เคลียร์ 42 จุด....ก่อนยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบมืออาชีพ (16 พ.ค. 60)
โดย
เคลียร์ 42 จุด....ก่อนยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลแบบมืออาชีพ
|
≡ หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
|
|
* Update กฎหมายใหม่และสิทธิประโยชน์ที่ต้องทราบเพื่อปรับปรุง * กิจการที่ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล * ประเด็นปัญหาในการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิทางภาษี * Update สิทธิประโยชน์ทางภาษีจ่าย 1 ได้ 2 และมติ ครม. การขยายเวลาในการซื้อทรัพย์สินเพื่อการลงทุนให้หักได้ 1.5 เท่า
วิทยากร อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
หัวข้อสัมมนา
1. แนวคิดทางบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน 2. งบการเงินจะสะท้อนให้เป็นประเด็นความผิดพลาดอะไรได้บ้าง 3. งบการเงินที่ต้องจัดทำตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ประเด็นที่เปลี่ยนแปลงในการจัดทำและเปิดเผยงบการเงิน มาตรฐานการบัญชีและภาษีมองอย่างไร 4. การรับรู้รายได้และรายจ่ายที่ต้องคำนวณกำไรสุทธิ 5. ปัญหาการรับรู้รายได้คาบเกี่ยวรอบระยะเวลาบัญชี - รายได้และการรับรู้รายได้ของกิจการขายสินค้าและให้บริการ - รายได้จาการนำเข้าและการส่งออกสินค้า - รายได้อื่นประเด็นผิดพลาดที่เสียภาษีไม่ครบถ้วน - การส่งของตัวอย่างไปให้ลูกค้าในแต่ละประเทศต้องรับรู้เป็นรายได้หรือไม่ - ทรัยพ์สินเสียหายได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจะประกันภัยจะรับรู้ในรอบบัญชีใด - รายได้ที่มักถูกสรรพากรประเมินและลืมบวกกลับ 6. การเครดิตภาษีปลายปีหากิจการขาดทุนจะต้องปฏิบัติอย่างไร และผลขาดทุนสะสมต้องปฏิบัติอย่างไร 7. รายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือเป็นรายได้แต่ะทางภาษีถือเป็นรายได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร - ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกรรมการ พนักงาน บริษัทในเครือ 8. กิจการได้รับเงินประกัน เงินจอง เงินล่วงหน้า จะต้องนำมาถือเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนหรือไม่ 9. อะไรคือประโยชน์ที่คำนวณได้เป็นเงินที่มักจะถูกสรรพาประเมิน ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม 10. รายได้เงินปันผลที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง 11. การให้ส่วนลดแก่ลูกค้าต้องนำมาถือเป็นรายได้หรือไม่ และมีส่วนลดอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้น 12. การขอเงินหรือของขวัญจากคู่ค้านำมาแจกพนักงานต้องถือเป็นเงินได้และต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่และผู้ให้ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ 13. การขายรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะคำนวณกำไรหรือขาดทุนทางบัญชีและภาษีอย่างไรจึงจะถูกต้องไม่ถูกสรรพากรประเมิน 14. เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จะต้องใช้อัตราใดแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย 15. ให้กู้ยืมอย่างไรไม่ต้องคิดดอกเบี้ย และถือเป็นเหตอันสมควรไม่ถูกประเมิน 16. ค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ค่าใช้จ่ายต้องห้าม และค่าใช้จ่ายที่ได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น 17. ในกรณีมีส่วนสูญเสียและเศษซากในกระบวนการผลิตจะปฏิบัติอย่างให้สรรพากรยอมรับ และไม่ถูกประเมินจะต้องทำเอกสารอะไรประกอบกิจการพิจารณา ต้องถือเป็นรายได้หรือไม่ 18. รายจ่ายเกี่ยวกับพนักงานอย่างไรเป็นรายจ่ายต้องห้าม อย่างไรถือเป็นรายจ่ายได้ 19. เงินช่วยเหลือพนักงานเมื่อพนักงานแต่งงาน วันเกิด เสียชีวิต ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ 20. ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ จะถือเป็นรายจ่ายในรอบบัญชีใด หากใบกำกับภาษีที่ได้รับเป็นชื่อเจ้าของอาคารไม่ใช่ชื่อของผู้จ่ายเงิน (ผู้เช่า) จะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่และประเด็นภาษี หัก ณ ที่จ่าย 21. ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเดินทาง ค่าที่พัก จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้ต้องมีเอกสารหลักฐานใด และต้องถือเป็นเงินได้ของพนักงานได้หรือไม่ 22. อย่างไรถือเป็นค่าขนส่งและค่าขนส่งรวมกับขายสินค้า และค่าขนส่งรวมกับบริการ จะต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ 23. ให้เช่ารถกับข้างรถขนส่ง จะต้องหักภาษีอย่างไรและมีผลต่อภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ 24. ค่าซ่อมกับรายจ่ายในการปรับปรุงทรัพย์สิน จะถือเป็นทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่ายมีวิธีพิจารณาอย่างไร 25. กู้เงินเพื่อซื้อทรัพย์สิน ดอกเบี้ยเงินกู้จะถือเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนของทรัพย์สินมีหลักเกณฑ์อย่างไร 26. ซื้อกระเช้าปีใหม่ให้ลูกค้าภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ และจะถือเป็นรายได้ประเภทใดและภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง 27. ข้อแตกต่างระหว่างการส่งเสริมการขายกับค่ารับรองและผลกระทบทางภาษีอากร 28. ค่าโฆษณากับค่าบริการโฆษณาจะต้องหักภาษีอย่างไร และการจ่ายค่าโฆษณาผ่านตัวแทน 29. รายจ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากที่จ่ายจริง สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีผลต่อกำไรสุทธิของกิจการ 30. หนี้สงสัยจะสูญจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำสุทธิหรือ มีหลักเกณฑ์ตัดหนี้สูญอย่างไรตามประมวลรัษฎากร 31. การหักค่าสึกหรือและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร 32. หลักเกณฑ์ใหม่การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารไม่เกิน 10 คน 33. สิทธิประโยชน์การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคเพื่อให้บริษัทได้ถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น กิจการควรจะเลือกอย่างไร 34. การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินเช่าชื้อ ผ่อนชำระและลีสซิ่งต้องระมัดระวังอะไรบ้าง 35. การปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษี (บวกกลับ) หลักเกณฑ์ที่สำคัญและประเด็นความผิดพลาดที่ต้องระมัดระวัง 36. การตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาตลาด ผลขาดทุนจากการตีราคาจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ 37. ประเด็นสินค้าขาดหรือเกินจากสต๊อกต้องปฏิบัตอย่างไร 38. กู้เงินเพื่อซื้อที่ดินจะถือเป็นทรัพย์สินหรือค่าใช้จ่าย 39. ทรัพย์สินชำรุดเสียหายใช้การไม่ได้และสูญหายจะตัดออกจากบัญชีให้ถูกต้องได้อย่างไร 40. ผลขาดทุนจากการลงทุนถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรได้หรือไม่ 41. จ่ายค่าเช่ารถยนต์ 40,000 บาทต่อเดือน จะถือเป็นรายจ่ายเท่าใด ถ้าจ่ายเกินส่วนที่เกินต้องบวกกลับหรือไม่ และการเช่าแบบลีสซิ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ 42. บริจาคหรือค่าการกุศลปฏิบัติอย่างไรถือเป็นรายจ่ายได้
|
|
|
กำหนดการอบรม |
16 พฤษภาคม 2560 เวลา 09.00-16.00 น.
โรงแรมสวิส โฮเต็ล เลอ คองคอร์ด
|
|
อัตราค่าสัมมนา |
สมาชิกวารสารธรรมนิติ (Tax/HR) 4,280 บาท (รวม Vat)
บุคคลทั่วไป 5,029 บาท (รวม Vat)
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาษีอากร | การบัญชี-การเงิน | หลักสูตรราคาพิเศษ | ทรัพยากรมนุษย์-กฎหมายแรงงาน | บริหารจัดการ-กฎหมายธุรกิจ Telephone (02) 555-0700 Press 1 or (02) 556-0600 Fax (02) 556-1611 Copyright © 2013 Dharmniti Seminar and Training Co., Ltd. | All Rights Reserved. |
|