3 ปัญหา การหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถยนต์ ตอนที่ 3

โดย

 


กรณีบริการ
มีการบริการอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง
เช่น ขนส่ง + บริการ

ผู้จ่าย มีหน้าที่
หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

ตัวอย่าง
ความแตกต่างระหว่าง ขนส่ง กับ บริการ

ตัวอย่างกรณีขนส่ง
บริษัท A ประกอบกิจการขนส่งสินค้าโดยรับขนส่งสินค้าจาก บริษัท B ไปยังบริษัท C โดยไม่มีการให้บริการใดเพิ่มเติม
เป็นการขนส่ง หักภาษี ณ ที่จ่าย 1%

ตัวอย่างกรณีบริการ
บริษัท A ประกอบกิจการขนส่งสินค้า เป็นปกติธุระเป็นส่วนใหญ่มีการบริการชิปปิ้งและมีการให้บริการขนส่งสินค้าให้แก่
ลูกค้าด้วย เป็นการบริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

อ้างอิง : คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. 4/2528
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528

ตัวอย่าง 1
บริษัท A ทำสัญญากับโรงงาน รับจ้างเหมาจัดส่งพนักงาน และรับ – ส่งเอกสาร
ซึ่งบริษัทต้องส่งพนักงานจำนวน 3 คนพร้อมรถจักรยานยนต์จำนวน 3 คัน ไปปฏิบัติงานประจำ ณ โรงงาน เพื่อรับ – ส่ง
เอกสารของหน่วยงาน โดยโรงงานจะชำระค่าจ้างหลังผู้รับจ้างวางใบเรียกเก็บเงินและกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับงาน
เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ในสัญญาระบุว่าบริษัท A ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งยังต้องรับผิดต่ออุปัทวเหตุ ความเสียหายหรือ
ภยันตรายใดๆอันเกิดจากการปฏิบัติงานและความเสียหายจากการกระทำของพนักงานของบริษัท
กรณีดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการขนส่งเพราะสัญญามีวัตถุประสงค์เพื่อผลสำเร็จของงานอันเป็นเงินได้จากการจ้างทำของ
จึงเข้าลักษณะเป็นการให้บริการ ผู้จ่ายมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

อ้างอิง : กค 0702/พ./5696 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2555 

ตัวอย่าง 2
บริษัทประกอบกิจการให้บริการขนถ่ายสินค้าในท่าเรือ และให้บริการยกขนตู้สินค้าขึ้น – ลงเรือลำเลียง ในบริเวณท่าเรืออีกทั้ง
ให้บริการเคลนยกตู้สินค้าด้วย เข้าลักษณะเป็นการให้บริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

อ้างอิง : กค 0706/พ./9815 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 

ตัวอย่าง 3
บริษัทรับจ้างขนส่งถมดินและต้องมีการเกลี่ยปรับให้เรียบร้อย ตามที่ผู้ว่าจ้างกำหนด โดยรวมค่าขนส่งถมดินและค่าเกลี่ยปรับ
ดินเป็นยอดเดียวกัน สัญญาดังกล่าวจึงมุ่งที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อผลสำเร็จของงาน จึงเป็นสัญญาจ้างทำของเข้าลักษณะ
เป็นการให้บริการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
* แม้จะเก็บค่าขนส่งแยกรายการออกมาต่างหากก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างทำของ

อ้างอิง : กค 0802/พ./24136 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2538 



เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ :  3 ปัญหา การหัก ณ ที่จ่าย กรณีจ้างรถยนต์

 

 

FaLang translation system by Faboba