ในการบริหารองค์กร นอกจากผู้บริหารงานด้านทุนมนุษย์จะต้องมีประสบการณ์และมีองค์ความรู้ด้านกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ผู้บริหารที่เป็นระดับมืออาชีพจะต้องศึกษาแนวคำพิพากษาศาลฎีกา เพราะ คำพิพากษาฎีกาเหล่านั้น สามารถนำมาเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยในแต่ละปีที่ผ่านได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินเกี่ยวกับคดีแรงงานเรื่องสำคัญๆ
• คำพิพากษาฎีกา คดีแรงงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น • วิเคราะห์ : ประเด็น ต่อ ประเด็น บรรทัด ต่อ บรรทัด ของคำพิพากษาเพื่อให้รู้ที่มาของคดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยนำหลักกฎหมายเข้ามาพิจารณา • กรณีความรับผิดของผู้ใช้แรงงานภายนอก ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 11 การกำหนดเวลาทำงานเกินวันละ 8 ชั่วโมง เช่น ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง 45 นาที จันทร์ถึงศุกร์ หรือทำงานวันละ 12 ชั่วโมง 4 วัน หยุด 3 วันทำได้หรือไม่ • อย่างไร? ถือเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการ อย่างไร? ลูกจ้างหรือครอบครัวได้รับผลกระทบสำคัญจากการย้าย ตามมาตรา 120 ฯลฯ
วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
หัวข้อสัมมนา
• ข้อตกลงห้ามค้าแข่งขณะทำงานและหลังออกจากงานกรณีใดทำได้ทำไม่ได้ • ความรับผิดผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานภายนอก ตามมาตรา 11/1 • กำหนดเวลาทำงานเกินกว่าวันละ 8 ชั่วโมงได้หรือไม่ • ข้อกำหนดให้ลูกจ้าง มี Body Mass Index และค่าวัดรอบเอวตามเกณฑ์ที่กำหนด (ห้ามอ้วน) ทำได้จริงหรือ • หลักเกณฑ์การออกคำสั่งและกำหนดวินัยของลูกจ้างนอกสถานประกอบการและนอกเวลางาน • ยื่นใบลาออกแล้วถอนได้ในกรณีใด • ตกลงบอกกล่าวล่วงหน้านานเกิน 1 งวดการจ่ายค่าจ้างทำได้หรือไม่ • สัญญาจ้างมีกำหนดเวลาแน่นอน แต่เลิกจ้างก่อนครบกำหนดต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ • วิธีการคำนวณสินจ้างหรือค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า • การจ่ายค่าชดเชยกรณีลูกจ้างได้รับเงินเดือนและค่าจ้างตามผลงานซึ่งแต่ละเดือนได้ไม่เท่ากัน จะ คำนวณอย่างไร • หลักเกณฑ์ที่ถือเป็นการย้ายสถานประกอบกิจการ และลูกจ้างหรือครอบครัวได้รับผลกระทบ สำคัญตามมาตรา 120 ย้ายสถานประกอบการนานกว่า 2 ปียังเป็นการย้ายหรือไม่
|