บันไดความสำเร็จของวิชาชีพกับการเป็น CFO และสมุห์บัญชี

โดย

 


หลายท่านคงเคยได้ยินและรู้จักกับคำว่า “ CFO” กับ “สมุห์บัญชี” มาแล้ว จากที่ต่าง ๆ แต่ใครจะรู้ว่าตำแหน่ง 2 ตำแหน่งนี้ช่างมีความแตกต่างกันด้วยหน้าที่และความรับชอบ โดยจะเห็นได้ว่า สำนักงาน ก.ล.ต.  ได้มีการออกมากำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน (CFO) และสมุห์บัญชีของบริษัทที่ขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (บริษัท IPO) โดยได้ดำเนินการออกประกาศ เรื่อง “หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติ CFO และสมุห์บัญชีของบริษัทจดทะเบียน” ซึ่งประกาศฉบับนี้ได้คุมเข้มบุคคลผู้ที่จะมาทำหน้าที่เป็น CFO และสมุห์บัญชีของบริษัท IPO โดยสรุปสาระสำคัญของประกาศไว้ดังนี้

คำนิยาม “CFO”หมายถึง ผู้ดำรงตำแหน่งบริหารต่อจกกผู้จัดการลงมาที่รับผิดชอบสูงสุดในสายงานบัญชีและการเงินของผู้ขออนุญาต

คำนิยาม“สมุห์บัญชี”หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้ขออนุญาตซึ่งดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสำยงานบัญชีที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า

คุณสมบัติ CFO และสมุห์บัญชี


ความรู้ทางด้านบัญชี ประสบการณ์ทำงาน การเปิดเผยข้อมูล
 CFO
 • จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
 • การเข้าอบรม
 - อบรมหลักสูตร orientation ไม่น้อย
 กว่า 12 ชั่วโมงต่อปี (ครั้งแรก)
 - ปีต่อมา เข้าอบรมเพื่อ Update
 ความรู้ทางบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
 สมุห์บัญชี
 • จบปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านบัญชี
 • อบรมเพื่อ Update ความรู้ด้านบัญชี
 ไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อปี
 • เป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการ
 บัญชี



 CFO
 • ประสบการณ์ทำงานด้านบัญชีหรือ
 การเงินไม่น้อยกว่า 3 ปีภายใน
 ระยะเวลา 5 ปีล่าสุด หรือ ด้านใดก็ได้
 ไม่น้อยกว่า 5 ปี ภายในระยะเวลา 7 ปี
 ล่าสุด
 • ดำรงตำแหน่ง CFO ในบริษัทอย่าง
 น้อย 1 ปี (บริษัทต้องมีสมุห์บัญชีและ
 บุคลากรสายงานบัญชีที่มีความรู้ ความ
 สามารถ เข้าใจระบบบัญชีซึ่งปฏิบัติงาน
 อย่างต่อเนื่อง และผ่านการจัดทำและนำ
 นำส่งงบการเงินมาอย่างน้อยงวดล่าสุด
 ได้ถูกต้องและทันตามกำหนด)
 สมุห์บัญชี
 • ประสบการณ์ทำงานด้านบัญชีไม่น้อย
 กว่า 3 ปี ภายในระยะเวลา 5 ปี ล่าสุด
 กำหนดให้ CFO และสมุห์บัญชี
 ต้องเปิดเผยในเรื่องต่อไปนี้
 • ประวัติการศึกษา
 • ประสบการณ์ทำงาน
 • ประวัติการเข้าอบรม
 • เป็นผู้ทำบัญชี (กรณีสมุห์บัญชี)












ในส่วนของหลักสูตรอบรมที่ CFO และสมุห์บัญชีต้องเข้าอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านบัญชี เป็นประจำทุกปีนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะอ้างอิงกับหลักสูตรที่เป็นไปตามหลักการและเงื่อนไขตามที่สำนักงานฯ กำหนด อาทิเช่น

หลักสูตรที่สามารถนับชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชีตามที่สภาวิชาชีพประกาศกำหนด เช่น หลักสูตร CPD สำหรับผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชีด้านบัญชี  เป็นต้น

หลักสูตรที่มีเนื้อหาทางด้านบัญชีตามที่บริษัทเห็นสมควร เช่น หลักสูตรมาตรฐานการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนแบบ In-House Training ,หลักสูตร CFO ที่จัดโดยหน่วยงานอื่น เช่น สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย หรือ บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาธรรมนิติ จำกัด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการอบรมพัฒนาความรู้ต่อเนื่อง

โดยประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับบริษัท IPO ที่ยื่นคำขออนุญาตต่อสำนักงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป


บัญชี : CPD NEWS : MR.CPD
วารสาร : CPD&ACCOUNT สิงหาคม 2560
FaLang translation system by Faboba