LABOUR LAW 4.0 กฎหมายแรงงาน ยุค 4.0 เพื่อปรับใช้ในการปฏิบัติงานภายในองค์กร (31 ต.ค. 60)

โดย

 


LABOUR LAW 4.0 กฎหมายแรงงาน ยุค 4.0
เพื่อปรับใช้ในการปฏิบัติงานภายในองค์กร

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

 
 
  • สิ่งสำคัญสำหรับองค์กรที่จะก้าวสู่ยุค 4.0 ผู้นำองค์กรต้องมีความ จำเป็นอย่างยิ่งในการผสมผสานพนักงาน 2 กลุ่มคือ Digital Immigrant คือ กลุ่มที่ไม่ได้เกิดและเติบโตมาพร้อมๆ กับเทคโนโลยี แบบ Digital และอีกกลุ่มคือ Digital Native คือ พนักงานที่อายุต่ำ กว่า 35 ลงไป ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับยุค Digital ซึ่งทุกสถานประกอบ การจะต้องมีคน 2 กลุ่มนี้ทำงานร่วมกัน

  • การนำและใช้กฎหมายแรงงานกับการบริหารในแบบ 4.0 จึงต้องเน้นความรวดเร็ว ยืดหยุ่น สร้าง สรรค์แม่นยำ เข้าใจการนำไปใช้สามารถอ้างอิงสอบกลับที่มาที่ไปได้ชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะการ ใช้ Big Dataให้เป็นประโยชน์และคุ้มค่า

  • กฎหมายมีการปรับเปลี่ยนขับเคลื่อนไวขึ้น กฎหมายต่างๆ มีความเชื่อมโยงระหว่างกันมากขึ้น รูปแบบทางหนีทีไล่ของลูกจ้างมีหลาก หลายช่องทาง มีมิติที่ซับซ้อนมากขึ้น หากไม่เตรียมรับมือในยุค 4.0 องค์กรของท่านอาจพบว่าสิ่งที่เป็นระเบียบ นโยบาย วิธีปฏิบัติ กฎข้อบังคับการทำงานที่มีอยู่อาจล้าสมัยไม่รองรับกฎหมายแรงงาน 4.0 อีกต่อไปแล้วก็เป็นได้เมื่อถึงตอนนั้นท่านจะไม่สามารถ บริหารจัดการลูกจ้างของท่านให้ปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานได้เลย

  วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา

  1. กฎหมายแรงงาน ยุค 4.0 แนวคิดพื้นฐาน และการนำจิ๊กซอว์การบริหาร ภายในองค์กร (HRM ,HRD, OD ,Management System,Strategic Plan ,Policy เป็นต้น) มาเชื่อมโยงกับกฎหมายว่าด้วยแรงงานเพื่อนำไป ปรับใช้ในทางปฏิบัติภายในองค์กร

  2. สภาพการจ้าง และ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคืออะไร ไม่ปฏิบัติตามได้หรือไม่ 
  • มีโทษทางอาญาถึงจำคุกด้วยหรือไม่ 
  • เราสามารถนำสภาพการจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่างๆ มาลงไว้ ในระบบ Intranetสื่ออิเล็คทรอนิคส์ขององค์กรเพื่อการสื่อสาร และให้ลูกจ้าง เข้าถึงข้อมูลรวมถึงสามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์สวัสดิการของตนเองได้ หรือไม่ มีขอบเขตการจัดการอย่างไร? 
  • ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน, คู่มือสวัสดิการ, คู่มือพนักงาน Work Instructions, Job Description, ประกาศ, คำสั่ง แนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคล ฯลฯ

  3. ภาษาที่ใช้สื่อสาร ทำข้อตกลง สัญญาจ้างต้องใช้ภาษาใด? หากมีการจ้างลูกจ้าง ต่างด้าวจะทำอย่างไร? 

