การแก้ปัญหาและกลวิธีการตรวจสอบการทำงานบัญชี-ภาษี สำหรับผู้จัดการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าฝ่ายบัญชี (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

รหัสหลักสูตร : 21/1921Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,103 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 3,638 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การแก้ปัญหาและกลวิธีการตรวจสอบการทำงานบัญชี-ภาษี
สำหรับผู้จัดการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าฝ่ายบัญชี

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.

• รวมเทคนิคการตรวจสอบการทำงานทั้งด้านบัญชีและภาษี เพื่อการตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ
• กลวิธีการตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล, เงินสดและเงินฝากธนาคาร, บัญชีเจ้าหนี้ลูกหนี้, สินทรัพย์
ถาวรและค่าเสื่อมราคาฯ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, สินค้าคงเหลือ, ภาษีขาย ฯลฯ
• พร้อมวิธีแก้ปัญหา และเตรียมเอกสารเพื่อบรรเทาภาระภาษีเมื่อสรรพากรตรวจสอบ

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

1.การตรวจสอบภาษีเงินได้นิติบุคคล
• การตรวจสอบแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีก่อนกับงบการเงินและกระดาษทําการ
• การตรวจสอบการประมาณการกําไรสุทธิขาดไปเกิน 25%
• การตรวจสอบการบันทึกบัญชีค้างจ่าย
• หักรายจ่ายผิดรอบบัญชี
• หลักฐานการจ่ายเงินที่สรรพากรไม่ยอมรับ
• การกระทบยอดภาษีเงินได้นิติบุคคลที่แสดงไว้ในงบกําไรขาดทุนกับที่แสดงไว้ในงบแสดงฐานะทางการเงิน
• การตรวจสอบรายการกระทบยอดเพื่อปรับปรุงกําไรสุทธิทางบัญชีให้เป็นกําไรสุทธิทางภาษี
• การขายสินค้า บริการ ให้เช่าทรัพย์สิน ให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือต่ำกว่าราคาตลาด
• การตั้งเจ้าหนี้, ลูกหนี้ที่ไม่มีตัวตน หรือบันทึกเกินกว่าความเป็นจริง
• การตรวจสอบกิจการมีผลขาดทุนสุทธิติดต่อกันเกินกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชี แต่มีการขยายงาน

2.การตรวจสอบเงินสดและเงินฝากธนาคาร
• ปัญหาการบันทึกบันชีเงินสดไม่ตรงกับรายรับในระหว่างปี
• การตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคารและใบสําคัญจ่าย
• การพิสูจน์รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินสด ว่าไม่เป็นรายจ่ายต้องห้าม

3.การตรวจสอบบัญชีลูกหนี้, เจ้าหนี้
• ลูกหนี้การค้า, ลูกหนี้เงินมัดจํา, ลูกหนี้เงินยืมทดลอง, ลูกหนี้บริษัทในเครือ
• การให้กู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย
• ข้อระวังในการขาย การเรียกเก็บหนี้และการให้เครดิต
• การขายเชื่อ และการให้ส่วนลดตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
• การรับรู้รายได้ - รายจ่าย จากบัญชีลูกหนี้, เจ้าหนี้

4.การตรวจสอบสินทรัพย์ถาวรและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินแต่ละประเภท
• สินทรัพย์ที่สามารถคิดค่าเสื่อมราคาได้
• สินทรัพย์ที่ไม่มีการคิดค่าเสื่อมราคา
• สินทรัพย์ที่มีสิทธิการใช้เพียงอย่างเดียว
• สินทรัพย์ตามสัญญาเช่า
• การหักค่าเสื่อมเกินกว่าความเป็นจริง
• สินทรัพย์ที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ใช้สิทธิได้ถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่

5.ที่ดินอาคารอุปกรณ์
• การโอนและการขายความแตกต่างทางบัญชีกับภาษีที่ต้องระวัง
• ภาระผูกพันเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ ตามข้อตกลงในสัญญากับภาระภาษี

6.สินค้าคงเหลือประเด็นที่มักถูกประเมิน
• การตรวจนับสินค้า
• การตีราคาสินค้าคงเหลือ
• ความเหมาะสมของราคาสินค้าคงเหลือ และต้นทุนสินค้า
• การเปรียบเทียบปริมาณและราคาของสินค้าคงเหลือในปีปัจจุบันกับปีก่อน
• การจัดการกับ สินค้าที่ชํารุด เสียหาย เสื่อมคุณภาพที่สรรพากรยอมรับ

7.การตรวจสอบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
• การตรวจสอบแบบ ภ.ง.ด. ที่ใช้นําส่งในแต่ละเดือน และอัตราภาษีที่นําส่ง
• การตรวจสอบยอดรายได้จากภาษีที่ถูกหัก ณ ท่ีจ่ายกับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย และบัญชีรายได้
• การตรวจสอบระหว่างภาษีเงินได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปบัญชีแยกประเภท

8.การตรวจสอบภาษีมูลค่าเพิ่ม
• การตรวจสอบรายการในใบกํากับภาษี และความถูกต้อง
• เลขที่ใบกํากับ กับการลงรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายที่ต้องระวัง
• วิธีการจัดเก็บใบกํากับภาษีซื้อ-ภาษีขายตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
• ใบแทนใบกํากับภาษี ใบลดหนี้ ใบเพิ่มหนี้ ใช้บ่อยๆจะถูกตรวจสอบหรือไม่

9.ประเด็นตรวจสอบบัญชีซื้อกับรายงานภาษีซื้อของกิจการ
• บัญชีซื้อที่กิจการบันทึก
• ภาษีซื้อต้องห้ามที่ต้องระวัง
• การลงรายงานภาษีซื้อ
• ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่งหรือรถโดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน10 ที่นั่ง
• การกระทบยอดภาษีซื้อที่ขอคืน กับ รายจ่ายของกิจการ

10.การตรวจสอบภาษีขาย
• การจัดทํารายงานภาษีขาย
• กระทบยอดบัญชีขาย กับยอดขายในรายงานภาษีขาย
• ตรวจสอบยอดรายงานภาษีขายกับแบบ ภ.พ.30

11.การแก้ไขปัญหาการนําส่ง ภ.พ.30 ไม่ถูกต้อง
• ภาษีขายขาด - เกิน
• ภาษีซื้อขาด - เกิน
• ตรวจสอบการขอคืนภาษีซื้อ

12.วิธีแก้ไข และเตรียมเอกสารเพื่อบรรเทาภาระภาษีเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบ

13.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชั่วโมงได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba