ค่าปรับจราจรลงรายจ่ายอย่างไร? ไม่ให้ถูกบวกกลับ

โดย

 


ในทางภาษีค่าปรับตามคำเปรียบเทียบของพนักงานสอบสวน เป็น ค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายจราจร
ทางบก
ซึ่งไม่ต้องห้ามสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้*
** มาตรา 65 ตรี (6) ประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560
เรื่อง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญา ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ตาม  ค่าปรับจราจรที่จะถือเป็นรายจ่ายของบริษัทได้นั้น  ต้องเป็นค่าปรับที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ
หรือในทางการที่จ้างเพื่อประกอบกิจการของบริษัทอย่างแท้จริง **
** รายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการ ไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) ประมวลรัษฎากร
เช่น บริษัทฯ ประกอบกิจการรับขนส่งด้วยรถบรรทุก ฝ่าฝืนเดินรถในเวลาห้าม เพราะต้องไปส่งสินค้าที่ท่าเรือ
ก่อนเรือจะออก
โดย นำใบเสร็จรับเงินค่าปรับที่พนักงานสอบสวน ออกให้ในชื่อบริษัทเป็นหลักฐานในการลงรายจ่าย

กรณี พนักงานสอบสวนออกใบเสร็จฯ ค่าปรับในชื่อพนักงานฯ บริษัทสามารถลงรายจ่ายได้โดยใช้แบบ
“คำขอเบิกเงิน”  ในการยื่นคำขอคืนค่าปรับจากบริษัท แนบกับใบเสร็จฯค่าปรับ
ทั้งนี้ ต้องมีการระบุชัดเจนในระเบียบข้อบังคับบริษัทว่า ในการปฏิบัติงานของบริษัท ค่าปรับเนื่องจากกฎหมาย
จราจร บริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายค่าปรับแทนพนักงาน

ส่วนค่าปรับทางอาญาตามประมวลรัษฎากร ค่าปรับศุลกากร ค่าปรับสรรพสามิต ถือ เป็นรายจ่ายต้อง
ห้าม
**
** มาตรา 65 ตรี (6) ประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560
เรื่อง เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญา ตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากร


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ค่าปรับจราจรลงรายจ่ายอย่างไร? ไม่ให้ถูกบวกกลับ

 

FaLang translation system by Faboba