  4. การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำได้หรือไม่เพียงใด 
  • ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และประเภทใดไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้เลย 
  • ในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง สามารถประกาศผ่าน website Intranet Internet SocialNetwork ต่างๆ เช่น Line Facebook Instagram เป็นต้น ได้หรือไม่

  5. สิทธิฝ่ายจัดการสำคัญอย่างไร? ในการบริหารจัดการ ศาลรับรองอำนาจนายจ้าง หรือสิทธิฝ่ายจัดการแค่ไหน 
  • นายจ้างสามารถนำนโยบาย คำสั่งทางการบริหาร ประกาศที่นายจ้างกำหนด ขึ้นชี้แจง และเวียนให้ลูกจ้างทราบทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำได้หรือไม่

  6. สัญญาจ้างแรงงานแต่ละประเภทการจ้าง หากมีการนำและใช้โปรแกรมสำเร็จรูปใน การจ้างแรงงานแต่ละประเภท โดยให้ดึงข้อมูลเชื่อมโยงกับการสมัครงาน (ราย ละเอียดและข้อมูลผู้สมัคร) การสัมภาษณ์ผลการสัมภาษณ์การประเมินผลทดลอง งาน เอกสารข้อมูลประวัติลูกจ้างที่สแกนไว้ในระบบอิเล็คทรอนิกส์มีผลทาง กฎหมายหรือไม่อย่างไร? และใช้ในศาลแรงงาน ทำให้ศาลเชื่อและรับฟังพยาน หลักฐานได้หรือไม่ 

  7. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างในกรณีต่างๆ เช่น เลิกจ้าง ลาออก ปลดออก ไล่ออกฯ ระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้จะต้องใช้ แบบฟอร์ม (เอกสาร) ในรูปแบบที่นายจ้างกำหนดเท่านั้น 
  • กรณีลูกจ้างลาออกโดยการส่งข้อความผ่านทาง Line โพสต์บน Facebook หรือ Facebook Messenger ไปยังผู้บังคับบัญชา มีผลบังคับใช้ได้หรือไม่ 
 • การเลิกสัญญา จำเป็นต้องออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ถ้ามีความ จำเป็นจะส่งหนังสือเลิกสัญญาจ้างไปทางอีเมล์หรือแนบใน Line หรือ Facebook Messenger ได้หรือไม่ มีผลตามกฎหมายแรงงานอย่างไร?

  8. วันหยุด (วันหยุดตามประเพณีวันหยุดประจำสัปดาห์) วันลาที่กฎหมายกำหนด และที่นายจ้างกำหนดให้นอกเหนือกฎหมายแรงงานนั้น นายจ้างสามารถกำหนด หลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการได้โดยอิสระ ซึ่งในการขออนุญาตหยุดหรือลางานของ ลูกจ้าง การให้ความเห็นชอบ 
  • ประเด็นการลาผ่าน E-mail, Line (ส่วนตัว, กลุ่ม), SMS, ลา On line, ทางโทรศัพท์, บอกเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่ได้บอกหัวหน้างาน มีผลอย่างไร? 
  • กรณีไม่ให้พนักงานใช้สิทธิลา สามารถทำได้หรือไม่และมีผลทางกฎหมาย อย่างไร? 
  • การลาที่หัวหน้าไม่เซ็นอนุมัติถือว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 
  • การอนุมัติการหยุด/ลาของนายจ้างในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ Software ที่นายจ้างนำมาใช้นั้น มีผลทางกฎหมายหรือไม่เพียงใด จำเป็นต้อง ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือไม่ 
  • หากโปรแกรมกำหนดให้ผู้อนุมัติมีมากกว่า 1 คน จะถือผลการอนุมัติของใครจึง สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน

  9. การบอกกล่าวล่วงหน้าผ่าน Smart Phone และสื่อสังคมออนไลน์มีวิธีการ อย่างไร ที่กฎหมายแรงงานให้การรับรอง และถือเป็นการบอกกล่าวเป็น หนังสือ (ลายลักษณ์อักษร) หรือไม่อย่างไร 

  10.ข้อยกว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายชดเชย และ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วยนั้นคืออะไร 

