนพฤษภาคมของทุกปี และหากไม่ชำระตามเวลาต้องเสียค่าปรับจำนวน 40
เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่ค้างชำระ และหากไม่ชำระค่าภาษีค้างตามเวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์
ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ และให้ปัดเศษของเดือนเป็น 1 เดือน
และกำหนดให้ภายในเดือนมิถุนายน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งรายการภาษีค้างชำระกับหน่วยงานที่ดิน
สำหรับผู้ไม่ชำระภาษีตามกำหนดเวลา ต้องชำระค่าปรับและเงินเพิ่มภายใน 90 วันนับแต่มีหนังสือแจ้งเตือน แต่หาก
พ้นระยะเวลาดังกล่าวผู้เสียภาษีไม่ชำระภาษีคงค้าง ร่างกฎหมายกำหนดอำนาจให้ผู้บริหารท้องถิ่นออกคำสั่ง
เป็นหนังสือ ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีเพื่อนำเงินมาชำระภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
และค่าใช้จ่ายอื่น โดยไม่ต้องขอให้ศาลมีคำสั่ง
ร่างกฎหมายยังกำหนดบทว่าด้วยการคัดค้านและอุทธรณ์การประเมินภาษี เพื่อรับเรื่องพิจารณาข้อร้องเรียนจาก
ผู้ที่เรียกเก็บภาษีที่ไม่ถูกต้องด้วย
บทลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ประเมินและ
จัดเก็บภาษี โดยมีโทษทั้งจำคุกและปรับ

สำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยกเว้นจัดเก็บภาษี ได้แก่
• ทรัพย์สินของรัฐหรือหน่วยงานรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือกิจการสาธารณะ ที่ไม่ใช้เพื่อหาผลประโยชน์
• ทรัพย์สินขององค์การสหประชาชาติ
• ทรัพย์สินของสถานทูต หรือ สถานกงศุล
• สภากาชาดไทย
• ที่ดินศาสนสมบัติที่ไม่ได้ใช้เพื่อหาผลประโยชน์
• สุสานสาธารณะ
• มูลนิธิหรือองค์การกุศลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด
• ที่ดินเอกชนที่ยอมให้ราชการใช้เพื่อสาธารณะประโยชน์
• ทรัพย์สินส่วนกลางของอาคารชุด
• ที่ดินสาธารณูปโภคว่าด้วยกฎหมายจัดสรรที่ดิน
• ที่ดินนิคมอุตสาหกรรม
ในบทเฉพาะกาล ได้ระบุข้อยกเว้นใน 2 ปีแรก ให้ใช้อัตราเก็บภาษีที่ต่ำกว่าบทหลักกำหนด อาทิ ที่ดินและสิ่งปลูก
สร้างที่ใช้ในเกษตรกรรม มูลค่าที่ดินตามการประเมินภาษีไม่เกิน 75 ล้านบาท เก็บภาษี 0.01 เปอร์เซ็นต์, มูลค่า
ที่ดินตามการประเมินภาษีดินไม่เกิน 70 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท เก็บภาษี 0.03, สิ่งปลูกสร้างเพื่อ
ที่อยู่อาศัย มูลค่าไม่เกิน 25ล้านบาท ให้เก็บอัตรา 0.03, มูลค่าเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป เก็บ 0.01 เปอร์เซ็นต์

บทบรรเทาการชำระภาษีอัตราใหม่ที่สูงกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระในปีก่อนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ฉบับใหม่ ให้ผู้เสียภาษีชำระภาษีตามจำนวนที่ต้องเสียหรือพึงชำระปีก่อน ดังนี้
• ปีที่ 1 ชำระภาษี 25 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ
• ปีที่ 2 ชำระภาษี 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ
• ปีที่ 3 ชำระภาษี 75 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนภาษีที่เหลือ


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : เห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

 

FaLang translation system by Faboba