ใส่ใจกันสักนิดกับชีวิตของผู้สูงวัย

โดย

 


สวัสดีท่านสมาชิกวารสาร HR Society Magazine ทุกท่านครับ เดือนนี้เป็นเดือนที่มีวันสำคัญ นั่นก็คือ “วันแม่แห่งชาติ 12
สิงหาคม” หากมีโอกาสก็พาคุณแม่ไปพักผ่อนและใช้เวลาร่วมกันบ้างนะครับ อ้อ! แล้วอย่าลืมสวมกอด หอมแก้มท่านหลายๆ
ที พร้อมกับบอกรักท่านด้วยครับ 
และอีกเรื่องที่ลืมไม่ได้ก็คือ การดูแลสุขภาพของคุณแม่ (รวมถึงคุณพ่อ) ให้ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ ที่จะตามมาพร้อมกับอายุ
ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีโรคอะไรที่ควรระวังบ้าง เราไปดูกันเลยครับ

โรคกระดูกพรุน
เป็นโรคที่เกิดจากความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกมีความเปราะและบางมากขึ้น หากมีการกระทบ
กระทั่งแม้จะไม่รุนแรงนัก เช่น การหกล้ม ก็อาจเสี่ยงต่ออาการกระดูกแตกหักได้ง่าย โรคนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
• อายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้กระบวนการสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนเพื่อทดแทนเนื้อกระดูกเก่าที่สึกหรอ
ทำได้ช้าลง 
• การขาดปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในร่างกายเนื่องจากรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมน้อยเกินไป หรือการรับประทาน
อาหารที่มีกรดสูงซึ่งส่งผลให้แคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ติดต่อ
กันเป็นเวลานาน
• การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน และการลดลงของการผลิตฮอร์โมนเทสโทส
เทอโรนในเพศชาย
• สาเหตุด้านกรรมพันธุ์ โดยพบว่าผู้ที่มีญาติใกล้ชิดทางสายเลือดที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนจะมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่ม
มากขึ้นด้วย
• ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนบางรายอาจมีสาเหตุมาจากโรคและการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น โรคที่เกี่ยวกับตับ ไต โรคกรดไหลย้อน
โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต เป็นต้น
การป้องกัน โรคกระดูกพรุนสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีซึ่ง
เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างกระดูก เช่น นม งา เต้าหู้ ปลาตัวเล็ก กุ้งฝอย ถั่ว ผักใบเขียวต่างๆ หากเป็นไปได้ควรงดเว้นเครื่องดื่ม
ที่มีความเป็นกรดสูงอย่างแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน 
การรักษา โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการให้ยาเพื่อลดการสูญเสียมวลกระดูก หรือการรักษาโดยการผ่าตัดเพื่อแก้ไขภาวะ
แทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก ยุบ หรือการผ่าตัด
เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายที่กระดูกสะโพกหัก เป็นต้น

โรคสมองเสื่อม
คือกลุ่มอาการที่เกิดจากการที่ระบบการทำงานของสมองค่อยๆ เสื่อมลงหรือมีความบกพร่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อ
กระบวนการคิดและกระบวนการรับรู้ รวมถึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น สูญเสียความทรงจำ มีปัญหาในการใช้
เหตุผล การวางแผน การสื่อสาร มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวประสานงานกันของกล้ามเนื้อทำให้สูญเสียความสามารถในการ
ทำงานที่ละเอียดประณีต มีความมึนงง สับสน หรือมีอาการหวาดระแวง วิตกกังวล ซึมเศร้า เป็นต้น
“อายุ” เป็นตัวแปรที่สำคัญของโรคนี้ โดยพบว่าภาวะสมองเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงใน
การเกิดโรคจะยิ่งมากขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยด้านกรรมพันธุ์ โดยพบว่าผู้ที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัว
ป่วยเป็นโรคนี้จะทำให้มีความเสี่ยงสูงมากขึ้น หรืออาจมีสาเหตุจากความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมอง
การป้องกัน เราสามารถลดโอกาสการเกิดโรคสมองเสื่อมได้ด้วยการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายเป็นประจำ ไม่ดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส อย่าเคร่งเครียดจนเกินไป หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจเพื่อ
ให้สมองปลอดโปร่ง นอกจากนี้ควรหมั่นฝึกสมองด้วยการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 
การรักษา โรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดกลับคืนมาเป็นปกติได้ เพียงแต่ช่วยให้มีอาการดีขึ้น มีสุขภาพ
จิตที่ดีขึ้น โดยการให้ยาร่วมกับการบำบัด อย่างไรก็ดี โรคสมองเสื่อมบางชนิดมีโอกาสบ่อยที่จะรักษาให้กลับมาเป็นปกติ เช่น
โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากเนื้องอกในสมองบางชนิด หรือโรคสมองเสื่อมเกิดขึ้นโดยเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยา

โรคเก๊าท์
เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป จนตกผลึก
ตามข้อต่างๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ ผู้ป่วยจึงมีอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกรดยูริกใน
เลือดสูง เช่น อายุที่มากขึ้น โดยพบได้มากในผู้ที่อยู่ในช่วงอายุ 40-50 ปี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก การรับ
ประทานอาหารที่มีสารพิวรีน* (*กรดยูริกเกิดขึ้นจากการย่อยสลายสารพิวรีนในร่างกาย) มากเกินไป เช่น อาหารประเภทสัตว์
ปีก เครื่องในสัตว์ ยอดผัก กุ้ง กะปิ หอยแมลงภู่ นอกจากนี้ อาจเกิดจากการรับประทานยาบางชนิดและภาวะความเจ็บป่วยใน
ร่างกายอย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ภาวะอ้วน
การป้องกัน ทำได้โดยการเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค เช่น หลีกเลี่ยง
อาหารที่มีสารพิวรีนในปริมาณมาก ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตัว ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การรักษา ทำได้โดยการให้ยาเพื่อช่วยยับยั้งการการสร้างกรดยูริก หรือให้ยาที่ช่วยเพิ่มการทำงานของไตเพื่อให้ร่างกาย
สามารถขับกรดยูริกออกมาพร้อมกับปัสสาวะได้มากขึ้น บางรายที่โรคมีอาการรุนแรงและการรักษาทางยาไม่ได้ผลเท่าที่ควร
อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด   



ที่มา:
http://paolohospital.com/phahol/bonejoint/senior-bone/
https://www.pobpad.com/สมองเสื่อม
https://www.bumrungrad.com/th/medical-clinics-bangkok-thailand/conditions/gout
http://www.thaihealth.or.th/Content/37137-ผู้สูงอายุกับ%205%20โรคยอดฮิต!.html



Lifestyle : Health : SaiFahz
วารสาร : HR Society Magazine สิงหาคม 2561 


FaLang translation system by Faboba