  11.ประเด็นเกี่ยวกับวินัยลงโทษของพนักงาน กรณีให้ Social Media ในรูป แบบต่างๆ กรณีลูกจ้าง Check in หรือโพสต์ข้อความต่างๆ มีผลอย่างไร? 
  • แสดงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม 
  • ตำหนิด่าทอบริษัท หัวหน้างาน เพื่อร่วมงาน 
  • ใช้ข้อความไม่สุภาพ 
  • ทะเลาะวิวาทผ่าน Social Media

  12.Hardware Software ระบบบันทึกเวลาการทำงาน สถิติการหยุด การลา งาน การนำกล้องวงจรปิดมาใช้ในการบริหารจัดการ กฎหมายแรงงาน อนุญาตให้ทำได้แค่ไหนเพียงใดที่ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดย ไม่เลือกปฏิบัติ 

  13.การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรวจสอบการกระทำความผิดทางวินัย และใช้ในการลงโทษทางวินัยลูกจ้างนั้นทำได้หรือไม่เพียงใด 

  14.การดึงข้อมูลลูกจ้างจากอีเมล์ขององค์กรมาใช้ในการสอบสวนการกระ ทำความผิดและตรวจจับพฤติกรรมลูกจ้างสามารถทำได้หรือไม่ 

  15.การนำอุปกรณ์บันทึกเสียงและภาพมาใช้ในการสอบสวนทางวินัย การมา ปฏิบัติงาน การขาดงานเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้างหรือ ไม่เพียงใด สามารถทำได้หรือไม่ 

  16.การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ลูกจ้างเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมิน ทัศนคติประเมินจรรยาบรรณ และค้นหาแนวโน้มการกระทำความผิด สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่มีขอบเขตในการพิจารณาการนำมาใช้โดยไม่เกิด ปัญหาแรงงานและถูกต้องตามกฎหมายแรงงานอย่างไรบ้าง 

  17.การแจ้งสภาพการจ้าง สิทธิประโยชน์สวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าจ้าง ค่า ตอบแทน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด โบนัส ฯลฯ กรณีแจ้งผ่าน Smart Phone หรือ Application ที่นายจ้างกำหนด โดยให้ Log in เข้าไปตรวจสอบความเคลื่อนไหวสำหรับสภาพการจ้างต่างๆ ของลูกจ้าง ด้วยตนเอง โดยไม่ใช้ Slip เงินเดือนทำได้หรือไม่อย่างไร 

  18.การเข้าถึงข้อมูลโดยลูกจ้างแต่ละคนสามารถตรวจสอบแบบ Real time สำหรับ สถิติการมาทำงาน การหยุดงาน ขาดงาน ลางาน ผลการประเมิน สถิติทางวินัย/การลงโทษ ฯลฯ ของตนเองได้นั้น มีผลทางกฎหมายหรือไม่ เพียงใด ใช้อ้างอิงเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมตามมาตรา 14/1 ของ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานได้หรือไม่ 

  19.หนังสือรับรองการผ่านงานนายจ้างออกให้และส่งไปทางอีเมล์หรือ Social Network ที่ลูกจ้างมีอยู่ถือว่าเป็นการออกใบสำคัญแสดงการทำงานตาม กฎหมายแล้วหรือไม่

  20.ท่านถาม อาจารย์ตอบ


กำหนดการอบรม


อังคารที่ 31 ตุลาคม 2560
เวลา 09.00-16.00 น.


โรงแรม สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด

อัตราค่าสัมมนา


สมาชิกวารสารธรรมนิติ (Tax/HR)

3,745 บาท
(รวม Vat)


 
บุคคลทั่วไป
4,494 บาท (รวม Vat) 


จองอบรมหลักสูตรนี้ »

 

ภาษีอากร | การบัญชี-การเงิน | หลักสูตรราคาพิเศษ | ทรัพยากรมนุษย์-กฎหมายแรงงาน | บริหารจัดการ-กฎหมายธุรกิจ
Telephone (02) 555-0700 Press 1 or (02) 556-0600 Fax (02) 556-1611
Copyright © 2013 Dharmniti Seminar and Training Co., Ltd. | All Rights Reserved.
 
FaLang translation system by Faboba