ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการหรือเจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ บัญชีใดมีความเสี่ยงต่องานสอบบัญชีมากกว่ากัน?

โดย

 


ความเสี่ยงในการสอบบัญชี

ความเสี่ยงในการสอบบัญชี หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินได้แสดงต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ความเสี่ยงในการสอบบัญชีแบ่งเป็น 3 ประเภท

1. ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk: IR) เป็นความเสี่ยงที่มีอยู่ในตัวบัญชีไม่สามารถทำให้หมดไปได้ เช่น เงินสดที่มีความเสี่ยงอยู่ในตัวมูลค่า เป็นต้น การทำให้ความเสี่ยงสืบเนื่องลดลงจึงต้องมีการควบคุมภายใน ผู้สอบบัญชีจะประเมินความ
เสี่ยงสืบเนื่องใน 2 ระดับใหญ่ๆ คือ
1.1 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ปัจจัยที่ผู้สอบบัญชีใช้ประเมินความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของงบการเงิน ได้แก่
ลักษณะธุรกิจของกิจการ ความรู้และประสบการณ์ของผู้บริหาร ความซื่อสัตย์ แรงกดดันของผู้บริหาร คุณภาพของนักบัญชี
1.2 ความเสี่ยงสืบเนื่องในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ พิจารณาจากความซับซ้อนของรายการ ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก รายการที่ผิดปกติ รายการที่ต้องปรับปรุง

2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk: CR) ความเสี่ยงที่เกิดจากระบบการควบคุมภายในของกิจการที่ตรวจสอบ
ไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา

3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk: DR) ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบซึ่งผู้สอบบัญชีใช้จะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ เกิดจากการเลือกตัวอย่าง วิธีการตรวจสอบที่ใช้ไม่มีประสิทธิภาพ มีข้อบกพร่องในการปฏิบัติงานตรวจสอบ

ความเสี่ยงประเภทที่ 1 และ 2 เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากกิจการที่ผู้สอบบัญชีจะต้องทำการประเมินความเสี่ยง แล้วจึงกำหนดวิธีการตรวจสอบ ส่วนความเสี่ยงประเภทที่ 3 เป็นความเสี่ยงที่เกิดจากความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี 

   
      บางส่วนจากบทความ “ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ หรือเจ้าหนี้เงินกู้ยืมจากกรรมการ บัญชีใดมีความเสี่ยง
      ต่องานสอบบัญชีมากกว่ากัน?”

      โดย ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์ / Section : บัญชีภาษีอากร / Column : ตรวจสอบบัญชี
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 443 เดือนสิงหาคม 2018




บัญชีภาษีอากร : ตรวจสอบบัญชี : ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์
วารสาร : เอกสารภาษีอากร สิงหาคม 2561



FaLang translation system by Faboba