e-Tax Invoice & e-Receipt การจัดทำ ส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (21 ก.ค. 60)
โดย
e-Tax Invoice & e-Receipt การจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
|
≡ หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
|
|
ผู้ทำบัญชี |
อื่นๆ รอ ชม. |
ผู้สอบบัญชี |
อื่นๆ รอ ชม. |
|
|
e-Tax Invoice & e-Receipt การจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์
ด่วน!!! ระเบียบปฏิบัติสรรพากรใหม่ มิถุนายน 2560
วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษีอากร และระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
หัวข้อสัมมนา
1. ความหมายของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบกรมสรรพากร มิถุนายน 2560 2. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ มีผลบังคับใช้เมื่อใด 3. คุณสมบัติของผู้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการใดบ้าง 3.1 ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทุกประเภท/ทุกขนาดหรือไม่ สามารถเลือกไม่เข้าระบบได้หรือไม่ 3.2 หน่วยงานของรัฐแห่งใดบ้างที่ต้องเข้าระบบ
4. กระบวนการยื่นคำขอเป็นผู้จัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 4.1 เอกสารในการยื่นคำขอ 4.2 การยื่นแบบ บ.อ.01 ต้องยื่นเป็นเอกสารด้วยมือ หรือยื่นผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 4.3 การกำหนด e-mail Address 4.4 การกำหนดบัญชีผู้ใช้งาน (User ID) และรหัสผ่าน (Password) โดยสรรพากร 4.5 การยืนยันตัวตนผ่านใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certificate Authority) ต้องดำเนินการอย่างไร
5. การจัดทำ รูปแบบ และรายการของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 5.1 การเตรียมความพร้อมของระบบ Hardware และ Software 5.2 การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูล - System Flowchart แสดงการทำงานของระบบงาน - รายงานการแก้ไขรายการ - ระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ใช้ระบบ - การตั้งรหัสผ่านในการเข้าใช้ระบบงาน - รายงานบันทึกการใช้ระบบงาน - การควบคุมแฟ้มข้อมูล 5.3 ข้อความสำคัญที่ต้องมีในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 5.4 การสร้างลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) - ระบบคู่กุญแจ (Key Pair) กุญแจส่วนตัว(Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ของผู้ลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร และสามารถรักษาความลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไรบ้าง 5.5 ผู้ให้บริการ (Service Provider) ใดบ้างที่สามารถเป็นตัวแทนในการจัดทำ ส่งมอบ เก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ อย่างถูกต้องตามมาตรฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยที่สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด 6. เงื่อนไขการจัดทำ และยกเลิกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง (ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้) 7. ขั้นตอน และหลักเกณฑ์การส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 86 และ105 แห่งประมวลรัษฎากร
8. เงื่อนไขการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร 8.1 ส่งเมื่อใด 8.2 ต้องลงลายมือชื่อดิจิทัลหรือไม่ 8.3 ส่งเป็นรายเดือน หรือรายปี 8.4 ขั้นตอนการ Upload 8.5 การจัดเตรียมข้อมูลและรูปแบบไฟล์ที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้ได้ 8.6 เงื่อนไขการส่งผ่านช่องทางเชื่อมต่อแบบ Host to Host
9. วิธีการเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ออกและผู้รับ
10. ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องจัดทำรายงานภาษีอย่างไร และกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องส่งมอบรายงานภาษีต่อกรมสรรพากร
11. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ - ผู้ประกอบการที่จัดทำใบกำกับภาษีในรูปแบบ e-tax invoice by e-mail อยู่แล้ว จำเป็นต้องยื่นคำขอเข้าระบบอีกหรือไม่ - ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยหรือไม่ - หากเลขที่ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ไม่เรียงกันจะมีปัญหาหรือไม่ - กรณีระบุชื่อ-ที่อยู่ลูกค้าในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผิดจะแก้ไขอย่างไร - ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการต้องจัดทำสำเนาใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้ด้วยหรือไม่ อย่างไร - ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ สามารถออกใบกำกับภาษีทั้งแบบออกจากคอมพิวเตอร์จากโรงพิมพ์และออกจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่ - ผู้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สามารถกำหนดให้มีรายการอื่นในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์นอกจากรายการที่เป็นสาระสำคัญ ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรได้หรือไม่ - หากออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผิด การออกใหม่จะต้องระบุวันที่เดิมหรือวันที่ใหม่ และจะมีผลต่อจุด Tax point หรือไม่ - ผู้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ส่งมอบให้ผู้รับโดยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวหรือไม่ - หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่ได้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะต้องดำเนินการอย่างไร - หากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์สูญหาย ทั้งผู้ออกและผู้รับมีวิธีปฏิบัติอย่างไร - ผู้ออกและผู้รับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องเก็บรักษาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียวหรือไม่ - กรณีแต่งตั้งตัวแทนในการจัดทำใบกำกับภาษีตัวแทนต้องเป็นผู้นำส่งรายงานภาษีด้วยหรือไม่ - ต้องทำรายงานภาษีอย่างไร หากมีการจัดทำใบกำกับภาษีทั้งแบบเอกสารและแบบอิเล็กทรอนิกส์ - เมื่อมีการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ต้องระบุข้อความสำคัญในการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่และระบุหมายเหตุไว้ในรายงานภาษีขายอย่างไร - หากต้องการยกเลิกการเป็นผู้จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำได้หรือไม่ มีขั้นตอนอย่างไร และจะส่งผลกระทบ กับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ก่อนยกเลิกหรือไม่
12. คุณธรรม และจริยธรรม ของผู้ประกอบชีพบัญชี
|
|
|
กำหนดการอบรม |
รุ่นที่ 1 21 กรกฎาคม 2560 โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอคองคอร์ด เวลา 09.00-16.30 น. รุ่นที่ 2 26 กรกฎาคม 2560 โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์ เวลา 09.00-16.30 น
|
|
อัตราค่าสัมมนา |
สมาชิกวารสารธรรมนิติ (Tax/HR) 4,066 บาท (รวม Vat)
บุคคลทั่วไป 4,815 บาท (รวม Vat)
|
|
|
|
|
|
|
ภาษีอากร | การบัญชี-การเงิน | หลักสูตรราคาพิเศษ | ทรัพยากรมนุษย์-กฎหมายแรงงาน | บริหารจัดการ-กฎหมายธุรกิจ Telephone (02) 555-0700 Press 1 or (02) 556-0600 Fax (02) 556-1611 Copyright © 2013 Dharmniti Seminar and Training Co., Ltd. | All Rights Reserved. |
|