เช็คความพร้อมก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และประเด็นตรวจสอบที่เกิดขึ้นจริงจากสรรพากร (21 เม.ย. 60)

โดย

เช็คความพร้อมก่อนยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 และประเด็นตรวจสอบที่เกิดขึ้นจริงจากสรรพากร

 

  • หลักสูตรนี้จะเจาะจุดผิดพลาด ที่สรรพากรมักพบในการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 พร้อมชี้ข้อควรระมัดระวังในการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 ที่นักบัญชีต้องรู้ พร้อมเทคนิคการแก้ไขเมื่อกระทบยอด ภ.ง.ด. 50 กับ ภ.พ. 30 ไม่ตรงกัน พร้อม Highlight การกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 กรอกอย่างไร จึงรอดและปลอดภัย จากการถูกตรวจสอบของสรรพากร


   หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline   
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี สอบบัญชี กฎหมาย อื่นๆ
0 6 0 0 0 6

 

1. ตรวจสอบการบันทึกบัญชี, การออกงบการเงิน

2. การกรอกแบบถ้ากรอกผิด แต่ออกงบถูก จะมีผลอย่างไรหรือไม่ สิ่งใดที่สรรพากรเพ่งเล็งเป็นพิเศษ

3. จุดผิดพลาดที่สรรพากรมักพบในการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 

4. ข้อควรระมัดระวังในการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 ที่นักบัญชีต้องรู้และพลาดไม่ได้

5. เจาะประเด็นการตรวจสอบรายได้ที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม

- การบันทึกรายได้ จะต้องพิจารณาและระวังจุดไหนบ้าง เพื่อป้องกันการถูกตรวจสอบจากสรรพากร

- ปิดช่องโหว่ ด้วยการทำWorking Paper 

* การทำWorking Paper มีความสำคัญอย่างไรกับการรับรู้รายได้และช่วยได้จริงหรือไม่หากสรรพากรเรียกตรวจสอบ

- รายได้ที่ได้รับยกเว้นตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร แต่บริษัทกลับนำมายื่นเสียภาษี จะมีทางแก้ไขอย่างไร

6. ก่อนกรอกแบบภ.ง.ด. 50 ต้องกระทบยอดในภ.ง.ด.50 กับ ภ.พ.30 หรือไม่

- การรับรู้รายได้ใน ภ.ง.ด.50 กับการรับรู้รายได้ใน ภ.พ.30 จำเป็นต้องตรงกันเสมอหรือไม่/ถ้าหากไม่ตรงจะถูกตรวจสอบอย่างไร

7. สาเหตุที่การกระทบยอด ภ.ง.ด. 50และภ.พ. 30แล้วมียอดไม่ตรงกัน พร้อมวิธีแก้ไข

8. ตรวจสอบการรับรู้รายได้จาการขายสินทรัพย์

 - ประเด็นการขายสินทรัพย์ทั่วๆไป   - ทรัพย์สินสูญหาย

 - พนักงานนำทรัพย์สินบริษัทไปใช้ที่บ้าน  - รายได้จากการขายรถยนต์นั่ง ปัญหาที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจริง

9. การตรวจสอบการรับรู้รายได้เป็นรายกิจการ

 - ธุรกิจซื้อมาขายไป    - ธุรกิจบริการ   - BOI      - ธุรกิจเช่าซื้อ

 - ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  - ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก

10. ตรวจสอบการรับรู้รายได้จากอัตราแลกเปลี่ยน

11. ตรวจสอบการกรอกดอกเบี้ยรับ กรณีให้กู้ยืมเงินจริงแล้วคิดดอกเบี้ย กับกรณีให้กู้ยืมเงินแต่ไม่คิดดอกเบี้ย สรรพากรดูจากอะไร

- การประเมินดอกเบี้ยตามท้องตลาด สรรพากรใช้อัตราเงินฝากหรืออัตราเงินกู้

12. ประเด็นที่ต้องระวังในการกรอกต้นทุน สินทรัพย์ หากลงผิดสรรพากรบวกกลับทันที

 - ปัญหาในทางปฏิบัติกรณีการกรอกต้นทุน สินทรัพย์ กรณีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนสินทรัพย์พร้อมใช้งาน/ค่าใช้จ่าย

ที่เกิดขึ้นหลังจากสินทรัพย์พร้อมใช้งาน จะบันทึกเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือเป็นค่าใช้จ่าย

- เคลียร์ปัญหาการDebit ดอกเบี้ยจ่าย บันทึกเป็นต้นทุนทางการเงินถูกต้องหรือไม่

- การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ จ่ายเป็นเงินUS ตอนบันทึกเป็นเงินบาท ทำให้มีกำไร-ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

ถ้าขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายหรือต้นทุน

- ถ้าเป็นกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจะถือเป็นรายได้หรือไม่

13. ข้อควรระวังในการกรอกผลขาดทุนยกมาไม่เกิน5 รอบระยะเวลาบัญชีของกิจการBOI และNon BOI 

14. ตรวจสอบประเด็นHot รายจ่ายและรายจ่ายต้องห้าม

- สินค้าที่หายไปเนื่องจากถูกขโมย ยักยอก จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ แล้วได้ทันทีที่ผลเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่

- บทสรุปของเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับทางอาญา จะเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

- ปัญหาค่ารับรอง มีประเด็นใดที่ถูกตรวจสอบมากที่สุด

- Update การลงค่าใช้จ่าย ร้อยละ100 เพื่อการอบรมสัมมนา ตามกฎหมายใหม่

- การบริจาคกับภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม บริจาคอย่างไรให้ได้2 เท่า บริจาคอย่างไรไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

- ตรวจสอบการบริจาคเพื่อกุศลสาธารณะ/ บริจาคเพื่อการศึกษา ประเด็นใดบ้างที่ต้องระมัดระวัง

15. ประเด็นการตรวจสอบค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินและหนี้สูญ ที่นักบัญชีต้องทราบเมื่อกรอกแบบ ภ.ง.ด50 

16. 9 เคล็ดลับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 

17. Highlight การกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50 กรอกอย่างไรจึงรอดและปลอดภัยจากการถูกตรวจสอบจากสรรพากร

18. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

กำหนดการอบรม อัตราค่าสัมมนา

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2560

เวลา 09.00 - 16.30 น.

ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์

ถ.รัชดาภิเษก รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง

สมาชิกวารสารธรรมนิติ (Tax/HR) : 3,700+ VAT 259 = 3,959 บาท

บุคคลทั่วไป : 4,400 + VAT 308 = 4,708 บาท

(รวมเอกสาร ชา กาแฟ อาหารกลางวัน)

 

 

จองอบรมหลักสูตรนี้ >>

 

 

FaLang translation system by Faboba