สุดยอดกลยุทธ์การวางแผนภาษีมองภาษีรอบด้านสำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี (9,10,16,17,20 มิ.ย. 60)
โดย
สุดยอดกลยุทธ์การวางแผนภาษีมองภาษีรอบด้าน สำหรับผู้ประกอบการและนักบัญชี The professional tax planning strategies for Enterprise and Accountant
|
≡ หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
|
|
ผู้ทำบัญชี |
อื่นๆ 16.30 ชม. |
ผู้สอบบัญชี |
อื่นๆ 16.30 ชม. |
|
|
โดยวิทยากร อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร อาจารย์กัมพล ทรัพย์ปรุง อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์ และอาจารย์ไพบูลย์ ฉายรักษา
ทำไมต้องวางแผนภาษี? การวางแผนภาษี (Tax Planning) เป็นการปฏิบัติเพื่อที่จะเสียภาษีได้อย่างถูกต้องและช่วยให้ประหยัดภาษีได้สูงสุด ป้องกันโทษและความรับผิดจากการเสียภาษีผิดพลาด การวางแผนภาษีจะทำให้เห็นแนวทางที่จะช่วยประหยัดภาษีได้สูงสุด ช่วยลดต้นทุนและรักษาการเงินของผู้เสียภาษีได้
ประโยชน์ที่จะได้รับจากหลักสูตรนี้ • ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับประโยชน์จากการวางแผนภาษีว่าสามารถช่วยประหยัดภาษีได้อย่างไร • ผู้เข้าสัมมนามีความเข้าใจในตัวกฎหมายภาษีอากรและสามารถที่จะนำไปวางแผนของกิจการตัวเองได้ • ผู้เข้าสัมมนานาสามารถวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสียของการวางแผนภาษีและสามารถที่จะเลือกแนวทางที่ดีที่สุดให้กับองค์กรได้
หัวข้อสัมมนา
1. การวางแผนภาษีอย่างมืออาชีพ : Professional Tax Planning • ปัญหาภาษีอากรในการประกอบธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง • ทำไมต้องวางแผนภาษี และประโยชน์ที่ได้รับจากการวางแผนภาษี • สิ่งที่จำเป็นในการวางแผนภาษีอากร • กระบวนการวางแผนภาษีตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ
2. การวางแผนภาษีเงินได้นิติบุคคล : Corporate Income Tax Planning • การวางแผนภาษีเพื่อจัดตั้งกิจการใหม่ และการเลือกรูปแบบการลงทุน • การวางแผนภาษีการจัดตั้งนิติบุคคลให้ประหยัดภาษี • การวางแผนภาษีโดยการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร • การวางแผนภาษีด้านรายได้ รายได้ยกเว้นภาษี • การวางแผนภาษีด้านรายจ่าย รายจ่ายต้องห้าม รายจ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น • การวางแผนภาษีซื้อ ขายทรัพย์สิน การตัดทรัพย์สินออกจากบัญชี • การวางแผนภาษีการจัดการเกี่ยวกับหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ • การวางแผนภาษีการให้กู้ยืมแก่กรรมการ พนักงาน หรือบริษัทในเครือ • การวางแผนภาษีการขายสินค้าหรือให้บริการต่ำกว่าราคาตลาดโดยมีเหตุอันสมควร • การวางแผนภาษีรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน • การวางแผนภาษีสินค้าขาดหรือเกิน การทำลาย และการตัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือออกจากบัญชี • การวางแผนภาษีการจัดการสินค้าเสื่อมสภาพ ล้าสมัย หมดอายุ ของเสีย เศษซาก • การวางแผนภาษีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินให้ได้รับประโยชน์สูงสุด • การวางแผนภาษีการเลือกใช้ผลขาดทุนสะสม
3. การวางแผนภาษีจาก Case Studies จริง สำหรับธุรกิจเฉพาะลากรแสตมป์จากประสบการณ์ตรงของวิทยากรและการชี้แจงกรณีถูกตรวจสอบ • การประกอบธุรกิจเยี่ยงธนาคารคือการมีรายได้อะไรบ้างและทำอย่างไรจึงจะไม่ถือว่าเยี่ยงธนาคาร • กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์และการวางแผน • การทำสัญญาสามารถวางแผนภาษีได้อย่างไร • Case Studies สัญญาที่ใช้ในการวางแผนภาษีและช่วยลดรายจ่ายทางภาษีได้จริง • Case Studies ประเด็นในการวางแผนภาษีด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์จากประสบการณ์จริงและสรรพากรยอมรับ - ภาษีธุรกิจเฉพาะต้องจดทะเบียนหรือไม่ ถ้าไม่จดได้หรือไม่ - ภาษีธุรกิจเฉพาะเลือกเสียภาษีจากเกณฑ์เงินสดได้หรือไม่ - การวางแผนภาษีกรณีให้กู้ยืมโดยไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีวิธีการอย่างไร - ทำตราสารอย่างไรไม่ต้องติดอากรแสตมป์ - การพิจารณาคำว่า “จ้างทำของ” ที่ต้องติดอากรแสตมป์ หากไม่ใช้การจ้างทำของก็ไม่ต้องติดอากรใช่หรือไม่ • วางแผนภาษีตามกฎหมายแล้วแต่ถูกสรรพากรตรวจสอบ วิธีการชี้แจงต่อสรรพากร • ประเด็นที่สรรพากรจะตรวจสอบจากการวางแผนภาษี • การเตรียมเอกสารเพื่อรองรับการตรวจสอบจากสรรพากร
4. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย : Withholding Tax Planning • การวางแผนภาษีการเลือกประเภทเงินได้ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย • การวางแผนภาษีการเลื่อนการจ่ายเงินได้ช่วยประหยัดรายจ่ายได้อย่างไร • การวางแผนภาษีการออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทน ออกแทนอย่างไรลงรายจ่ายกิจการได้ • การวางแผนภาษีกิจการขายสินค้ากับกิจการรับจ้างทำของ เพื่อไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย • การวางแผนภาษีกิจการขายสินค้ากับกิจการให้บริการ • การวางแผนภาษีค่าขนส่ง ค่าเช่ารถ ค่าบริการ ค่าจ้างคนขับรถ • การวางแผนภาษีให้เช่าอาคาร สำนักงาน หอพัก อพาร์ตเมนท์ • การวางแผนภาษีในการจ่ายค่านายหน้าตัวแทน • การวางแผนภาษีการจ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผล • การวางแผนภาษีการให้รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย • การวางแผนภาษีให้ประกวดแข่งขัน ชิงโชค • การวางแผนภาษีการเครดิตภาษี และการขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย • Case Studies เกี่ยวกับภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ทุกกิจการต้องเจอและปัญหาที่เกิดขึ้น
5. วางแผนภาษีมูลค่าเพิ่ม : Value Added Tax Planning • การวางแผนภาษีระหว่างกิจการขายสินค้ากับกิจการให้บริการทั่วไป • การวางแผนภาษีกิจการนำเข้าและส่งออกสินค้าหรือบริการ • การวางแผนภาษีขอภาษีซื้อคืน แต่ไม่ต้องนำส่งภาษีขาย • การวางแผนภาษีการเลือกจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม • การวางแผนภาษีการคำนวณฐานภาษีและการยกเว้นฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม • การวางแผนภาษียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และการเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม • การวางแผนภาษีการยื่นแบบและการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กิจการได้รับประโยชน์ • การวางแผนภาษีซื้อ และภาษีซื้อต้องห้ามให้ได้รับประโยชน์สูงสุด • การวางแผนภาษีการเฉลี่ยภาษีซื้อ ทางเลือกในการเฉลี่ยภาษีซื้อ • การวางแผนภาษีการออกและแก้ไขใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ • การวางแผนภาษีการส่งเสริมการขาย • การวางแผนภาษีจำหน่าย จ่าย โอน โดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน • การวางแผนภาษีเฉพาะประเด็น (ประเด็นสำคัญ ๆ)
6. ฝึกการวิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาตัวอย่างจริง นำเทคนิคต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามาปรับเข้ากับข้อเท็จจริง • การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการวางแผนด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล • การวิเคราะห์ภาษีจาก Case Studies ด้านภาษีหัก ณ ที่จ่าย • การวิเคราะห์ Case Studies ด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม • การวิเคราะห์เอกสารหลักฐานว่าสามารถนำมาใช้ในทางภาษีได้หรือไม่
|
|
|
กำหนดการอบรม |
ศุกร์ที่ 9 มิถุนายน 2560 เสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 ศุกร์ที่ 16 มิถุนายน 2560 เสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2560 อังคารที่ 20 มิถุนายน 2560 เวลา 09.00-16.00 น.
Swissotel Le Concorde Bangkok Hotel
|
|
อัตราค่าสัมมนา |
สมาชิกวารสารธรรมนิติ (Tax/HR) 37,450 บาท ( รวม vat )
บุคคลทั่วไป 39,590 บาท ( รวม vat )
|
|
|
|
|
|
ภาษีอากร | การบัญชี-การเงิน | หลักสูตรราคาพิเศษ | ทรัพยากรมนุษย์-กฎหมายแรงงาน | บริหารจัดการ-กฎหมายธุรกิจ Telephone (02) 555-0700 กด 1 or (02) 587-6860-4 Fax (02) 555-0710 Copyright © 2013 Dharmniti Seminar and Training Co., Ltd. | All Rights Reserved. |
|